Page 83 - kpi20858
P. 83

40






                       สะท้อนให้เห็นถึงความคิดแบบสมัยใหม่ได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ วาสนา พบลาภ จากมหาวิทยาลัยศิลปากร
                       ได้ท าการศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารวัดสุวรรณดาราราม จังหวัดพระนคร

                       ศรีอยุธยา” ขึ้นในปี พ.ศ.2546 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลและวัฒนธรรมตะวันตก ตลอดจน

                       ผลกระทบต่างๆ  ที่มีส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงในด้านเนื้อหา  และรูปแบบของจิตรกรรมฝาผนังไทย

                       ตั้งแต่ระยะแรกจนกระทั่งถึงก่อนเปลี่ยนแปลงการปกครองใน  พ.ศ.2475  และเพื่อศึกษาเรื่องราว
                       รูปแบบ  การน าเสนองานจิตรกรรมฝาผนังวัดสุวรรณดาราราม  ผลของการศึกษาท าให้ทราบถึงการ

                       เปลี่ยนแปลงทางด้านรูปแบบ  ที่มีลักษณะปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยโดยน าเสนอความสมจริง  มีการ

                       น าเสนอรูปทรงที่ยังคงผสานอุดมคติแบบไทย  และรูปทรงที่แสดงความสมจริง  อีกทั้งยังมีการวิเคราะห์

                       ถึงรูปแบบสถาปัตยกรรมซึ่งมีการใช้หลักทัศนียวิทยาแบบตะวันตก ตลอดจนฉากธรรมชาติ และการใช้
                       สี  ประกอบกับมีการกล่าวถึงเทคนิคการเขียนภาพสีน ้ามันบนฝาผนัง  นอกจากนี้ด้านเนื้อหามีความ

                       เปลี่ยนแปลงไปเป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์  ซึ่งวาสนาสันนิษฐานว่า  การน าเสนอเนื้อหาเรื่องพระ

                       ราชพงศาวดารของพระบาทสมเด็จพระนเรศวรนั้น  น่าจะมีสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากความพยายามใน

                       การที่จะสร้างความรู้สึกชาตินิยมให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนชาวไทย ซึ่งในขณะนั้น อยู่ท่ามกลางกระแส

                       ของวัฒนธรรมตะวันตกที่ถาโถมเข้ามาในทุกด้าน

                              นิลุบล ขอรวมเดช ศึกษาวิจัยเรื่อง “อิทธิพลศิลปะตะวันตกในจิตรกรรมฝาผนัง ตอนมารผจญ

                       อุโบสถวัดสามแก้ว  จังหวัดชุมพร”  ในปี  พ.ศ.2552  มีวัตถุประสงค์เพื่อ  ศึกษาแนวคิด  รูปแบบ  และ

                       ลักษณะการแสดงออกทางศิลปะ  รวมถึงอิทธิพลตะวันตกที่ผสมผสานอยู่ในภาพจิตรกรรมฝาผนังวัด
                       สามแก้ว อ าเภอเมือง จังหวัดชุมพร ผลของการศึกษาพบว่า มีวิเคราะห์ถึงการรับเอาอิทธิพลศิลปะจาก

                       ยุโรปมาใช้ในการน าเสนอ  ทั้งกายวิภาค  ทัศนียวิทยา  และการใช้สี  ตลอดจนการจัดวางองค์ประกอบ

                       ต่างๆ อย่างไรก็ดี งานวิจัยของนิลุบล มุ่งศึกษาเฉพาะฉากตอนมารผจญที่อุโบสถวัดสามแก้วเพียงฉาก

                       ตอนเดียวเท่านั้น

                              มัทนียา  พงศ์สุวรรณ  จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ศึกษาวิจัยเรื่อง  “การน าเสนอแนวทาง

                       การสืบทอดพระปรีชาญาณของ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์” ในปี

                       พ.ศ.2553  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พระปรีชาญาณ  วิเคราะห์ปัจจัยเกื้อหนุน  และการน าเสนอ

                       แนวทางการสืบทอดพระปรีชาญาณแบบองค์รวมของ  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมพระยา
                       นริศรานุวัดติวงศ์  ภายใต้บริบทของสังคมไทยในปี  พ.ศ.  2406-2490  ในลักษณะของการศึกษาเชิง

                       ประวัติศาสตร์ ผลการวิจัยพบว่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรง
   78   79   80   81   82   83   84   85   86   87   88