Page 141 - kpi20756
P. 141

การประชุมวิชาการ
                                                                                        สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21   1 1
                                                                                        ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                      ในครั้งนี้ตระกูลโต๊ะมีนาก็หันไปจับมือกับตระกูลอับดุลบุตรที่เคยเป็นคู่แข่งทางการเมืองมาตลอด
                      ตั้งแต่มีการเลือกตั้งในยุคแรกๆ เป็นต้นมา นอกจากนั้นแล้วในช่วงเวลานี้ยังพบเห็นถึงกระแสของ

                      กลุ่มภาคประชาสังคม กลุ่มสตรี และเยาวชนที่หันเข้ามาสู่พื้นที่การเมืองมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
                      สถานการณ์ที่ผ่านมาทำให้มีกลุ่มขับเคลื่อนภาคประชาสังคมที่มีการเคลื่อนไหวประเด็นทางสังคม
                      มาตลอด กระทั่งกลุ่มเหล่านี้ค่อยๆ ผันตัวเข้าสู่กลุ่มการเมือง โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นทนายความ

                      อาสาเพื่อสังคมสังกัดมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม 4 ท่าน ที่เข้าสู่พรรคการเมือง 4 พรรค
                      โดยได้รับชัยชนะถึง 2 ท่าน โดยท่านหนึ่งสังกัดพรรคพลังประชารัฐ และอีกท่านสังกัดพรรค

                      ประชาชาติ ส่วนอีกสองท่านที่ไม่ได้รับชัยชนะ สังกัดพรรคภูมิใจไทยและพรรคอนาคตใหม่
                      ถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย


                            ในการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2562 นี้ ยังเห็นถึงอีกหนึ่งพัฒนาการที่สำคัญคือ การที่กลุ่มที่เคย
                      เป็นขบวนการต่อสู้ เริ่มมีท่าทีในการสนับสนุนพื้นที่ทางการเมืองอย่างเด่นชัดมากขึ้น แม้ว่าในช่วง

                      ก่อนหน้า พ.ศ. 2547 จะพบว่าแกนนำคนสำคัญของกลุ่มขบวนการฯ ที่ฝ่ายความมั่นคงต้องการ
                      พบตัวมากที่สุดในเวลานี้ ก็เคยเป็นหนึ่งในหัวคะแนนคนสำคัญให้กับกลุ่มการเมืองในพื้นที่
                      ซึ่งข้อมูลนี้ได้รับการยืนยันจากวงสนทนากลุ่มทั้งวงของนักการเมืองและนักวิชาการ/ภาคประชา-

                      สังคม แต่ก็มองได้ว่าเป็นในแง่ของปัจเจกมากกว่าระดับองค์กรโดยรวม ขณะที่ในปีในการเลือกตั้ง
                      ล่าสุดนี้ มีข้อมูลระบุชัดถึงการสนับสนุนพรรคการเมืองหนึ่งของสมาชิกคนสำคัญบางท่านในกลุ่ม

                      มาราปาตานี ซึ่งเป็นองค์กรร่มของขบวนการต่อสู้ปลดปล่อยปาตานีที่กำลังดำเนินการพูดคุย
                      สันติภาพ/สันติสุขกับตัวแทนของรัฐบาลไทยในเวลานี้ อย่างไรก็ตาม ในแง่ของแนวคิดแล้วแม้ว่า
                      เมื่อฟังดูแล้ว เป้าหมายของนักการเมืองและกลุ่มขบวนการต่อสู้จะต้องการในสิ่งที่คล้ายคลึงกัน

                      ในความต้องการเห็นการพัฒนาของพื้นที่ หากแต่ว่าวิธีการที่จะไปให้ถึงเป้าหมายของทั้งสองกลุ่ม
                      มีความแตกต่างกัน


                            จากข้อมูลทั้งหมด จึงทำให้เห็นว่า ถึงที่สุดแล้ว ความเป็นนักการเมืองในพื้นที่ชายแดนใต้
                      มีลักษณะที่เฉพาะ ซึ่งต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับทั้งการเมืองไทยและสถานการณ์ในพื้นที่

                      ใปพร้อมๆ กัน การเป็นนักการเมืองมลายูมุสลิม เป็นทั้งโอกาสที่จะได้รับเสียงจากคนมลายูมุสลิม
                      ส่วนใหญ่ในพื้นที่ แต่ก็เป็นข้อท้าทายสำหรับการเป็นตัวแทนของชนกลุ่มน้อยที่อยู่ในพื้นที่ขัดแย้ง

                      ของสังคมไทยโดยรวมด้วยเช่นกัน


                      โอกาสและข้อท้าทายของการเป็นนักการเมืองมลายูมุสลิมในพื้นที่

                      ชายแดนใต้



                            หากพิจารณาข้อมูลที่กล่าวไว้ข้างต้น จะพบว่า อัตลักษณ์ของความเป็นมลายูมุสลิม ถึงที่สุด

                      แล้วมีผลที่เป็นนัยสำคัญต่อการเป็นนักการเมืองที่จะได้รับเสียงคะแนนเลือกตั้งจนชนะเพื่อเข้าไป
                      เป็นตัวแทนของประชาชนในสภาผู้แทนราษฎร แม้ว่าก่อนปี พ.ศ. 2562 ปรากฏให้เห็นถึงสมาชิก
                      สภาผู้แทนราษฎรที่เป็นชาวพุทธ แต่ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดจะพบว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้ง           เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2

                      11 เขต ล้วนแล้วแต่เป็นคนมลายูมุสลิมทั้งสิ้น ซึ่งเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี แม้ว่าจะผสมผสาน
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146