Page 86 - kpi20858
P. 86
บทที่ 3
ศิลปกรรมที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะตะวันตก
ก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
ศิลปกรรมของไทยสะท้อนให้เห็นถึงองค์ความรู้อันทรงคุณค่า ซึ่งผ่านกาลเวลามายาว
นาน ปฏิบัติบ่มเพาะจนเกิดเป็นแนวทางตามขนบนิยม ทั้งนี้การสืบสานความรู้ลักษณะดังกล่าว
ส่งต่อกันแบบสกุลช่างจากครูสู่ศิษย์ และถึงแม้ว่าจะมีกรอบของขนบเป็นแนวทางให้ด าเนินรอยตาม
ทว่ามิได้ก่อให้เกิดความชะงักงันของพัฒนาการทางศิลปกรรมแต่อย่างใด ผลงานจิตรกรรมและ
ประติมากรรมก่อนรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่างแสดงให้เห็นถึงความช่าง
สังเกตและความรักในการเรียนรู้ของช่างหรือศิลปินไทย ที่รู้จักน าเอาความโดดเด่นของความเป็น
อื่นจากชาติตะวันตก เข้ามาผสมผสานกับความรู้ดั้งเดิม จนก่อให้เกิดการสร้างสรรค์รูปแบบ และ
ลักษณะการถ่ายทอดเนื้อหาที่แตกต่างไปจากเดิม
ประเทศสยามตระหนักได้ถึงอิทธิพลจากศิลปะตะวันตก ตั้งแต่ช่วงปลายสมัยอยุธยาในพุทธ
ศตวรรษที่ 22 เป็นต้นมา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์จึงมีการเปลี่ยนแปลงครั้งส าคัญในสมัยรัชกาลที่ 4
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ.2394-2411) ทรงเปิดรับศิลปะตะวันตกเข้ามาปรับ
55
ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมและการเมืองขณะนั้น ทั้งนี้เพื่อให้ชาติมหาอ านาจเกิดความยอมรับถึง
ความมีอารยะของสยามประเทศ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ประเทศไทยได้ท าสนธิสัญญา
กับอังกฤษ ในสมัยที่เซอร์ จอห์น บาวริง เป็นราชทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีเมื่อ พ.ศ.2398 เรียกว่า
สนธิสัญญาบาวริง (Bowring Treaty) สนธิสัญญาเหล่านั้นได้อนุญาตให้ชาวต่างประเทศเข้ามา
ติดต่อค้าขายโดยเสรี ชาวต่างประเทศจึงเดินทางเข้ามาอาศัยในประเทศไทย ประกอบกับจ านวน
มิชชันนารีชาวอเมริกันและคาทอลิกที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งมิชชันนารีต่างเข้ามาเผยแผ่ศาสนาทั้งใน
56
เขตพระนครและหัวเมืองต่างๆ จนท าให้วัฒนธรรมตะวันตกแพร่หลายเข้าไปถึงชนบทของไทย
55 วิบูลย์ ลี้สุวรรณ, “จิตรกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย,” ใน ศิลปกรรมล ้าค่าสมัยรัตนโกสินทร์ (กรุงเทพ: ราช
บัณฑิตยสถาน, 2549), 81.
56 คณะกรรมการโครงการสารานุกรมไทยฉบับเยาวชน, ความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรมกับชาติตะวันตก, เข้าถึง
เมื่อ 26 มิถุนายน 2562 เข้าถึงได้จากhttp://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=20&chap=2&page=
t20-2-infodetail03.html