Page 143 - kpi20756
P. 143
การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21 1
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
ไม่สามรถเอาชนะการเลือกตั้งในเขตดังกล่าวได้ แต่ผลการเลือกตั้งใน พ.ศ. 2562 กลับเป็น
นักการเมืองมลายูมุสลิมที่สังกัดพรรคพลังประชารัฐเป็นผู้ชนะการเลือกตั้ง ซึ่งแน่นอนว่าเขาได้
คะแนนจากคนมลายูมุสลิม โดยเฉพาะผู้คนที่เขาเคยให้ความช่วยเหลือในคดีความมั่นคง จนตัว
เขาเองเคยถูกขนานนามว่าเป็นทนายของโจรใต้ ทว่าการที่เขาเลือกลงสมัครในนามพรรค
พลังประชารัฐก็ทำให้เขาได้คะแนนจากคนพุทธด้วย โดยเฉพาะคนที่เคยเลือกพรรคประชาธิปัตย์
แต่เปลี่ยนมาเลือกพรรคพลังประชารัฐแทน เพราะมองว่าหากจะสู้กับตัวแทนของอดีตนายกทักษิณ
แล้ว พรรคพลังประชารัฐดูเหมือนจะเป็นคู่แข่งได้ดีกว่าพรรคประชาธิปัตย์หรือพรรคอื่นๆ
ขณะเดียวกันการที่เขาเลือกสังกัดพรรคพลังประชารัฐ เพราะมองไว้แล้วว่าพรรคพลังประชารัฐ
มีโอกาสได้จัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง และเขาก็ต้องการเข้าสู่อำนาจเพื่อที่จะสามารถช่วยเหลือ
ชาวมลายูมุสลิมได้มากกว่าในอดีตที่เขาช่วยได้แค่เป็นทนายแก้ต่างให้ในศาลเท่านั้นเอง (อาดีลัน
อาลีอิสเฮาะ, 2562)
อย่างไรก็ตาม ภายใต้สภาวะทางการเมืองที่เป็นไป ทำให้ความเป็นนักการเมืองมลายูมุสลิม
ก็มีข้อท้าทายไม่น้อย เมื่อต้องนำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ให้สังคมไทยโดยรวมเข้าใจ
หลายๆ ครั้งนักการเมืองมลายูมุสลิมเลือกที่จะไม่แสดงความเห็นโดยตรงหากแต่แสดงความเห็น
ผ่านการให้เพื่อนนักการเมืองจากพื้นที่อื่นเป็นกระบอกเสียงให้แทน (อันวาร์ สาและ, 2562)
อย่างไรก็ดี เมื่อนักการเมืองมลายูมุสลิมหลายๆ ท่านรวมตัวเป็นกลุ่มวาดะห์หรือกระทั่งปรับตัว
กลายเป็นพรรคประชาชาติ และการเลือกตั้งในครั้งนี้ที่ได้มีผู้แทนจากพรรคภูมิใจไทยและพรรค
พลังประชารัฐที่ใช้จังหวะของเหตุการณ์หลายๆ ครั้งในการส่งเสียงเรื่องราวของพื้นที่มากขึ้นแม้ว่า
สำหรับพรรคร่วมรัฐบาลจะมีข้อจำกัดที่หลายครั้งต้องทำตามมติของพรรคก็ตามที แต่อย่างไร
ก็ตามจะพบผลที่ตามมา เช่น นักการเมืองบางท่านก็ถูกต่อต้านผ่านโซเชียลมีเดีย โดยฝ่ายที่ถูก
มองว่าเป็นไอโอ (IO) หรือปฏิบัติการข่าวสาร (Information Operation) และหลายๆ ประเด็น
การถูกละเมิดสิทธิของประชาชนในพื้นที่ที่ถูกหยิบยกโดยสมาชิกผู้แทนราษฎรหลายท่านก็มิอาจ
ถูกแก้ไขได้ เป็นต้น
นอกเหนือไปจากนั้นแล้วการเป็นนักการเมืองมลายูมุสลิมยังมีข้อท้าทายและข้อจำกัดในแง่
ของโอกาสของคนกลุ่มใหม่ในการเข้าถึงพื้นที่นี้ของบางเขตเลือกตั้ง สำหรับบางเขตผู้มีอิทธิพลและ
มีเครือข่ายกว้างขวางยังคงเป็นตัวเลือกของพรรคการเมืองไม่ว่าจะเป็นพรรคใหญ่ระดับหลายๆ
พรรค หรือที่มีอุดมการณ์นำหรือมีอัตลักษณ์มลายูมุสลิมชัดเจนก็ตาม โดยนักการเมืองบางท่าน
ให้ความเห็นว่า เขาไม่ได้สนใจประเด็นความเป็นมลายูมุสลิม แต่สนใจในเรื่องของการพัฒนาพื้นที่
บ้านเกิด และต้องได้รับการยอมรับจากคนทั่วไป อย่างกรณี จังหวัดอุทัยธานีที่มีมุสลิมชนะ
การเลือกตั้งทุกเขต แสดงว่าได้รับความยอมรับจากคนทั่วไปในจังหวัดนั้น ซึ่งเขามองว่าเป็นสิ่งที่
ส.ส. ชายแดนใต้ควรกระทำ (สัมพันธ์ มะยูโซะ, 2562)
ขณะเดียวกันความเป็นผู้หญิงก็เป็นสิ่งที่ท้าทายไม่น้อยสำหรับพื้นที่ชายแดนใต้ เพราะตั้งแต่
อดีตจนถึงปัจจุบัน มี ส.ส. ผู้หญิงที่ได้รับการเลือกตั้งเพียง 2 ท่านเท่านั้น คือ แพทย์หญิง
พรพิชญ์ พัฒนกุลเลิศ และแพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ซึ่งใน 2 ท่าน มีเพียงท่านเดียวที่ชนะ เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2
การเลือกตั้งแบบแบ่งเขต ส่วนอีกท่านได้ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ หนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อประเด็นนี้