Page 208 - kpi20756
P. 208

208     การประชุมวิชาการ
                    สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21
            ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                  2. ความเหลื่อมล้ำกับสันติสุขในสังคมไทย : ดัชนีสันติภาพเชิงบวกของ

                  โลก (Positive Peace Index-PPI)



                       ก่อนที่จะกล่าวถึงความเหลื่อมล้ำในรายละเอียด ในส่วนนี้จะเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจ
                  กับคำว่า “สันติภาพ” (Peace) มีการนิยามแตกต่างกันไป คำนิยามที่ใช้กันมากคือ สันติภาพ

                  เชิงลบ (Negative Peace) และสันติภาพเชิงบวก (Positive Peace) สันติภาพเชิงลบคือไม่มี
                  ความรุนแรงทางตรง (Direct Violence) หรือความรุนแรงที่ปรากฏอย่างชัดเจน รวมถึงสงคราม

                  และสันติภาพเชิงบวกคือไม่มีความรุนแรงในเชิงโครงสร้าง (Structural Violence) เช่น ความไม่
                  ยุติธรรม สำหรับความรุนแรงในเชิงวัฒนธรรม (Cultural Violence) เช่น ทัศนคติที่นำไปสู่การใช้
                  ความรุนแรงทางตรงได้ เป็นต้น  (Galtung, 1967,p.12)


                       ในรอบ 10 กว่าปีที่ผ่านมา สถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพหรือ Institute of economic
                  and peace-IEP วัดระดับของสันติภาพในประเทศต่าง ๆ โดยเน้นวัดสันติภาพในเชิงลบ และ

                  ต่อมาได้พัฒนามาวัดสันติภาพในเชิงบวกด้วย สถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ ได้จัดทำ
                  รายงานตัวชี้วัดออกมาทั้งสันติภาพเชิงลบและสันติภาพเชิงบวก แต่การจัดทำรายงานจะแยกกัน

                  เป็นคนละเล่ม รายงานสันติภาพเชิงลบเป็นรายงานที่ชื่อว่า Global Peace Index ส่วนรายงาน
                  สันติภาพเชิงบวกชื่อว่า Positive Peace Index การวัดสันติภาพเชิงลบมีความสลับซับซ้อน
                  น้อยกว่า และวัดได้ง่ายและชัดเจน ประกอบด้วย 3 ด้านหลัก (Domains) คือ 1. ความขัดแย้ง

                  ภายในและระหว่างประเทศที่ยังดำรงอยู่ (Ongoing Domestic and International Conflict)
                  2. ความปลอดภัยและความมั่นคงในสังคม (Societal Safety and Security) 3. การทหาร

                  (Militarisation) อย่างไรก็ตาม การวัดสันติภาพเชิงลบเน้นไปที่การวัดความรุนแรงที่เห็นได้ชัดเจน
                  ทางกายภาพ แต่ไม่ได้ลงลึกถึงความรุนแรงที่ซ่อนอยู่หรือเบื้องหลังสาเหตุที่ทำให้เกิดความรุนแรง
                  ทางกายภาพ สถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ จึงได้วัดระดับสันติภาพเชิงบวก Positive

                  Peace Index หรือ PPI โดยจัดทำรายงานแยกออกมาต่างหากเพื่ออธิบายถึงความรุนแรงทาง
                  โครงสร้างและวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างอำนาจของสังคม ความเชื่อที่ส่งผลต่อการใช้หรือ

                  ไม่ใช้ความรุนแรง สันติภาพเชิงบวกรวมสันติภาพในเชิงลบเข้าไปด้วย รวมถึงสิ่งที่มองไม่เห็นด้วย
                  ตาเปล่า รวมถึง ทัศนคติ สถาบัน โครงสร้างซึ่งสร้างและทำให้สังคมมีสันติภาพที่ยั่งยืน


                       จากรายงาน PPI ข้อค้นพบคือ ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยสูง และประเทศที่มีรายได้สูง
                  จะมีระดับสันติภาพเชิงบวกสูง ประเทศที่มีสันติภาพเชิงบวกสูงจะสามารถเผชิญกับการต่อต้าน

                  จากมวลชน การเคลื่อนไหวดังกล่าวจะไม่เป็นกลุ่มใหญ่มากและจะมีระยะเวลาสั้น และมีความ
                  รุนแรงน้อยกว่า 91 เปอร์เซ็นต์ของการประท้วงรุนแรงปรากฏในประเทศที่มีสันติภาพเชิงบวกต่ำ
        เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 4   (Domains) แต่ละด้านมี 3 ตัวชี้วัด รวมเป็น 24 ตัวชี้วัด แต่ละตัวชี้วัดมีการให้คำอธิบายตัวชี้วัด
                  (Institute for Economics and Peace, 2016) สันติภาพเชิงบวกประกอบด้วย 8 ด้านหลัก


                  และอ้างถึงแหล่งข้อมูลที่อ้างอิงมาจากทั่วโลก เช่น Heritage Foundation, World Bank, UNDP,

                  Freedom House, Reporters without Borders, Fund for Peace, Transparency
                  International ประกอบด้วย (Institute for Economics and Peace, 2016) ตัวชี้วัดประกอบ
   203   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213