Page 210 - kpi20756
P. 210

210     การประชุมวิชาการ
                    สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
            ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                            3. ช่องว่างของความยากจน (Poverty Gap) วัดอัตราของประชากรที่ดำรงชีพต่ำกว่า
                               2 ดอลลาร์ต่อวัน รายได้ของคนที่แตกต่างกันมากหรือแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง อาจ

                               นำมาซึ่งปัญหาไม่สันติสุขในสังคม

                       2)  ระดับของทุนทางมนุษย์ (High Levels of Human Capital) เป็นการใช้ฐานทุนทาง

                  มนุษย์ เน้นให้การเรียนรู้กับพลเมืองเพื่อพัฒนาด้านเศรษฐศาสตร์ มีตัวชี้วัดจำนวน
                  3 ตัวประกอบด้วย


                             1. การเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษา (Secondary school enrolment) การศึกษา
                               เป็นการพัฒนาทุนมนุษย์เป็นอย่างดี และการศึกษาเป็นช่องทางนำมาซึ่งรายได้

                               อาชีพที่ดี โดยวัดจากเปอร์เซ็นต์ของประชากรในการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษา


                            2. ดัชนีการพัฒนาเยาวชน (Youth Development Index) วัดเยาวชนอายุ 15-29 ปี
                               ใน 5 ด้าน การศึกษา สุขภาพ การอยู่ดี มีงานทำ การมีส่วนร่วมของประชาชน
                               และการมีส่วนร่วมทางการเมือง การวัดทุนทางมนุษย์โดยเน้นที่เยาวชนเนื่องจาก

                               เยาวชนเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว


                            3. ดัชนีนวัตกรรมโลก (Global innovation index) ดัชนีนี้เน้นนวัตกรรมและเครื่องมือ
                               ที่ช่วยให้การจัดทำนโยบายสามารถเพิ่มการเติบโตในระยะยาว ปรับปรุงผลิตภาพ

                               และการเจริญเติบโตของงาน การใช้ดัชนีนี้เพิ่งได้นำมาใช้ในปี ค.ศ. 2017 และ
                               ปีค.ศ. 2018 ซึ่งก่อนหน้านี้ใช้ตัวชี้วัดอื่นคือ จำนวนของการตีพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์
                               (Number of Scientific Publication)


                       คะแนนสันติภาพเชิงบวกของไทยในโลก เปรียบเทียบ 3 ปีระหว่าง ปี ค.ศ. 2016-2018
                  ปี ค.ศ. 2016 ได้คะแนนอันดับที่ 71 ได้คะแนนรวม 2.987 ปี ค.ศ. 2017 ได้คะแนนอันดับ

                  ที่ 76 ได้คะแนนรวม 3.1 ปี ค.ศ. 2018 ได้คะแนนอันดับที่ 74 ของโลก ได้คะแนนรวม 3.07
                  หากพิจารณาจากตัวชี้วัดหลัก 2 ด้าน เปรียบเทียบเฉพาะในประเทศไทยจากตัวชี้วัด 8 ด้านหลัก

                  จะเห็นได้ว่าตัวชี้วัดที่ได้คะแนนสูงที่สุดของประเทศไทยคือ 1.การกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม
                  และ2.ระดับของทุนทางมนุษย์ มีรายละเอียดคือ


                  ตารางที่ 1 : เปรียบเทียบคะแนนและอันดับตัวชี้วัดด้านความเหลื่อมล้ำจากดัชนีสันติภาพ
                  เชิงบวกเปรียบเทียบ 3 ปี


                                  ประเด็น                  ปี ค.ศ. 2016     ปี ค.ศ. 2017     ปี ค.ศ. 2018
        เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 4   ที่มา :  สรุปจากดัชนี Positive Peace Index ค.ศ. 2016-2018   คะแนน 2.62    คะแนน 2.65
                                                           คะแนน 1.89
                                                                            คะแนน 2.26
                                                                                             คะแนน 2.45
                  - การกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม
                                                                              อันดับ 1
                                                                                               อันดับ 1
                                                             อันดับ 1
                                                           คะแนน 2.954
                  - ระดับของทุนทางมนุษย์
                                                                                               อันดับ 2
                                                                              อันดับ 2
                                                              อันดับ 4
   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215