Page 48 - kpi20863
P. 48

หุ้นในกิจการต่างๆ เครื่องเรือน เครื่องใช้ รถยนต์ เรือยนต์ ปืนพก เงินสด เงินฝาก ตลอดจนค่าเช่าโรง

               ภาพยนตร์และตึกแถว รวมเป็นเงินทั้งสิ้นถึง 2,194,697 บาท 8 สตางค์นอกจากนี้ยังขอรับอสังหาริมทรัพย์
                                                                       22
               ต่างๆ ได้แก่โรงภาพยนตร์โอเดียนและตึกแถวคืนจากทางการอีกด้วย
                                                                                            23
                       นายฮีลีย์ถึงแก่กรรมที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2493 สิริอายุได้ 71 ปี

               3.5 การตั้งสมาคมวิชาชีพและวารสารของสมาคมวิชาชีพ

                       นอกเหนือจากสถาปนิก องค์ประกอบส าคัญอีกประการหนึ่งของความเปลี่ยนแปลงในสถาปัตยกรรม

               ในสมัยรัชกาลที่ 7 และรัชกาลต่อมา คือสมาคมวิชาชีพ โดยที่มีการตั้งสมาคมสถาปนิกสยามขึ้นในวันที่ 18
               เมษายน พ.ศ. 2477

                       อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ได้มีการตั้งสมาคมวิชาชีพที่เกี่ยวเนื่องกันมาก่อนนานแล้ว คือการตั้งสมาคมนาย

               ช่างแห่งกรุงสยาม (Engineering Society of Siam) ขึ้นในราวพ.ศ. 2450 ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 (ภาพที่ 3-
               16) เพื่อเป็นสมาคมแลกเปลี่ยนความรู้ในวิชาวิศวกรรมศาสตร์และศาสตร์เกี่ยวเนื่อง มีการจัดกิจกรรมดูงาน

               การก่อสร้างใหญ่ๆ ที่น่าสนใจในพระนคร เป็นต้น  ถึงรัชกาลที่ 7 สมาคมนี้ก็ยังคงด าเนินกิจการอยู่ โดยมี

               สมาชิกทั้งชาวต่างประเทศและชาวไทย โดยที่พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระก าแพงเพชรอัครโยธิน ทรงเป็นสมาชิก
               ส าคัญพระองค์หนึ่ง ด้วยเคยได้ทรงศึกษาวิชาวิศวกรรมที่ทรินิตี คอลเลจ (Trinity College) มหาวิทยาลัยเคม

               บริดจ์ (Cambridge University) และวิชาทหารช่างที่ราชวิทยาลัยทหารช่าง (Royal School of Military

               Engineering) ที่เมืองแชทแฮม (Chatham) จนได้ทรงเป็นสมาชิก M.I.C.E. (Member of the Institution of
               Civil Engineer) ประเทศอังกฤษ ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2472 พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมพระก าแพงเพชรอัครโยธิน

               จึงมีหนังสือกราบบังคมทูลเชิญให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นองค์อุปถัมภ์สมาคมนายช่างแห่งกรุง

               สยาม เพราะเหตุว่า “การช่างเป็นวิชชาที่พอพระราชหฤทัยอย่างหนึ่ง  ในการที่ทรงเป็นประมุขแห่งชาติไทย มี
               พระราชหฤทัยหวังบ ารุงการช่างในหมู่คนไทยให้อยู่ในฐานะที่ดีด้วย” และสมาคมนายช่างแห่งกรุงสยามก็มี

               วัตถุประสงค์ที่จะ “มุ่งรักษาฐานะและความรู้และสอดส่องความประพฤติของนายช่างประเทศสยามให้เป็น

               หลักมั่นคงส าหรับประโยชน์ในการก่อสร้าง และการเครื่องกลเครื่องยนต์ในพระราชอาณาจักรสยามให้ได้สู่
               ฐานะเทียบกับต่างประเทศ” ทั้งนี้รัชกาลที่ 7 ทรงรับสมาคมนายช่างฯ ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และทรงรับ

                                                                                             24
               เครื่องหมายสมาคมที่คณะกรรมการทูลเกล้าฯ ถวายที่วังศุโขทัย ในวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2472

                       ห้าปีต่อมา สมาคมสถาปนิกสยามจึงก่อตั้งขึ้น โดยมี “ผู้ริเริ่ม” 7 ท่าน คือ พระสาโรชรัตนนิมมานก์
               (สาโรช สุขยางค์)  หลวงบุรกรรมโกวิท (ล้อก ดิษยนิยม) นายนารถ โพธิประสาท หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์

               กฤดากร  หม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ และนายศิววงศ์ กุญชร ร่วมกันก่อตั้งขึ้น

               ในวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2477 โดย “ผู้ริเริ่ม” 7 ท่านนั้นเป็นกรรมการชั่วคราวมาจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม ปี
               เดียวกัน มีการประชุมใหญ่ครั้งแรกที่ศิลปากรสถาน (ภาพที่ 3-18 และ 3-19)  จึงมีการเลือกกรรมการ

               อ านวยการ นายกสมาคม และเหรัญญิก โดยที่ในขณะนั้นมีสมาชิกสามัญ 8 คน  สมาชิกสมทบ 3 คน และอนุ

               สมาชิก 21 คน โดยที่สมาคม “ขอเชิญผู้ที่มีอาชีพเป็นสถาปนิกเข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคม เพื่อช่วยการ

                                                            64
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53