Page 144 - kpi20756
P. 144
1 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
ก็คือ ศาสนา เพราะมีความเข้าใจโดยทั่วไปในสังคมมลายูมุสลิมว่าผู้หญิงไม่สามารถเป็นผู้นำได้
ขณะเดียวกันนอกจากจะมีข้อถกเถียงในพื้นที่ว่าตกลงแล้วผู้หญิงสามารถเป็นผู้นำได้หรือไม่ ยังมี
ข้อถกเถียงด้วยว่า สรุปแล้ว ส.ส. เป็นผู้นำหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่ตัวแทนของประชาชนในการที่
จะคอยส่งเสียงในประเด็นต่างๆ เท่านั้น (เพชรดาว โต๊ะมีนา, 2562) ขณะที่ในช่วงที่ พรพิชญ์
พัฒนกุลเลิศ ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส. นราธิวาสถึง 3 สมัย แต่เขาไม่เคยแสดงอัตลักษณ์ใดๆ ว่า
เขาคือชาวมลายูมุสลิม ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกายหรือภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร และแน่นอนว่า
คะแนนที่เขาได้ ส่วนหนึ่งมาจากชาวไทยพุทธในพื้นที่เมือง ซึ่งอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก (พรพิชญ์
พัฒนกุลเลิศ, 2562)
บทสรุป
ตัวตนของนักการเมืองในพื้นที่ชายแดนใต้ก็คงจะไม่ได้แตกต่างจากนักการเมืองในพื้นที่อื่นๆ
ของประเทศไทยมากนัก กล่าวคือ มีความหลากหลายที่ไม่สามารถสรุปรวมในก้อนเดียวกันได้ว่ามี
ลักษณะอย่างไร ในแต่ละเขตก็จะแตกต่างกันออกไป และสะท้อนถึงประชาชนที่เลือกผู้แทนของ
พวกเขาด้วย ทว่าสิ่งที่แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ อย่างเห็นได้ชัดก็คือ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันในพื้นที่
ชายแดนใต้จะมีนักการเมืองที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ความเป็นมลายูมุสลิมอย่างเห็นได้ชัด และ
พวกเขามักจะเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิต่างๆ ของชาวมลายูมุสลิม โดยใช้แนวทางสันติวิธี
ในการต่อสู้ กล่าวคือ พวกเขาเลือกใช้ระบบที่มีอยู่เพื่อเข้าไปสู่ระบบแล้วค่อยปรับระบบให้
สอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวมลายูมุสลิม ซึ่งแน่นอนว่าส่งผลดีต่อพี่น้องมุสลิมทั่วประเทศด้วย
เช่น การที่สตรีมุสลิมสามารถสวมฮิญาบได้ในสถานที่ต่างๆ โดยเฉพาะสถาบันการศึกษา สถานที่
ราชการ และอื่นๆ การมีธนาคารอิสลาม หรือการมีสถานที่ละหมาด ณ สนามบินใหญ่ๆ ของ
ประเทศ และอีกมากมายเป็นต้น ขณะเดียวกัน นักการเมืองที่ไม่ได้สนใจประเด็นดังกล่าว แต่มี
ความประสงค์เพื่อขยายอิทธิพลหรือเครือข่ายทางการเมืองของตนเองก็มีไม่น้อยเช่นเดียวกัน
ขณะเดียวกัน เมื่อนักการเมืองมลายูมุสลิมในพื้นที่ชายแดนใต้เรียกร้องสิทธิต่างๆ ให้กับ
คนในพื้นที่ ซึ่งมีความต่างจากคนในพื้นที่อื่นๆ ของประเทศไทย ก็อาจถูกไอโอ (IO) หรือปฏิบัติ
การข่าวสาร (Information Operation) โจมตีหรือใส่ร้ายป้ายสี อย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วกับ
นักการเมืองมลายูมุสลิมหลายๆ ท่านที่ผ่านๆ มา ดังนั้นแล้ว ในความเป็นนักการเมืองมลายู
มุสลิมจึงเป็นทั้งโอกาสและข้อจำกัดที่จะต้องรับมือกับข้อท้าทายหลายประการที่เกิดขึ้น การเมือง
ในระดับชาติที่เปลี่ยนไป รัฐธรรมนูญและกรอบกฎหมายที่ปรับเปลี่ยน รวมถึงสถานการณ์ความ
ไม่สงบที่มีการขึ้นลงตลอดเวลา ปัจจัยทั้งหมดล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่นักการเมืองมลายูมุสลิมในพื้นที่
จะต้องรับมือ แม้ว่ามักจะมีการมองว่านักการเมืองจะต้องเกี่ยวข้องกับการคอร์รัปชั่นเสมอ หรือ
เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2 การเปิดพื้นที่ในการขับเคลื่อนเรื่องการปกป้องสิทธิและเสรีภาพผ่านกระบวนการทางการเมือง
อาจเป็นกลุ่มที่จะเกี่ยวข้องกับเรื่องของผลประโยชน์อยู่บ่อยครั้ง แต่สำหรับพื้นที่ชายแดนใต้แล้ว
ผ่านกรอบกฎหมาย และการมีพื้นที่ในการหยิบยกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในพื้นที่ให้เป็นที่รับรู้ต่อสังคม
ยังคงจำเป็นต้องมี เพื่ออย่างน้อยแล้วจะเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับกลุ่มบุคคลที่ต้องการขับเคลื่อน
เปลี่ยนแปลงสังคมภายใต้โลกที่เปลี่ยนไป แม้ว่าจะมีข้อจำกัดในเรื่องของระบบการเมืองในสังคมไทย
โดยรวมก็ตามที