Page 209 - kpi20756
P. 209

การประชุมวิชาการ
                                                                                        สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 21   20
                                                                                        ลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำ สร้างคุณภาพประชาธิปไตย


                      ด้วย 1. การทำหน้าที่ของรัฐบาลที่ดี 2. สภาพแวดล้อมทางธุรกิจดี 3. การกระจายทรัพยากร
                      ที่เป็นธรรม 4. การยอมรับในสิทธิของคนอื่น 5. ความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนบ้าน 6. การไหลเวียน

                      ของข้อมูลข่าวสาร 7. ระดับของทุนทางมนุษย์ 8. การคอร์รัปชั่นระดับต่ำ จากองค์ประกอบ
                      8 ด้านหลักดังกล่าว จะเห็นได้ว่าการมีสันติภาพเกี่ยวข้องกับหลายด้านทั้งด้านธรรมาภิบาลของ
                      ภาครัฐ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ดี การคำนึงถึงสิทธิเสรีภาพ ความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน

                      และความเหลื่อมล้ำที่เกี่ยวข้องกับการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรมและการพัฒนามนุษย์


                            การวัดระดับสันติภาพในโลกของสันติภาพเชิงบวกวัดเปรียบเทียบจาก 162 ประเทศ
                      เหมือนกับการวัดระดับสันติภาพเชิงลบที่ใช้ประเทศกลุ่มเดียวกัน การเลือกข้อมูลที่มีการจัดเก็บ
                      อยู่แล้วในระดับประเทศ โดยเลือกจากแหล่งข้อมูลที่จัดเก็บอย่างน้อยเป็นเวลา 3 ปีและเก็บข้อมูล

                      ไม่น้อยกว่า 95 ประเทศ การให้คะแนนระหว่าง 1-5 คะแนน ระดับ 1 หมายถึงมีสันติภาพ
                      มากที่สุด ระดับ 5 คือมีสันติภาพน้อยที่สุด


                            โดยทั่วไปเราอาจมองความเหลื่อมล้ำกับสันติภาพว่าอะไรเป็นเหตุอะไรเป็นผลต่อกัน แต่
                      ในรายงานดัชนีสันติภาพเชิงบวก หรือ Positive Peace Index ไม่ได้มองเช่นนั้น แต่ได้จัดให้

                      ความเหลื่อมล้ำเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการมีสันติภาพเชิงบวกหรือกล่าวได้ว่า ความเหลื่อมล้ำ
                      เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสันติภาพ/สันติสุข หากกล่าวอย่างเจาะจงถึงองค์ประกอบและตัวชี้วัด

                      ที่เกี่ยวข้องกับความเหลื่อมล้ำในดัชนีสันติภาพเชิงบวกโดยตรง จะมีความสัมพันธ์กับด้าน
                      1. การกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม และ 2. ระดับของทุนทางมนุษย์


                            1)  การกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม (Equitable Distribution of Resource) พิจารณา
                      จากความเท่าเทียมในการเข้าถึงทรัพยากรและการกระจายทรัพยากรที่เป็นธรรม ในด้านการศึกษา

                      สุขภาพ การกระจายด้านรายได้ (Positive Peace Index,2018) มีตัวชี้วัด 3 ตัวประกอบด้วย


                                 1. ดัชนีอายุคาดเฉลี่ย (Inequality-Adjusted Life Expectancy) (อายุโดยเฉลี่ยของ
                                    ประชากรที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่) จากการที่การแพทย์สมัยใหม่พัฒนาต่อเนื่อง
                                    คนมีอายุยืนขึ้นมากกว่าในอดีต อายุขัยหรืออายุที่ยืนขึ้นจึงเป็นประเด็นในการนำมา

                                    อธิบาย อายุขัยเฉลี่ยยังสามารถพิจารณาได้ถึงความเหลื่อมล้ำด้านสุขภาพของคน
                                    จากตัวอย่างในสหรัฐอเมริกา ระดับการศึกษาซึ่งสัมพันธ์กับรายได้และสีผิวเป็น

                                    ปัจจัยกำหนดอายุขัยได้ เช่น สตรีผิวขาวไม่มีเชื้อสายสเปนที่จบปริญญาตรี มีอายุ
                                    ขัยเฉลี่ยสูงกว่าสตรีผิวดำหรือผิวขาวที่จบมัธยมศึกษาปีที่หกถึงสิบปี 76


                                 2. การเลื่อนชั้นทางสังคม (Social Mobility) คนในสังคมมีช่วงชั้นทางสังคมที่แตกต่าง
                                    ทั้งจากเรื่องชาติกำเนิด การศึกษา ฐานะของครอบครัว การเลื่อนชั้นทางสังคม
                                    จะเป็นโอกาสให้คนได้ขึ้นสู่ระดับชนชั้นทางสังคมที่ดี โดยโอกาสการเลื่อนชนชั้น

                                    อย่างเสมอหน้าจะทำให้คนมีการศึกษา รายได้ อาชีพที่ดีอันจะนำไปสู่คุณภาพ
                                    ชีวิตที่ดี


                         76   อ่านเพิ่มเติมได้ใน สติกลิตช์, โจเซฟ อี. 2556. ราคาของความเหลื่อมล้ำ. กรุงเทพฯ : โอเพ่นเวิลด์ส     เอกสารประกอบการสัมมนากลุ่มย่อยที่ 4
                      พับลิชชิ่ง เฮาส์.
   204   205   206   207   208   209   210   211   212   213   214