Page 85 - kpi20858
P. 85
42
อีกด้วย การศึกษาของพิบูลย์ นั้นมุ่งประเด็นไปที่การตีความด้านความหมายที่แฝงเร้น ทว่าไม่มีการ
กล่าวถึงรูปแบบของการสร้างมากนัก
ภาพรวมของการกล่าวถึงการสร้างสรรค์ทางศิลปะในประเทศไทยนั้น ปรากฏหนังสือที่ได้น า
เสนอในเชิงประวัติความเป็นมาของศิลปะในแต่ละช่วงเวลา อาทิ หนังสือจากสยามเก่าสู่ไทยใหม่ โดย
สุธี คุณาวิชยานนท์ ที่ได้น าเสนอแง่มุมทางศิลปะซึ่งด าเนินควบคู่ไปพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงทาง
สังคมในด้านต่างๆ ทั้งนีเมื่อด าเนินมาถึงรัชกาลที่ 7 พบว่า มีการกล่าวถึงการฉลองกรุงรัตนโกสินทร์
ครบ 150 ปี มีการเขียนภาพจิตรกรรมที่พระระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ระดมช่างเขียนกว่า 70
ท่าน ตลอดจนจิตรกรรมสีน ้ามันที่สร้างโดย พระสรลักษณ์ลิขิต และช่างชาวต่างประเทศอีกเล็กน้อย
รวมทั้งการสร้างศาลาเฉลิมกรุง และงานสร้างสรรค์ที่ส าคัญคือ ปฐมบรมราชานุสรณ์ ซึ่งถือเป็นช่วงเวลา
ที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ก าลังถูกท้าทาย จนน าไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองในที่สุด
เช่นเดียวกับหนังสือชื่อ “จิตรกรรมและประติมากรรมแบบตะวันตกในราชส านัก เล่ม 1” ตีพิมพ์เมื่อปี
พ.ศ.2539 โดย อภินันท์ โปษยานนท์ ตอนหนึ่งของเนื้อหาในเล่ม ได้มีการรวบรวมเอาผลงานจิตรกรรม
และประติมากรรมที่เกิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่อยู่หัว ทั้งฝีมือของศิลปินชาว
ตะวันตกและชาวไทย มีเนื้อหาที่เกี่ยวเนื่องกับภาพเหมือนบุคคล ซึ่งเป็นภาพของชนชั้นเจ้านายหรือชน
ชั้นสูงในราชส านัก ส่วนมากเป็นพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ มีการกล่าวถึงความเป็นมา
ของบริบทแวดล้อมทางการเมืองและทางสังคม อีกทั้งมีการกล่าวถึงประวัติของช่าง ตลอดจนแนวทาง
ว่ามีหลักการสร้างสรรค์ในแบบศิลปะตะวันตก