Page 206 - kpi20756
P. 206
20 การประชุมวิชาการ
สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย
บทนำ
ความเหลื่อมล้ำเป็นปัญหาสำคัญที่จำเป็นต้องได้รับการจัดการอย่างต่อเนื่องและจริงจัง
ความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยสามารถพิจารณาได้จากหลายมิติทั้งในด้านรายได้ ทรัพย์สิน ปัจจัย
การผลิต การเข้าถึงบริการของรัฐด้านต่างๆ โอกาสในการร่วมตัดสินใจในนโยบายของรัฐ เป็นต้น
ก่อนที่จะกล่าวถึงความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยว่ามีมากน้อยเพียงใด จำเป็นต้องกล่าวถึง
ความเหลื่อมล้ำกับความสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องในบริบททางการเมือง รวมถึงบริบทแห่ง
สังคมสันติสุข ที่ไม่มีการใช้ความรุนแรงในระดับต่างๆ เพื่อจะได้เข้าใจว่าความเหลื่อมล้ำมีพลวัต
และไม่ได้หยุดนิ่ง และมีปฏิสัมพันธ์กับบริบทอื่นอย่างมีความหมายทั้งในฐานะที่เป็นได้ทั้งสาเหตุ
และผลลัพธ์ แม้กระทั่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมสันติสุข
ความเหลื่อมล้ำไม่ได้เกิดขึ้นและดำรงอยู่เพียงลำพัง แต่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ
ทั้งประชาธิปไตยเศรษฐกิจ และสังคม ประชาธิปไตยกับความเหลื่อมล้ำเกี่ยวข้องกันอย่างไร?
สังคมที่มีความเหลื่อมล้ำสูง มีความแตกต่างกันมากในด้านรายได้และทรัพย์สิน จะยิ่งทำให้
ประชาธิปไตยไม่สามารถสถาปนาหรือทำงานได้ตามที่ควรจะเป็น งานของ International
Institute for Democracy and Electoral Assistance (2017) สรุปไว้ว่า ความเหลื่อมล้ำกัด
เซาะหรือบ่อนทำลายความยืดหยุ่นของประชาธิปไตย เพิ่มการแบ่งขั้วทางการเมือง ขัดขวาง
ความสมานฉันท์ในสังคม และความไว้วางใจต่อการสนับสนุนประชาธิปไตย ประจักษ์ ก้องกีรติ
(2559) กล่าวว่า ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและความแตกแยกทางสังคมนั้นก่อให้เกิดภาวะ
ชะงักงันทางการเมือง และได้เปรียบเทียบให้เห็นภาพว่า คนที่อยู่บนยอดของพีระมิดกับคนที่อยู่
ฐานของพีระมิดจะมีผลประโยชน์และความต้องการที่แตกกต่างกันจนยากจะประสานกันได้ และ
ความต้องการและประโยชน์ที่แตกกต่างกันนี้ แต่ละฝ่ายจะพยายามปกป้องประโยชน์ของกลุ่มตน
และปิดกั้น กีดกันอีกฝ่ายเพื่อให้ฝ่ายตนได้ประโยชน์มากกว่า คอลลิน (2014) ได้อธิบายไว้ใน
ทิศทางเดียวกันว่าหากความมั่งคั่งกระจุกตัว จะนำไปสู่การลุกฮือขึ้นในประเทศต่างๆ ทั้งกรณี
การยึดวอลล์สตรีทในสหรัฐอเมริกา อาหรับสปริงในตูนีเซียและขยายไปถึงอียิปต์ ซีเรีย
ปากีสถาน
ในทางกลับกันสังคมที่มีประชาธิปไตยต่ำยิ่งทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำสูงขึ้น นิธิ เอียวศรีวงศ์
(2561) ได้กล่าวถึงอำนาจทางการเมืองของคนด้อยอำนาจหรือชายขอบอำนาจไว้ว่า คนที่มีอำนาจ
ทางการเมืองน้อย ไม่ว่าจะขยันเพียงใดก็ตาม แต่ไม่สามารถมีอำนาจหรือร่วมใช้อำนาจในการต่อรอง
กำหนดนโยบายหรือมีส่วนร่วมในการออกกฎหมายเพื่อประโยชน์ของกลุ่มตนได้ แต่กลับถูก
ภาครัฐออกกฎหมายที่กีดกันคนด้อยอำนาจในการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ออกกฎหมาย
เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 4 ไม่มีพื้นที่ต่อรองทางการเมืองที่เท่าเทียม มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การใช้ความรุนแรงได้มากขึ้น เช่น
กีดกันมิให้ผู้ประกอบการรายเล็กผลิตสินค้าแข่งกับนายทุนรายใหญ่ได้ และการเมืองที่เหลื่อมล้ำ
การประท้วงอย่างรุนแรง เพื่อทำให้เปิดพื้นที่ทางการเมืองอย่างเท่าเทียมมากขึ้น จากงานที่
นิธิ เอียวศรีวงศ์ ได้กล่าวไว้พอจะสรุปได้ว่า ประชาธิปไตยยังมีความสัมพันธ์กับสันติสุขหรือการไม่ใช้
ความรุนแรง หากสังคมใดมีการเปิดพื้นที่ทางการเมืองให้ประชาชนได้ร่วมตัดสินใจเพื่อเข้าถึง
การใช้ทรัพยากรได้อย่างเท่าเทียมกัน มีแนวโน้มที่จะไม่เกิดความรุนแรงขึ้นในสังคม