Page 87 - kpi20858
P. 87
44
เมื่อกล่าวถึงศิลปกรรมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดกระแสทาง
ศิลปะที่ส าคัญคือ การสร้างงานจิตรกรรมและประติมากรรมภาพเหมือนบุคคล (Portrait) ในขณะที่
ยังมีชีวิต ซึ่งไม่เคยปรากฏในรัชสมัยก่อนหน้า สืบเนื่องจากความเชื่อดั้งเดิมของชาวสยามเรื่องการ
ได้มาซึ่งรูปเหมือน ไม่ว่าด้วยวิธีการใด ทั้งการถ่ายภาพ วาดภาพ หรือปั้นในขณะที่ยังมีชีวิตจะท าให้
อายุสั้น ทว่าเพื่อลบล้างความเชื่อดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประทับเป็น
แบบให้นาย อี. พีช-เฟรรี (E.Peyze-Ferry) จิตรกรชาวตะวันตกวาดพระบรมสาทิสลักษณ์ สีน ้ามัน
บนแผ่นไม้ ไม่เพียงเท่านั้นทรงให้ช่างฉายพระบรมฉายาลักษณ์ และทรงให้หลวงเทพ รจนา (พลับ)
ซึ่งเป็นช่างปั้น สร้างพระบรมรูปในท่าประทับยืนขนาดเท่าจริงขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้ทรงมอบหมาย
ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐ์วรการหล่อพระบรมรูปรัชกาลที่ 1-3 โดยมีพระราชประสงค์
57
เพื่อสักการบูชา ในฐานะเป็นพระเทพบิดรแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประดิษฐานภายในปราสาท
พระเทพบิดร วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ผลงานอันทรงคุณค่าเหล่านี้ได้กลายเป็นจุดเริ่มต้นในการ
วาดภาพพระบรมสาทิสลักษณ์ และสร้างพระบรมรูปแบบเหมือนจริงขึ้น
พระมหากษัตริย์และชนชั้นสูงในสังคมขณะนั้น มีบทบาทในการก าหนดทิศทางของงาน
ศิลปกรรม ความค านึงถึงรูปแบบเหมือนจริงอย่างตะวันตกได้เริ่มเข้ามาแทนที่การสร้างศิลปะตาม
ขนบนิยมดั้งเดิมของไทย แม้ว่าความเหมือนจริงแบบตะวันตกนั้นจะเป็นสิ่งใหม่ที่ชาวสยามไม่คุ้น
เคย แต่ได้กลายเป็นสิ่งบ่งชี้หนึ่งที่สามารถแสดงความมีศิวิไลซ์ในสังคมของชาวสยามขณะนั้นได้
เป็นอย่างดี และจากความนิยมนี้เองส่งผลให้เกิดการสร้างผลงานศิลปกรรมรูปแบบใหม่ที่เริ่มออก
ห่างไปจากการแสดงออกแบบศิลปะตามขนบดั้งเดิมของไทยมากยิ่งขึ้น ซึ่งนักวิชาการศิลปะหลาย
ท่านเรียกว่า เป็นยุคเสื่อมถอยของศิลปกรรมตามขนบ
ความเคลื่อนไหวทางด้านจิตรกรรมที่เกิดขึ้นในสมัย รัชกาลที่ 4 นั้น เป็นจิตรกรรมที่น าเอา
ลักษณะบางประการของศิลปะตะวันตกมาใช้ เช่น แสงเงา ทัศนียวิทยา เพื่อท าให้มีลักษณะเหมือน
จริงตามธรรมชาติแบบศิลปะตะวันตก เข้าใจกันว่าพระอาจารย์อินเป็นผู้ริเริ่มน าวิธีการแบบนี้มา
ใช้ พระอาจารย์อินหรือขรัวอินโข่ง เป็นจิตรกรที่น าแบบอย่างตะวันตกมาผสานกับแนวทาง
58
การแสดงออกของไทย แม้จะมิได้ถ่ายทอดด้วยรูปแบบที่เหมือนจริงอย่างเต็มขั้น ทว่าได้กลายเป็น
จุดเริ่มต้นของการสร้างงานจิตรกรรมแนวใหม่ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผลงานส าคัญของขรัวอิน
57 สันติ เล็กสุขุม, “สังเขปศิลปะรัตนโกสินทร์: พระบรมหาราชวัง,” ใน ศิลปกรรมล ้าค่าสมัยรัตนโกสินทร์
(กรุงเทพ: ราชบัณฑิตยสถาน, 2549), 29.
58 พิริยะ ไกรฤกษ์, ประวัติศาสตร์ศิลปในประเทศไทย: ฉบับคู่มือนักศึกษา (กรุงเทพ: อมรินทร์การพิมพ์, 2528),
330.