Page 88 - kpi20858
P. 88

45






                       โข่ง อาทิ จิตรกรรมในหอราชพงศานุสรณ์ ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ภาพ
                       จิตรกรรมภายในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร  พระอุโบสถวัดบรมนิวาส  และวัดมหาสมณาราม

                                                                                                 59
                       จังหวัดเพชรบุรี  ตลอดจนสมุดที่ใช้ร่างเป็นภาพลายเส้นซึ่งปัจจุบันอยู่ในหอสมุดแห่งชาติ   เป็นต้น
                       ทั้งนี้ วิบูลย์ ลี้สุวรรณ ได้กล่าวถึงแนวทางการแสดงออกของ ขรัวอินโข่ง ไว้ว่า

                                  ขรัวอินโข่ง  เปลี่ยนรูปแบบศิลปะและเนื้อหาให้ต่างไปจากประเพณีนิยมที่มีมาแต่

                            โบราณ ซึ่งเป็นภาพระบายสีเรียบ ๆ ปิดทองค าเปลว ตัดเส้นให้เป็นรูปต่าง ๆ และนิยมจัด
                            ประกอบศิลป์ เรียงกันไปตามเนื้อเรื่อง  จากผนังด้านล่างขึ้นไปยังผนังด้านบน  การสร้าง

                            ภาพให้มีระยะใกล้และไกลด้วยระบบเส้นขนานไม่ใช้หลักทัศนมิติแบบตะวันตก  ภาพ

                            จิตรกรรมฝาผนังฝีมือขรัวอินโข่งเป็นแบบเหมือนจริง ใช้ค่าต่างของแสงเงาและมีระยะใกล้
                            และไกลตามหลักทัศนมิติแบบตะวันตก  และเปลี่ยนจากเรื่องพุทธประวัติและชาดกต่างๆ

                            มาเป็นภาพปริศนาธรรมและประเพณีไทย  การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาและรูปแบบจิตรกรรม

                            ฝาผนังของขรัวอินโข่ง  เป็นจุดเริ่มต้นของจิตรกรรมสมัยใหม่หรือจิตรกรรมแบบตะวันตก
                            ในประเทศไทย
                                        60

                              จากข้อความข้างต้น สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในงานจิตรกรรมของไทย
                       ทั้งรูปแบบ  ตลอดจนเนื้อหาในการสร้างสรรค์ทางจิตรกรรม  ซึ่งความเปลี่ยนแปลงนี้เป็นผลสืบเนื่อง

                       มาจากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยทางด้านการปกครอง สภาพสังคม และค่านิยมที่ส่งผลต่อศิลปกรรมใน

                       ทุกด้าน  ซึ่งหมายรวมไปถึงการสร้างอาคารบ้านเรือน  ที่ส่งเสริมให้เกิดการตกแต่งพื้นที่ให้สวยงาม

                       ตามค่านิยมตะวันตก  ดังที่  พิริยะ  ไกรฤกษ์  กล่าวถึงมูลเหตุของการสร้างผลงานจิตรกรรมเพื่อ
                       ประดับฝาผนังของอาคารว่า “ยุคนี้เริ่มมีรูปภาพจิตรกรรมใส่กรอบประดับผนัง เพราะเมื่อมีการสร้าง

                       อาคารแบบตะวันตกแล้ว จะเหลือผนังเลี่ยนๆ อันจ าเป็นต้องประดับรูปภาพ ดังนั้นรูปภาพจิตรกรรม

                       ประดับผนังเหล่านี้จึงกลายเป็นเครื่องตกแต่งที่มีความส าคัญอย่างมาก”
                                                                                   61
                              การให้ความส าคัญต่อการสร้างงานจิตรกรรม  ในฐานะเป็นสิ่งตกแต่งอาคารบ้านเรือนให้

                       ศิวิไลซ์งดงามนั้น   ส่งผลให้ภายหลังเกิดการประกวดจิตรกรรมอย่างเป็นทางการในรัชกาลต่อมา

                       โดยในปี พ.ศ.2430 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้มีการประกวดภาพ







                           59   วิทย์  พิณคันเงิน,  “ช่างเขียนสมัยรัตนโกสินทร์,”  ใน  ศิลปกรรมล ้าค่าสมัยรัตนโกสินทร์  (กรุงเทพ:

                       ราชบัณฑิตยสถาน, 2549), 63.
                           60  วิบูลย์ ลี้สุวรรณ, “จิตรกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย,” ใน ศิลปกรรมล ้าค่าสมัยรัตนโกสินทร์, 81-82.
                           61  พิริยะ ไกรฤกษ์, ประวัติศาสตร์ศิลปในประเทศไทย: ฉบับคู่มือนักศึกษา, 330.
   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92   93