Page 47 - kpi20863
P. 47
(Arthur Beresford Pyte) และเรียนวิชาออกแบบและการตกแต่ง (Design & Ornament) กับศาสตราจารย์วิ
19
ลเลียม เลธาบี (William Lethaby) ผู้มีบทบาทส าคัญในการพัฒนารูปแบบ Arts and Craft Movement
ในประเทศอังกฤษ อันเป็นปฏิกิริยาต่อความฟูมฟายของสถาปัตยกรรมวิคทอเรียน และระบบอุตสาหกรรม
สมัยใหม่ในการก่อสร้าง ตามแนวความคิดของวิลเลียม มอร์ริส (William Morris) และจอห์น รัสกิน (John
20
Ruskin) โดยรื้อฟื้นรูปแบบสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโบราณของอังกฤษเอง ก่อสร้างโดยฝีมือช่างอันละเอียด
ประณีต หากแฝงงานระบบและโครงสร้างสมัยใหม่ไว้ภายใน ดังปรากฏชัดในการตกแต่งผนังภายนอกอาคาร
ด้วยไม้ ให้ดูคล้ายโครงสร้างครึ่งตึกครึ่งไม้ (half-timbering) ของสถาปัตยกรรมทิวดอร์ ทั้งที่โครงสร้างที่
แท้จริงเป็นโครงสร้างเสาและคานคอนกรีตเสริมเหล็กสมัยใหม่ที่ซ่อนอยู่ภายใน
ความนิยมในสถาปัตยกรรมแบบทิวดอร์ที่รื้อฟื้นขึ้นใหม่นี้ ท าให้ผลงานสถาปัตยกรรมของนายฮีลีย์มี
แนวทางที่ค่อนข้างชัดเจน ต่างไปจากงานของกลุ่มช่างสถาปนิกชาวอิตาเลียนในสยาม ที่ผลิตผลงานจ านวน
มากกว่า และมีรูปแบบสถาปัตยกรรมอันหลากหลาย อย่างไรก็ดี นายฮีลีย์สามารถออกแบบอาคารรูปแบบ
ตะวันตกอื่นๆ ที่มิใช่แบบทิวดอร์ที่รื้อฟื้นขึ้นใหม่ได้เช่นกัน ดังปรากฏในต าหนักใหญ่ วังเทวะเวสม์ และอาคาร
สโมสร ราชกรีฑาสโมสร เป็นต้น และที่สุดแล้วอาคารทุกหลังก็ปรากฏความรู้ความเข้าใจในสภาพภูมิอากาศ
ตลอดจนคติความเชื่อ แบบแผนความเป็นอยู่ของไทย ดังปรากฏในการวางผังอาคารแบบมีเฉลียงรอบ การท า
หลังคาผืนใหญ่สูงชัน ทิ้งชายคายื่นยาว การท าห้องพระไว้เหนือที่เทียบรถยนต์ เป็นต้น
ในช่วงรัชกาลที่ 7 นายฮีลีย์เป็นทั้งสถาปนิกและนักธุรกิจ ด าเนินกิจการบริษัทสยามอาคีเต๊กซ์ อิมปอร์
ตสืบมา นอกจากนี้ยังปรากฏหลักฐานว่านายฮีลีย์ได้ลงทุนในกิจการอสังหาริมทรัพย์ สร้างโรงภาพยนตร์
โอเดียนขึ้นที่บริเวณถนนเจริญกรุง ใกล้หัวถนนเยาวราช นอกจากนี้ยังสร้างตึกแถวให้เช่าจ านวนประมาณ 20
คูหา ในบริเวณใกล้เคียงกับโรงภาพยนตร์อีกด้วย
ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 กองทัพญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกหลายแห่งในประเทศไทย โดยอ้างว่าจะขอ
ใช้ไทยเป็นทางผ่านไปท าสงครามมหาเอเชียบูรพาในพม่าและมลายู ต่อมาในวันที่ 10 ธันวาคม รัฐบาลไทย
ประกาศให้ความร่วมมือกับกองทัพญี่ปุ่น และประกาศกฏอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร ในวันเดียวกันนั้นเอง
นายฮีลีย์ก็ถูกกักบริเวณให้อยู่แต่ในบ้านที่ซอยเทียนเซี้ยง ถนนสาธร จนถึงวันที่ 23 ธันวาคม จึงถูกย้ายไปคุมขัง
ที่ค่ายกักกัน มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง เป็นเวลาเกือบสองปี จนถึงราวเดือนเมษายน พ.ศ.
2486 ทางการไทยเห็นว่านายฮีลีย์เป็นสถาปนิก จึงมอบหมายให้ออกแบบร่างส าหรับโครงการโรงพยาบาลของ
รัฐบาล นายฮีลีย์ต่อรองว่าการท างานออกแบบในค่ายกักกันนั้นไม่สะดวก ในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2486
นายฮีลีย์จึงได้ออกจากค่าย มาท างานอยู่ที่บ้านเลขที่ 83 ซอยนานาเหนือ โดยมีต ารวจเฝ้าคุมตัวอยู่ตลอดเวลา
เป็นเวลาอีกเกือบสองปี ต่อมาในปีพ.ศ. 2488 ได้ย้ายไปอยู่บ้านที่จังหวัดสมุทรสงคราม จนกระทั่งสงครามโลก
21
ครั้งที่ 2 ยุติลง นายฮีลีย์จึงได้รับอิสรภาพ
เมื่อสงครามยุติลง นายฮีลีย์ได้พยายามรื้อฟื้นกิจการ ตลอดจนทรัพย์สินต่างๆ ที่ตนเคยมีในช่วงก่อน
สงคราม โดยในวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2491 นายฮีลีย์ได้ยื่นค าร้องต่อคณะกรรมการควบคุมและจัดการ
กิจการทรัพย์สินของคนต่างด้าวบางจ าพวกในภาวะคับขัน ขอรับเงินชดเชยแทนทรัพย์สินที่สูญเสียไป ได้แก่
63