Page 142 - kpi20756
P. 142

1 2     การประชุมวิชาการ
                    สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
            ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                  กันจากหลากหลายพรรค แต่พรรคที่ได้เสียงมากที่สุดก็คือ พรรคประชาชาติ ที่ใช้วาทกรรม
                  “พรรคการเมืองบ้านเรา” รวมถึง “นายกฯ ที่เป็นมุสลิมบ้านเรา” นับได้ว่าสามารถดึงดูดเสียงได้

                  ระดับหนึ่ง เพราะในเขตที่พรรคประชาชาติไม่ชนะนั้นก็นับได้ว่ามีคะแนนตามมาเป็นที่สองทุกเขต
                  บางเขตก็แพ้ด้วยคะแนนหลักร้อยเท่านั้นเอง นอกจากนั้นหากมองไปยังการเลือกตั้งหลังจากเกิด
                  สถานการณ์ความไม่สงบ ซึ่งเปิดช่องให้กับสมาชิกผู้แทนราษฎรหน้าใหม่หลายๆ ท่านได้เข้ามาสู่

                  สภาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ไปกระทั่งเห็นถึงการปรับตัวของกลุ่มนักการเมืองวาดะห์เดิมที่แปรไปสู่
                  พรรคประชาชาติ หลังจากที่รัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้พรรคเล็กๆ มากขึ้น และสภาวะการเมือง

                  ที่อยู่ภายใต้ประเด็นที่ยังคงมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ ทำให้ประชาชนหันมาสู่
                  การเลือกผู้คนที่สามารถแสดงออกถึง “ความเป็นตัวแทน” สำหรับตนได้มากขึ้น


                       หากมองในมิตินี้ จะพบว่า “อัตลักษณ์” จึงมีความสำคัญสำหรับการเลือกของประชาชน
                  ในระดับหนึ่ง การเป็นชาวมลายูมุสลิมในมิตินี้จึงนับได้ว่าเป็นโอกาสสำหรับนักการเมืองมลายู

                  มุสลิมในการก้าวเข้าสู่พื้นที่ทางการเมืองระดับทางการมากขึ้น แม้ว่าภายใต้สถานการณ์ทาง
                  การเมืองระดับชาติที่ไม่มีความมั่นคง จะส่งผลให้นโยบายหลายๆ ประการที่รับปากไว้กับ
                  ประชาชนนั้นอาจมีข้อจำกัดในการประยุกต์ใช้จริง แต่ในช่วงหลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

                  เข้าสู่ตำแหน่ง จะพบว่ามีความเคลื่อนไหวของนักการเมืองหลายๆ คนที่น่าสนใจ ในการหยิบยก
                  ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่หลากหลายประการ นับตั้งแต่ประเด็นกฎหมายพิเศษ การละเมิดสิทธิ

                  มนุษยชนที่เกิดกับประชาชนในพื้นที่ ไปจนถึงประเด็นเรื่องของการพัฒนาในมิติต่างๆ แม้ว่า
                  ในอดีตอาจจะมีการขับเคลื่อนในลักษณะที่คล้ายกัน แต่ปัจจุบันโซเชียลมีเดียช่องทางต่างๆ ทำให้
                  เรื่องราวของ “ความเป็นผู้แทน” ของคนในพื้นที่ สามารถกระจายและเข้าถึงความรู้สึกของ

                  ประชาชนในพื้นที่มากยิ่งขึ้น


                       การเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2562 ที่ผ่านมานี้ ไม่อาจสรุปอย่างหยาบได้ว่าประชาชนเลือก
                  ตัวแทนของเขาที่ตัวบุคคลหรือเลือกพรรคการเมือง แม้ว่าการเลือกตั้งในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมามี
                  นักวิชาการรัฐศาสตร์สรุปว่าประชาชนในจังหวัดชายแดนใต้เลือกที่ตัวบุคคลไม่ได้เลือกที่

                  พรรคการเมือง จนเห็นภาพของนักการเมืองมลายูมุสลิมย้ายพรรคการเมืองอยู่เสมอ (บูฆอรี
                  ยีหมะ, 2562) ทว่าการเลือกตั้งในครั้งที่ผ่านมานี้ปรากฏว่าอดีต ส.ส. ทั้งหมดที่ย้ายจากพรรค

                  ประชาธิปัตย์ไปสังกัดพรรครวมพลังประชาชาติไทยล้วนแล้วแต่สอบตกทั้งสิ้น และอดีต ส.ส. ที่ยัง
                  คงอยู่พรรคประชาธิปัตย์เอาชนะได้แค่เขตเดียว คนที่เหลือก็สอบตกทั้งสิ้นเช่นเดียวกัน
                  ขณะเดียวกันจะสรุปว่าประชาชนเลือกพรรคก็คงจะไม่ได้เช่นกัน เพราะมีพรรคการเมืองถึง

                  4 พรรคที่มีผู้สมัครชนะการเลือกตั้ง แต่ข้อบ่งชี้อย่างหนึ่งก็คือ พรรคประชาชาติได้คะแนนในพื้นที่
                  ชายแดนใต้ได้มาเป็นอันดับที่ 1 และมีผู้สมัครชนะมากที่สุดถึง 6 เขตเลือกตั้ง โดยเขตที่ไม่ชนะ
        เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2   กล่าวมาแล้วข้างต้นว่าเพราะพรรคชูความเป็นมลายูมุสลิมจึงทำให้ได้คะแนนจากประชาชนในพื้นที่
                  ก็สามารถคว้าอันดับที่ 2 มาทั้ง 5 เขตที่เหลือ และหลายเขตที่ชนะก็ได้คะแนนมากกว่าที่ผู้สมัคร
                  เคยได้รับในช่วงการเลือกตั้งก่อนหน้านี้ จึงสรุปได้บางส่วนว่าคะแนนที่ได้มาจากพรรคด้วย ซึ่งดังที่




                       ข้อสังเกตที่น่าสนใจในประเด็นนี้คือ แม้ว่าพรรคประชาชาติจะส่งคนพุทธลงสมัครในเขตที่มี

                  คนพุทธได้เป็น ส.ส. มาตลอดหลายสมัยที่ผ่านมา ก็ปรากฏว่าผู้สมัครของพรรคประชาชาติ
   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146   147