Page 25 - kpi20863
P. 25
Daydé) ซึ่งเป็นบริษัทฝรั่งเศสที่ช่านาญการออกแบบก่อสร้างงานโยธาใหญ่ๆ ทั่วโลก เริ่มก่อสร้างเมื่อเดือน
33
ธันวาคม พ.ศ. 2465 แล้วเสร็จและมีพระราชพิธีเปิดสะพานในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2469
โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้่าเจ้าพระยาที่ส่าคัญยิ่งอีกโครงการหนึ่ง คือการสร้างสะพานพระ
พุทธยอดฟ้า ข้ามแม่น้่าเจ้าพระยาจากฝั่งพระนครที่ปลายถนนตรีเพ็ชร ไปยังฝั่งธนบุรีที่ใต้วัดประยุรวงศาวาส
(ภาพที่ 2-10) สะพานนี้เป็นส่วนหนึ่งของการสร้าง ปฐมบรมราชานุสรณ์ เพื่อเป็นที่ระลึกถึงวาระครบรอบ 150
ปีแห่งการสถาปนากรุงเทพมหานครและพระบรมราชจักรีวงศ์ในพ.ศ. 2475 โดยที่พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระ
ก่าแพงเพชรอัครโยธิน เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ทรงเสนอความเห็นต่อที่ประชุมคณะกรรมการ
สร้างปฐมบรมราชานุสรณ์ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 ว่านอกเหนือจากการสร้างพระบรมรูป
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกแล้ว ทรงเห็นว่า “ไม่มีอะไรดีไปกว่าที่จะสร้างสะพานข้ามแม่น้ า
เจ้าพระยาอีกสะพานหนึ่ง เป็นสะพานที่ 2 ส าหรับทางรถและคนเดิรในสูนย์กลางแห่งพระนครเพื่อเชื่อมการ
คมนาคมระวางจังหวัดพระนครและธนบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ใกล้พระนครและมีคนอาศัยอยู่เป็นอันมาก ในขณะ
34
เมื่อท าดังนี้ จะเท่ากับขยายพระนครขึ้นยิ่งกว่าเก่าอีกถึง 1 ใน 3” ทั้งนี้พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระก่าแพงเพชร
อัครโยธินทรงเห็นว่า “การมีสะพานอันงดงามข้ามแม่น้ าใหญ่ๆ เป็นการเชิดหน้าชูตาทุกนครที่ส าคัญ และจะไม่
เป็นที่สงสัยเลยว่า สะพานที่จะสร้างเมื่อคิดให้เป็นรูปร่างและสร้างในท าเลที่เหมาะด้วยแล้ว ก็จะเพิ่มพูลความ
งดงามของภูมิประเทศของกรุงเทพพระมหานครขึ้นอีกมาก จะเป็นที่ชื่นชมยินดีแห่งประชาชนชาวสยาม และ
จะเป็นเครื่องหมายสมัยด้วยอีกประการหนึ่ง และจะเป็นสิ่งที่เตือนใจพลเมืองให้ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระ
35
เจ้าอยู่หัวรัชชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นปฐมบรมกระษัตริยแห่งราชวงศจักรี”
ยิ่งไปกว่านั้น พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระก่าแพงเพชรอัครโยธินยังทรงย้่าว่าสะพานพระพุทธยอดฟ้านี้
จักมีประโยชน์อย่างยิ่ง ทั้งแก่การเดินทางไปมาระหว่างพระนครกับธนบุรี การเดินรถราง การประปา การบ่ารุง
การค้าขาย โดยที่ “ความสะดวกของการคมนาคมซึ่งได้จากสะพานนี้ จะท าให้เกิดความกระตือรือร้นในการ
town planning แลสร้างถนนกับการเชื่อมโยงรถไฟโดยรอบ”
36
ในวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2471 รัชกาลที่ 7 มีพระบรมราชวินิจฉัยให้สร้างสะพานดังกล่าว พร้อมกับ
พระบรมรูปรัชกาลที่ 1 ในบริเวณที่ใกล้สะพานนั้น โดยที่จะพระราชทานพระราชทรัพย์สองล้านบาทเป็นทุน
ประเดิมในการสร้างสะพาน และโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระก่าแพงเพชรอัครโยธิน เป็น
37
ผู้อ่านวยการสร้างสะพานดังกล่าว โดยที่พระเจ้าพี่ยาเธอพระองค์นั้นโปรดให้กองแบบแผน กรมรถไฟหลวง
ร่างโครงการ (general plan) ส่าหรับสะพานขึ้น จากนั้นจึงเชิญบริษัทรับเหมาออกแบบก่อสร้างสะพานจาก
ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมนี และเดนมาร์กมาส่ารวจพื้นที่ก่อสร้างในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2471
เพื่อให้แต่ละบริษัทออกแบบรายละเอียดและเสนอราคาค่าก่อสร้างในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2472 โดยที่โปรดให้
ตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อวินิจฉัยแบบและราคาค่าก่อสร้างของบริษัทเหล่านี้ โดยที่สุดท้ายได้ทรงเลือกแบบ
สะพานของบริษัทดอร์แมน ลอง (Dorman Long Co. Ltd.) ประเทศอังกฤษ ซึ่งได้เสนอแบบสะพาน
โครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่ แบ่งออกเป็นสามตอน แต่ละตอนวางบนตอม่อคอนกรีตเสริมเหล็ก สะพาน
ตอนกลางเปิดปิดได้ด้วยไฟฟ้า เพื่อให้เรือสินค้าขนาดใหญ่เดินผ่านได้ ที่เชิงสะพานมีเสาสูง (pylon) ทั้งสองข้าง
18