Page 24 - kpi20863
P. 24

ถวายรัชกาลที่ 7 เพื่อขอแนวพระราชด่าริในการด่าเนินงานต่อไป  และในวันรุ่งขึ้น รัชกาลที่ 7 มีพระราช

               กระแสในเรื่องนี้ ความว่า
                       “การที่จะท า town-planning จะต้องท าการสอบสวนอะไรใหญ่โต และตอบปัญหาที่ยังไม่มีใครตอบ

               ได้ เพราะคาดการภายหน้าตั้ง 20 ปีไม่ได้  ปัญหาเรื่อง municipality เปนต้องบอกว่าตอบไม่ได้ เพราะเรายัง

               ไม่พร้อมที่จะตอบ  เรายังพิจารณาเรื่องตั้ง municipality นี้อยู่ และยังจะต้องทดลองก่อนด้วย เพราะฉนั้น
               ตอบไม่ได้  ถ้าจะต้องคาดการล่วงหน้าอย่างลึกซึ้งก็ถึงกับจะต้องคิดว่า ต่อไปเมืองไทยเราจะมี parliament

               หรือไม่  จะได้คิดกะที่ไว้ส าหรับสร้าง parliament!  เมื่อจะต้องกะการล่วงหน้ากันถึงเพียงนั้นแล้วก็น่าจะต้อง

               เลิกคิดท า town-planning เพราะเราไม่สามารถที่จะคาด political development ของเราได้แน่นอน
               เพราะเมืองไทยเรายังไม่มี stable political fabric หรือ political institution ที่แน่นอน ยังเปลี่ยนเร็วมาก

               จนแม้จะคาดการไป 10 ปีข้างหน้าก็ท าไม่ได้

                       โดยมากพระนครที่เก่าๆ เขาก็ต้องรื้อสร้างใหม่กันหลายๆ ครั้ง  London ถูกรื้อสร้างใหม่ไม่รู้ว่ากี่ครั้ง
               เดี๋ยวนี้ก็ยังรื้อกันอยู่ จ าต้องดัดแปลงของเก่าไปทีละเล็กละน้อย

                       กรรมการนี้ร้องว่ายังท าอะไรไม่ได้ ต้องรู้นั่นรู้นี่ ที่จริงถ้าหาผู้ช านาญฝรั่งเข้ามาเสียชั่วคราว อย่างหา

               ผู้ช านาญการทดน้ า เห็นจะดีกว่าอย่างอื่น
                                                                                   30
                       ถ้าเรายังท า town-planning ไม่ได้ ก็ขอให้ท า planning-town กันบ้าง”
                       พระราชกระแสดังกล่าวชี้ให้เห็นว่า องค์พระประมุขทรงเล็งเห็นความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองการ

               ปกครองกับการวางผังเมือง ตลอดจนความไม่พร้อมที่จะด่าเนินการทั้งหลายตามระเบียบวิธีและหลักการที่
               คณะกรรมการวางแผนผังพระนครเสนอมา จากนั้นรัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้น่าบันทึกรายงานการประชุม

                                                                    31
               ของคณะกรรมการฯ เข้าเสนอต่ออภิรัฐมนตรีสภาในโอกาสต่อไป

                       2.2.3 สะพานกับการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมของเมือง

                       แม้แนวความคิดเกี่ยวกับการวางแผนผังพระนครจะยุติลงในพ.ศ. 2471 แต่รัฐบาลสยามก็เล็งเห็น

               ความส่าคัญของการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคม เพื่ออ่านวยความสะดวกในการสัญจรติดต่อ ทั้งภายในเมือง
               กรุงเทพฯ เอง และระหว่างเมืองกรุงเทพฯ กับปริมณฑล

                       โครงการก่อสร้างที่ส่าคัญที่สุดโครงการหนึ่ง คือการสร้างสะพานพระราม 6 อันเป็นสะพานข้ามแม่น้่า

               เจ้าพระยาที่บางซ่อน ทางตอนเหนือของพระนคร (ภาพที่ 2-09) โครงการนี้เกิดขึ้นในพ.ศ. 2460 ในรัชกาลที่ 6
               เป็นส่วนหนึ่งของการเชื่อมโยงรถไฟสายเหนือกับรถไฟสายใต้ของกรมรถไฟหลวงแห่งกรุงสยาม ให้มีขนาด

               ความกว้างรางเท่ากัน มีศูนย์กลางการเดินรถที่สถานีรถไฟกรุงเทพฯ ที่หัวล่าโพง และมีโรงซ่อมรถไฟที่ต่าบล

               มักกะสัน  สะพานพระราม 6 นี้เป็นโครงถักเหล็ก 5 ช่วง พาดบนตอม่อคอนกรีตขนาดใหญ่ “รวมความยาว
               ของสะพาน 443.60 เมตร์ ขนาดกว้างของสะพานนั้น 10 เมตร์ ปันเตรียมไว้ส่วนหนึ่งส าหรับเปนทางหลวง ให้

               ยวดยานทุกชนิดผ่านได้กว้าง 5 เมตร์  อีกส่วนหนึ่งเปนทางรถไฟ กับนอกจากนี้มีทางคนเดินท้าวสองข้าง

                                            32
               สะพาน ข้างหนึ่งกว้าง 1 เมตร์ครึ่ง”  สะพานนี้ออกแบบและก่อสร้างโดยบริษัทไดเด (Les établissements

                                                            17
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29