Page 23 - kpi20863
P. 23
เทพสรรค์ กฤดากร ผู้อ่านวยการศิลปากรสถาน ราชบัณฑิตยสภา และหลวงสาโรชรัตนนิมมานก์ (สาโรช สุข
ยางค์) สถาปนิกประจ่ากระทรวงธรรมการ เป็นต้น
เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะกรรมการวางแผนผังพระนครขึ้นแล้ว คณะกรรมการดังกล่าวได้ประชุมกัน
สามครั้งในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2471 อภิปรายสาระส่าคัญเกี่ยวกับการวางแผนผังพระนครสรุปได้เป็นสี่
ประเด็น คือ (1) ความจ่าเป็นในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเมือง ทั้งสถิติและประวัติความเป็นมาของเมือง
โดยการส่ารวจรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น (preliminary survey) (2) ความจ่าเป็นในการก่าหนดรัฐประศาสโน
บาย หรือรูปแบบการปกครองท้องถิ่น ว่าจะใช้ระบบเทศบาล (municipality) หรือไม่ (3) ความจ่าเป็นในการ
ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวต่างประเทศมาวางแผนผังพระนคร และ (4) ค่าอธิบายหลักแห่งการวางแผนผังพระนคร
28
(town-planning)
ส่าหรับค่าอธิบายหลักแห่งการวางแผนผังพระนครนั้น ที่ประชุมได้มอบหมายให้หม่อมเจ้าอิทธิเทพ
สรรค์ กฤดากร ไปร่างมาน่าเสนอ (ภาพที่ 2-08) มีสาระส่าคัญที่สะท้อนถึงความรู้ความเข้าใจของชนชั้นน่า
สยามในครั้งนั้นต่อความจ่าเป็นและวิธีการวางผังเมือง ส่าหรับหลักของการวางผังเมืองนั้น หม่อมเจ้าอิทธิเทพ
สรรค์ระบุว่าแบ่งออกได้เป็น 5 ข้อ คือ
“1) การกะที่อาศัยส าหรับพลเมือง และที่ท ามาหากิน
2) การจัดวิธีขนของใช้ในการบริโภคและการค้าขาย ทั้งขนเครื่องใช้ที่จะมาท าขึ้นเป็นสินค้า และ
สินค้าที่ท าเสร็จแล้วออกไปจ าหน่ายภายนอก
3) การขนโสโครกและสิ่งของที่เหลือใช้
4) การจัดการคมนาคมในร่วมพระนคร และระหว่างพระนครกับภายนอกให้รวดเร็วและสะดวกที่สุดที่
จะท าได้
5) การจัดการศึกษา การพยาบาล และช่วยเหลือ และการพักผ่อนอิริยาบถให้พลเมืองได้ผลทั่วถึงกัน”
หลักทั้ง 5 ข้อนี้ ถ้าจัดการวางแบบให้เรียบร้อยแล้ว ก็จะได้รับผลส่าคัญ 3 ประการ คือ ความอนามัย
ความสุข และความประหยัดทรัพย์ การวางแบบคือการออกแบบบนกระดาษ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขได้
ก่อนด่าเนินการก่อสร้างจริง การวางแบบนั้นหม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์เรียกว่า “การท่าแผนผังพระนคร”
(planning of a town) ซึ่งต้องกระท่าควบคู่ไปกับการก่าหนดกฎหมายข้อบังคับ ตลอดจนงบประมาณส่าหรับ
ท่าแผนผังนั้นให้เป็นจริง ซึ่งการก่าหนดกฎหมายและงบประมาณนี้ หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์เรียกว่า “การจัด
29
ระเบียบพระนคร” (town planning)
เมื่อได้สรุปหลักการและความจ่าเป็นที่จะต้องกระท่า เพื่อเตรียมการวางแผนผังพระนครแล้ว คณะ
กรรมการฯ ก็พบว่าการวางผังเมืองนั้นเกี่ยวข้องกับปัจจัยภายนอก และแนวรัฐประศาสโนบาย อันเป็นเรื่อง
ใหญ่พ้นอ่านาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ ไปมาก ในวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2471 สมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้า
ฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย จึงน่าบันทึกรายงานการประชุมขึ้นทูลเกล้าฯ
16