Page 152 - kpi20756
P. 152
1 2 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยในปี พ.ศ. 2556 โดยสำนักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ปัญหาความเหลื่อมล้ำมีหลากหลายมิติ เช่น
มิติแรก ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้หรือการกระจายรายได้ของประเทศไทย พบว่า
รายได้ยังคงกระจุกตัวอยู่กับคนกลุ่มเล็กๆ โดยเฉพาะกลุ่มคนรวย ซึ่งเป็นผลให้เกิดความแตกต่าง
ของรายได้ระหว่างกลุ่มคนรวยที่สุด และกลุ่มคนจนที่สุด โดยต่างกันมากถึง 34.9 เท่า
มิติที่สอง ความเหลื่อมล้ำด้านทรัพย์สินทางการเงิน โดยสินทรัพย์ทางการเงินกระจุกตัว
อยู่ในกลุ่มคนเล็กๆ กล่าวคือ บัญชีเงินฝากที่มีวงเงินเกิน 10 ล้านบาทขึ้นไป มีเพียงจำนวน
111,517 บัญชี หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 0.1 ของจำนวนบัญชีทั้งหมด แต่ในขณะที่บัญชี
เงินฝากขนาดเล็กวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาทมีจำนวน 84 ล้านบัญชี หรือคิดเป็นร้อยละ 99.9
ของจำนวนบัญชีทั้งหมด ซึ่งทำให้เห็นระยะห่างที่ชัดเจนของฐานทรัพย์สินคนมีฐานะร่ำรวยจำนวน
น้อย เมื่อเปรียบเทียบกับฐานทรัพย์สินของคนส่วนใหญ่ของประเทศ
มิติที่สาม ความเหลื่อมล้ำด้านการถือครองที่ดิน ความเหลื่อมล้ำด้านการถือครองที่ดิน
ในประเทศไทยนับว่าสูงมาก โดยพบว่า มีการถือครองที่ดินที่มีเอกสารสิทธิประเภทโฉนดที่ดิน
กระจุกตัวอยู่ในคนกลุ่มเล็กๆ เท่านั้น โดยมีสัดส่วนกลุ่มผู้ที่ถือครองที่ดินมากที่สุดร้อยละ 20
ของคนไทย คิดเป็นการถือครองที่ดินสูงถึงร้อยละ 79.9 ของพื้นที่ทั้งหมด และมีสัดส่วนสูงกว่า
กลุ่มผู้ถือครองที่ดินน้อยที่สุดในประเทศไทยมากถึง 325.7 เท่า
มิติที่สี่ ความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา มีความเหลื่อมล้ำอย่างมากในเรื่องโอกาสในการเข้าถึง
บริการด้านการศึกษา ระหว่างกลุ่มประชากรที่มีฐานะดีและฐานะยากจน และพื้นที่อยู่อาศัยที่
แตกต่างกันในเขตเมือง - ชนบท และระหว่างภูมิภาค โดยเฉพาะการเข้าถึงการศึกษาในระดับ
ปริญญาตรี โดยกลุ่มประชากร 10% ที่มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีที่สุด มีโอกาสเข้าถึงการศึกษา
ระดับปริญญาตรี มากกว่ากลุ่มประชากร 10% ที่มีฐานะความเป็นอยู่ด้อยที่สุดประมาณ 19.1 เท่า
จึงส่งผลต่อโอกาสในการพัฒนาทักษะ อาชีพ และการสร้างรายได้มีความแตกต่างกันมากขึ้นด้วย
จะเห็นได้ว่าความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในปัจจุบัน ยิ่งทำให้ความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่มีอยู่แล้ว
เลวร้ายลงไปอีก
มิติที่ห้า ความเหลื่อมล้ำคุณภาพการให้บริการสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งความ
เหลื่อมล้ำของการกระจายบุคลากรทางการแพทย์ โดยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แพทย์ 1 คน
ต้องให้บริการประชากรสูงถึง 3,918 คน ในขณะที่กรุงเทพมหานครแพทย์ 1 คน ให้บริการ
ประชากรเพียง 1,075 คน ซึ่งแตกต่างกันเกินกว่า 3 เท่า จึงส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการที่มี
เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2 แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคมไทยซึ่งมีหลากหลายมิติ แต่เมื่อได้
49
ความแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาค เป็นต้น
จากตัวอย่างข้อมูลของสถานการณ์ ที่บ่งชี้สภาพความเหลื่อมล้ำของประเทศไทยข้างต้น
49
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์
ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2556. กรุงเทพฯ: บริษัท บี.ซี.เพรส (บุญชิน) จำกัด.