Page 153 - kpi20756
P. 153

การประชุมวิชาการ
                                                                                        สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21   1
                                                                                        ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                      วิเคราะห์เชิงลึกถึงปัจจัยเชิงสาเหตุที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย จะพบว่า มีสาเหตุหลัก
                      อยู่สองประการด้วยกัน คือ ประการแรก สาเหตุเกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทย

                      และประการที่สอง คือ ปัญหาเชิงวัฒนธรรมทางการเมืองและพฤติกรรมของผู้คนในสังคมไทย
                      ซึ่งทั้งสองส่วนมีความเกี่ยวเนื่องและเชื่อมโยงกัน ทำให้สังคมไทยยังคงติดกับดักอยู่กับความ
                      เหลื่อมล้ำมาอย่างยาวนาน ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้


                            2.1  ปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทย

                                คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.)  ได้เคยเสนอภาพรวมของปัญหาเชิงโครงสร้าง
                                                               50
                      ซึ่งเชื่อมโยงกัน อันก่อให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่างรุนแรงในสังคมไทย โดยสรุปก็คือ
                      ตัวโครงสร้างของการจัดสรรอำนาจกีดกันมิให้คนจำนวนมากสามารถเข้าถึง “ทรัพยากร” หรือ

                      เข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน คำว่า “ทรัพยากร” ในที่นี้มีความหมายกว้างกว่า ทรัพยากรที่จับต้อง
                      ได้เพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงโอกาสและพลังที่เพิ่มพูนขึ้นในการใช้ประโยชน์จากเงื่อนไขทาง
                      เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองด้วย คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) สรุปว่า หากไม่สามารถ

                      ปรับโครงสร้างของการเข้าถึงทรัพยากรดังกล่าว ก็ไม่มีทางที่จะลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
                      ซึ่งนับวันจะเลวร้ายยิ่งขึ้นได้ และความเหลื่อมล้ำเป็นสาเหตุแห่งการชะงักงันในเกือบทุกด้านของ

                      สังคมไทยเวลานี้

                                คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ยังมีความเห็นว่า ความอยุติธรรมหรือการถูกเลือก

                      ปฏิบัติจากโครงสร้างอำนาจทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ได้สร้างสภาวะความเหลื่อมล้ำหรือ
                      ความไม่เท่าเทียมกันในทุกด้านจนทำให้อำนาจต่อรองของผู้คนต่างๆ ในสังคมที่จะปกป้อง

                      สิทธิเสรีภาพหรือบรรลุถึงความเท่าเทียมกันเป็นไปได้ยาก โครงสร้างความอยุติธรรมหรือความ
                      เหลื่อมล้ำดังกล่าว คือ ความรุนแรงที่สังคมไทยกำลังเผชิญอยู่ในเวลานี้ และความเหลื่อมล้ำอย่าง
                      สุดขั้วทุกด้านนับเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่เป็นแกนกลาง อันก่อให้เกิดปัญหาเชิงโครงสร้าง

                      ด้านอื่นๆ ตามมาอีก การปฏิรูปการเมืองจึงควรจัดการกับปัญหานี้เป็นหลัก ส่วนสำนักงาน
                                                                               51
                      คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ได้เสนอปัญหาเชิงโครงสร้าง
                      เช่นเดียวกัน อันเป็นปัญหาของระบบโครงสร้างของสังคมไทยที่เอื้อโอกาส หรือเพิ่มช่องว่างให้เกิด
                      ความเหลื่อมล้ำขึ้น ได้แก่


                                1) โครงสร้างทางเศรษฐกิจไทย เอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มนายทุนมากกว่ากลุ่มแรงงาน
                      กล่าวคือ ผลประโยชน์จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมาจากฐานของอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ

                      ผลตอบแทนของทุนจึงเป็นของผู้ประกอบการเป็นส่วนใหญ่ ส่วนค่าตอบแทนแรงงานและสวัสดิการ
                      มีเพียงเล็กน้อย จึงกลายเป็นช่องว่างระหว่างชนชั้นและรายได้ที่เห็นได้ชัดเจน


                         50   คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.). (2554). แนวทางการปฏิรูปประเทศไทย: ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองและ
                      ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง. กรุงเทพฯ: หจก. บางกอกบล็อก.

                         51   สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์
                      ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2555. สืบค้นจาก http://social.nesdb.go.th/.               เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 2
                            สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์
                      ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2556. กรุงเทพฯ: บริษัท บี.ซี.เพรส (บุญชิน) จำกัด.
   148   149   150   151   152   153   154   155   156   157   158