Page 150 - kpi20756
P. 150
1 0 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
1. บทนำ
“มนุษย์เราเกิดมามีร่างกายและปัญญา สมองไม่เสมอกัน เมื่อเริ่มต้นก็เกิดความอยุติธรรม
เสียแล้ว เช่นนี้ก็เป็นหน้าที่ของสังคมที่จะขจัดปัดเป่าความไม่เสมอภาคนั้นให้น้อยลงที่สุด”
(ป๋วย อึ้งภากรณ์, 2512) 43
ปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคมไทยมีความสัมพันธ์กับประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพ
ซึ่งเชื่อมโยงถึงความเป็นเหตุเป็นผลกันทั้งในเชิงทฤษฎีและเชิงประจักษ์ โดยในประเทศที่มีความ
เหลื่อมล้ำสูง ก่อให้เกิดผลเสียอย่างมากต่อประโยชน์สาธารณะ กล่าวคือ ทำให้ประชาชนรู้สึกถึง
ความเหลื่อมล้ำ และเกิดการตั้งคำถามเกี่ยวกับความไม่เป็นธรรมจากภาครัฐ เช่น ความไม่เป็น
ธรรมด้านเศรษฐกิจ ความไม่เป็นธรรมด้านกฎหมาย ความไม่เป็นธรรมด้านการจัดสรร
งบประมาณตามนโยบายของรัฐ ตลอดจนกลไกการบริหารประเทศโดยรวม เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว
ย่อมส่งผลเสียหายต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยด้วย กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ระบอบ
ประชาธิปไตยที่ไม่มีเสถียรภาพนั้นได้ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำขึ้นในสังคม ปัญหาดังกล่าว
หากไม่มีการแก้ไขที่ถูกวิธี อาจนำไปสู่การเกิดความไม่พอใจ จนเกิดแรงต้านจากประชาชนและ
44
ทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองได้ในที่สุด (สถาบันพระปกเกล้า, 2562)
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมากว่า 88 ปีบนเส้นทางประชาธิปไตยของไทย ได้มีความพยายาม
อย่างยิ่งที่จะเปลี่ยนผ่านให้ประชาธิปไตยเกิดความยั่งยืนและสถาพร นำมาสู่ความเสมอภาคและ
ความเท่าเทียมกันของสังคมไทย โดยมีการปรับแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
ที่เกี่ยวข้องต่างๆ เพื่อลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ ดังเช่น มีการบัญญัติเรื่อง การแก้ไขความ
เหลื่อมล้ำไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในมาตราที่ 257 ว่าด้วย
“การปฏิรูปประเทศด้วยการสร้างสังคมที่มีความสงบสุขเป็นธรรม และมีโอกาสทัดเทียมกัน
เพื่อแก้ไขความเหลื่อมล้ำ” และมาตราที่ 258 อันมีสาระสำคัญว่าด้วย “การลดความเหลื่อมล้ำ
45
ในการศึกษาและเสริมสร้างพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู” รวมทั้งมีแผนกำหนด
ยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ในส่วนที่ 4 ว่าด้วยการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
ป๋วย อึ้งภากรณ์. (2512). ศีลธรรมและศาสนาในการพัฒนาชาติในปาฐกถาอนุสรณ์ซินแคลร์ ทอมป์สัน
43
เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2 ค.ศ. 1969. วิทยาลัยพระคริสตธรรมในประเทศไทย และสภาคริสตจักรในประเทศไทย 21- 23 มกราคม 2512.
สถาบันพระปกเกล้า. (2562). หลักการและเหตุผลการประชุมวิชาการสถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
44
ประจำปี 2562 เรื่อง การลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย. สืบค้นจาก http://
www.kpi.ac.th/.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก,
45
หน้า 1 - 94.