Page 211 - kpi20756
P. 211

การประชุมวิชาการ
                                                                                        สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21   211
                                                                                        ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                            1.  การกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม ปี ค.ศ. 2016 (1.89) ปี ค.ศ. 2017 (2.26)
                      อันดับ 1 ปี ค.ศ. 2018 (2.45) อันดับ 1 จาก 8 อันดับ ทั้ง 3 ปี


                            2.  ระดับของทุนทางมนุษย์ ปี ค.ศ. 2016 (2.954) อันดับ 4 ปี ค.ศ. 2017 (2.62)
                      อันดับ 2 ปี ค.ศ. 2018 (2.65) อันดับ 2 จาก 8 อันดับ



                      3. ความเหลื่อมล้ำกับสันติสุขในสังคมไทย : ดัชนีสันติสุขในสังคมไทย

                      (Thailand Peace Index- TPI)



                            จากรายงานดัชนีสันติภาพเชิงบวกของโลก ที่จัดทำโดยสถาบันเศรษฐศาสตร์และสันติภาพ
                      เป็นการวัดระดับสันติภาพในโลกรวมถึงสันติภาพของประเทศไทยเปรียบเทียบในระดับสากล

                      ทำให้ได้เห็นภาพของสันติภาพโลกในภาพกว้างได้ อาจเปรียบได้กับการมองจากภายนอกสู่ภายใน
                      แต่อาจขาดมิติที่มองจากบริบทของประเทศไทยเอง เปรียบได้กับการมองจากภายในสู่ภายนอก
                      ด้วยความแตกต่างของบริบทในสังคมที่ไม่เหมือนกัน ตัวชี้วัดด้านสันติภาพของแต่ละแห่งย่อมไม่

                      เหมือนกันในการนำมาอธิบายปรากฎการณ์แต่ละสังคม รวมถึงความแตกต่างของวิธีการจัดเก็บ
                      ข้อมูล อีกทั้งการเก็บข้อมูลของต่างประเทศเป็นการเปรียบเทียบข้อมูลในระดับประเทศ ยังไม่ได้

                      เก็บข้อมูลลงถึงระดับภูมิภาคหรือจังหวัด ประกอบกับการเก็บข้อมูลด้านสันติภาพในระดับโลก
                      ยังขาดมิติที่เป็นบริบทของประเทศไทย ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและการเมือง
                      แต่การเก็บข้อมูลของสากลนั้นใช้ตัวชี้วัดชุดเดียวกันในการเปรียบเทียบ 163 ประเทศที่มี

                      การสำรวจอาจทำให้ได้เห็นภาพของสันติภาพในเชิงเปรียบเทียบ แต่ขาดความลึกในเฉพาะเจาะจง
                      ภายใน สถาบันพระปกเกล้าจึงได้สร้างดัชนี และตัวชี้วัดที่ใช้สำหรับประเทศไทยเป็นการเฉพาะ

                      ในด้านของสันติสุขเรียกว่า Thailand Peace Index- TPI


                            ดัชนีสันติสุขในสังคมไทยเน้นวัดระดับสันติภาพในสังคมไทย ทั้งสันติภาพเชิงลบและ
                      สันติภาพเชิงบวก มีองค์ประกอบของกลุ่มตัวชี้วัดด้านสันติภาพจำนวน 4 ด้าน ประกอบด้วย
                      1. ไม่มีความรุนแรงทางกายภาพ 2. ความปลอดภัยและความมั่นคงในสังคม 3. การยอมรับความ

                      แตกต่างหลากหลาย/การไม่ถูกเลือกปฏิบัติ/การเคารพสิทธิมนุษยชน และ 4. มีความเหลื่อมล้ำ
                      ในสังคมน้อยและมีการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม รวมจำนวนตัวชี้วัดทั้งสิ้น 23 ตัวชี้วัด

                      ตัวชี้วัดด้านความเหลื่อมล้ำในสังคม ประกอบด้วยตัวชี้วัดจำนวน 8 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย

                              P4.1 มุมมองต่อความเหลื่อมล้ำในสังคม (เก็บข้อมูลระดับจังหวัด/เก็บข้อมูลด้วย

                                    การสำรวจความคิดเห็น)


                              P4.2 ความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ (เก็บข้อมูลระดับจังหวัด/เก็บข้อมูลจากหน่วยงาน)

                              P4.3 การเข้าถึงโครงสร้างพื้นฐาน (เก็บข้อมูลระดับระดับประเทศ/เก็บข้อมูลจากหน่วยงาน)


                              P4.4 ช่องว่างของความยากจน (เก็บข้อมูลระดับจังหวัด/เก็บข้อมูลจากหน่วยงาน)                   เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 4
   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216