Page 148 - kpi20756
P. 148
1 8
วัฒนธรรมทางการเมืองแบบพลเมือง
กับการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
Civic Culture and The Reduction of
Social Inequality
วรัญญา ศรีริน*
พรอัมรินทร์ พรหมเกิด**
บทคัดย่อ
ในบทความนี้ได้นำเสนอให้เห็นว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมไทยมีหลายมิติ
แต่เมื่อวิเคราะห์ถึงปัจจัยเชิงสาเหตุพบว่า มีอยู่สองประการคือ หนึ่ง เกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้าง
ของสังคมไทย สอง เกิดจากข้ออ่อนของพื้นฐานวัฒนธรรมทางการเมืองและพฤติกรรมของผู้คน
ในสังคม ทั้งสองส่วนนี้มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกัน ทำให้สังคมไทยติดกับดักอยู่กับความเหลื่อมล้ำ
มายาวนาน ในบทความนี้ได้เสนอทางออกในการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมด้วยการ
สร้างวัฒนธรรมทางการเมืองแบบพลเมือง เนื่องจากอดีตที่ผ่านมา สังคมไทยได้พยายาม
เปลี่ยนแปลงโครงสร้างและสถาบันทางการเมือง แต่ไม่ได้คำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานทางด้านสังคมและ
วัฒนธรรม โดยเฉพาะการมุ่งปลูกฝังวัฒนธรรมทางการเมืองแบบพลเมืองให้กลายเป็นค่านิยม
และวิถีชีวิตใหม่ของผู้คนเพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
คำสำคัญ : ความเหลื่อมล้ำทางสังคม, วัฒนธรรมทางการเมืองแบบพลเมือง
* นักศึกษาปริญญาเอก สาขาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
** รองศาสตราจารย์ ดร., อาจารย์ประจำสาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น