Page 84 - kpi20858
P. 84

41






                       เป็นปราชญ์หรืออัจฉริยบุคคลที่มีพระปรีชาสามารถในศิลปะทุกสาขา ทั้งในด้านจิตรกรรม และลายเส้น
                       ประติมากรรม  สถาปัตยกรรม  ประณีตศิลปกรรม  วรรณกรรม  ดนตรีและนาฏศิลป์   และมัทนียาได้

                       กล่าวถึงผลงานของพระองค์ท่าน  โดยมุ่งเน้นกล่าวถึงที่มาและเนื้อหาของการสร้างสรรค์  มากกว่าการ

                       วิเคราะห์รูปแบบในการแสดงออก  ด้วยเหตุที่การศึกษาครั้งนี้  มัทนียามิได้มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์

                       รูปแบบ  หากแต่มุ่งเน้นไปที่การศึกษาเพื่อให้ได้แนวทางในการสืบทอดพระปรีชาญาณแบบองค์รวมของ
                       สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โดยสามารถสรุปแนวทางในการสืบทอด

                       พระปรีชาญาณที่ มัทนียา ค้นพบได้ดังนี้คือ การน าวิธีการเรียนรู้และฝึกฝนตนเอง และน าแนวพระด าริ

                       และผลงานเป็นตัวจุดประกายกระบวนคิดในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ  ตลอดจนน ากระบวนการคิด

                       และการท างานมาใช้เป็นแนวทางในพัฒนาหลักสูตรศิลปะในทุกระดับชั้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับ
                       อุดมศึกษา  นอกจากนี้คือการสืบทอดหรืออนุรักษ์ผลงานที่สะท้อนถึงพระปรีชาญาณของสมเด็จพระ

                       เจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ไว้สืบไป



                              2.3.2 ประติมากรรม

                              ประติมากรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว  ปรากฏในรูปแบบอนุสาวรีย์

                       ประติมากรรมรูปเหมือน  และเหรียญ  จากการส ารวจงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนั้น  พบว่าเป็นการศึกษาแบบ
                       เฉพาะเรื่อง ดังเช่น ในปี พ.ศ.2527 พิบูลย์ หัตถกิจโกศล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ท าการศึกษา

                       ในหัวข้อ “อนุสาวรีย์ไทย: การศึกษาในเชิงการเมือง” มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความหมายที่ซ่อนเร้น

                       ในอนุสาวรีย์ของไทย ซึ่งปรากฏว่ามีการศึกษาถึงอนุสาวรีย์ที่อยู่ในขอบข่ายของการศึกษา คือ ปฐมบรม

                       ราชานุสรณ์  และอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี  ทั้งนี้มีความมุ่งเน้นไปที่วิเคราะห์ที่ความหมายทางการเมือง
                       โดยเฉพาะ  จากการศึกษาของพิบูลย์  สรุปได้ว่า  การสร้างปฐมบรมราชานุสรณ์  ในรัชสมัยพระบาท

                       สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น  อยู่ในช่วงเวลาของความเปลี่ยนแปลง  อันเกิดจากแรงขับเคลื่อนของ

                       คนรุ่นใหม่ที่ส าเร็จการศึกษามาจากต่างประเทศ  ตลอดรัชสมัยของพระองค์ต้องการสร้างเสถียรภาพ

                       ให้แก่สถาบันกษัตริย์  อนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกนั้นสร้างเนื่องในโอกาสสมโภช
                       กรุงรัตนโกสินทร์ครบ  150  ปี  การออกแบบให้มีขนาดใหญ่เพื่อเน้นย ้าถึงความส าคัญของสถาบัน  เป็น

                       การเสริมสร้างความจงรักภักดีของประชาชนที่มีต่อราชวงศ์จักรี ส่วนอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารีนั้น ตั้งอยู่บน

                       แท่นฐานที่มิได้สูงมากเพื่อแสดงความเป็นสามัญ   สอดคล้องกับอุดมการณ์ทางการเมืองขณะนั้นที่ผู้

                       น ามาจากรัฐบาลพลเรือนที่มาจากสามัญชน อย่างไรก็ตามงานวิจัยฉบับนี้มีการกล่าวถึงอนุสาวรีย์อื่นๆ
   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88   89