Page 45 - kpi20858
P. 45

32






                               46
                       เจ้าอยู่หัว   จากนั้นอิทธิพลจากอารยธรรมตะวันตกได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงลักษณะบางประการ
                       ในจิตรกรรมไทยประเพณี ให้ก้าวเข้าสู่การแสดงออกที่เป็นสากลยิ่งขึ้น


                              จิตรกรรมไทยประเพณีแสดงความงามแบบอุดมคติ น าเสนอสภาพการณ์ที่แตกต่างไปจาก

                       โลกแห่งความเป็นจริงทางธรรมชาติ  ส่วนหนึ่งเป็นผลสืบเนื่องมาจากหลักความเชื่อทางศาสนาที่
                       ผูกพันกับปรัชญาและแนวคิดเชิงนามธรรมอันลึกซึ้ง  ประกอบกับช่างไทยถือว่าความงามที่ปรากฏ

                       ตามธรรมชาติทั่วไป  เป็นความงามแบบปกติธรรมดา  จึงปรุงแต่งจิตรกรรมของตนให้เน้นหนักไป

                       ในทางความงามที่ระคนอยู่ด้วยปรัชญาศิลปะที่เกี่ยวข้องกับศาสนา    ดังนั้นการถ่ายทอดด้วย
                                                                                47
                       รูปลักษณ์แบบอุดมคติจึงก่อให้เกิดความสอดคล้องกันทั้งเรื่องราวและรูปแบบ


                            2.1.2.1.1 รูปทรงในงำนจิตรกรรมไทยประเพณี

                            รูปลักษณะของสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตส่วนใหญ่ในงานจิตรกรรมไทยประเพณี  เกิดจากการ

                       ประดิษฐ์ให้มีลักษณะข้ามพ้นไปจากความเป็นจริง เรือนร่างของมนุษย์ถูกลดทอนส่วนละเอียดของ

                       รูปทรงมนุษย์ลง  คงไว้เพียงแต่สาระที่ส าคัญ  น าเสนอเพียงความเรียบง่าย  ไม่แสดงกล้ามเนื้อที่

                       ถูกต้องตามหลักวิชาแบบตะวันตก มีการแสดงออกด้วยเส้นสายที่อ่อนหวานโดดเด่น ท่าทางของรูป
                       มนุษย์ได้รับการแต่งเสริมให้มีลีลาอ่อนช้อยเชิงนาฏลักษณ์  (Dramatic)  แสดงอารมณ์ผ่านอากัป

                       กิริยา  นอกจากนี้รูปทรงมนุษย์ไม่แสดงอายุหรือช่วงวัย  บนใบหน้าของทั้งพระและนางไม่แสดง

                       อัตลักษณ์บุคคล  คือมีความละม้ายคล้ายกัน  หากแต่แตกต่างกันเพียงเครื่องตกแต่ง  หรือลวดลาย

                       บนเครื่องแต่งกาย  และท่าทางเท่านั้น  นอกจากนี้จิตรกรรมไทยยังไม่ค านึงถึงความสัมพันธ์ทาง
                       สัดส่วนระหว่างรูปทรง  เช่น  ตัวพระที่นั่งอยู่ในปราสาทราชมณเฑียร  หากยืนขึ้นอาจมีสัดส่วนที่สูง

                       ใหญ่ผิดไปจากความเป็นจริง  ด้านรูปทรงมนุษย์ในงานจิตรกรรมไทยนั้น  สุรศักดิ์  เจริญวงศ์ได้

                       แบ่งเป็น 4 ระดับ ดังนี้

                                  ระดับที่ 1 รูปแบบอุดมคติแสดงด้วยรูปทรงเทวดา กษัตริย์ พระหรือนาง ส่วนใหญ่

                            เป็นรูปทรงประธานขององค์ประกอบแต่ละกลุ่ม เป็นภาพแบบอุดมคติ การเคลื่อนไหวของ

                            เส้นทั้งภายนอกภายในมีจังหวะขึ้นลงรับส่งกันนุ่มนวล...แสดงอารมณ์ (รัก โกรธ เศร้า ฯลฯ)
                            จากเส้นและท่าทางที่เป็นแบบแผน   คล้ายกับลักษณะท่าทางที่แสดงความรู้สึกในทาง



                           46  คณะกรรมการโครงการสารานุกรมไทยฉบับเยาวชน, จิตรกรรมในพุทธศำสนำ,  เข้าถึงเมื่อ 26 มิถุนายน 2562
                       เข้าถึงได้จาก http://saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=20&chap=3&page=t20-3-infodetail02.html

                           47   สุรศักดิ์  เจริญวงศ์,  ขนบนิยมในกำรสร้ำงสรรค์และกำรน ำเสนอจิตรกรรมไทยประเพณี  (เอกสาร
                       ประกอบการสัมมนาทางวิชาการ  เรื่อง  วันที่  11-12  กุมภาพันธ์  2536  คณะจิตรกรรม  ประติมากรรมและภาพพิมพ์
                       มหาวิทยาลัยศิลปากร), 8.
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50