Page 49 - kpi20863
P. 49

ส่งเสริมวิชาสถาปัตยกรรมให้เจริญ และให้เป็นที่รู้จักแก่คนทั่วไป ทั้งเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในระหว่างสมาชิก

                       25
               ด้วยกัน”
                       การประชุมในครั้งนั้นได้วางแนวทางการด าเนินงานสมาคม เช่น การตั้งคณะอนุกรรมการในด้านต่างๆ

               การจัดกิจกรรมพบปะสนทนา แลกเปลี่ยนความรู้ การสร้างหลักสูตรส าหรับสมาชิกสมทบเพื่อเพิ่มวิทยฐานะ

               เป็นต้น นอกจากนี้หม่อมเจ้าอิทธิเทพสรรค์ยังทรงเสนอให้สมาคมกราบบังคมทูลเชิญรัชกาลที่ 7 เป็นองค์
               อุปถัมภ์ และทูลเชิญสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ เป็น “พระอาจารย์” ของ

               สมาคม อีกด้วย
                            26

                       องค์ประกอบที่ส าคัญอีกประการหนึ่ง คือการออกวารสารของสมาคมวิชาชีพ โดยที่ในขณะนั้นสมาคม
               นายช่างแห่งกรุงสยาม ได้ออกวารสาร ข่าวช่าง มาตั้งแต่พ.ศ. 2472 แล้ว (ภาพที่ 3-20) มีเนื้อหาเผยแพร่

               ความรู้เกี่ยวกับวิศวกรรมศาสตร์ สถาปัตยกรรมศาสตร์ และศาสตร์เกี่ยวเนื่อง สมาคมสถาปนิกสยามจึงออก

               วารสาร จดหมายเหตุสมาคมสถาปนิกสยาม ขึ้นในพ.ศ. 2477 นั้นเอง (ภาพที่ 3-21) ในเบื้องต้นมีเนื้อหาว่า
               ด้วยรายงานการประชุมคณะกรรมการ ข่าวในแวดวงสถาปนิก และบทความวิชาการเกี่ยวกับสถาปัตยกรรม

               วารสารนี้ออกต่อเนื่องมาประมาณสองปี จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นวารสารอาษา ของสมาคมสถาปนิกสยามในพระ

               บรมราชูปถัมภ์ ซึ่งได้ออกต่อเนื่องกันมาเป็นเวลาหลายสิบปี




               3.6 การเรียนการสอนวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ในสยาม

                       การศึกษาวิชาช่างในสยามตามแผนการศึกษาสมัยใหม่นั้นเริ่มต้นขึ้นในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการ
               ตั้ง สโมสรช่าง ขึ้นที่สามัคคยาจารย์สถาน เพื่อให้ความรู้วิชาช่างต่างๆ ได้แก่ ช่างเขียน ช่างปั้น และช่าง

               ก่อสร้าง ต่อมาเมื่อมีผู้สนใจเข้าเรียนทวีจ านวนมากขึ้น กระทรวงธรรมการจึงเปิดโรงเรียนฝึกหัดการหัตถกรรม

               ขึ้นที่ถนนตรีเพชร และทดลองจัดงานแสดงศิลปหัตถกรรมนักเรียนขึ้นในพ.ศ. 2455 จากนั้นจึงได้ใช้ทุนที่
               ข้าราชการกระทรวงธรรมการได้เรี่ยรายกันในคราวที่รัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคต สมทบกับงบประมาณกระทรวง

               ธรรมการ รวมเป็นเงิน 29,000 บาท สร้าง โรงเรียนเพาะช่าง ขึ้น เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ในรัชกาลที่ 5

               และเพื่อว่า “วิชาช่างที่จะได้เพาะปลูกขึ้นในโรงเรียนนี้ คงจะแตกดอกออกผลงอกงามให้เปนประโยชน์แก่
               ประชาชนในบ้านเมืองโดยไม่รู้สิ้นสุด” ตามนามโรงเรียนที่รัชกาลที่ 6 พระราชทานนั้น  โดยในคราวที่เสด็จ
                                                                                     27
               พระราชด าเนินทรงเปิดโรงเรียน เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2456 นั้น รัชกาลที่ 6 มีพระราชด ารัส ความตอน

               หนึ่งว่า
                       “วิชาช่างแลฝีมือการช่าง ทั้งสองอย่างนี้ เปนเครื่องแสดงความงามแลความประณีต ซึ่งจะมีได้เปนได้

               แต่ในประเทศบ้านเมืองที่สงบราบคาบ แลมีการปกครองเปนอันดี ไพร่ฟ้าประชาชนได้รับความสงบร่มเย็นเพื่อ

               ประกอบการอาชีวะได้สะดวก จึงมีเวลาคิดแลบ ารุงความงามความประณีตให้เปนที่น่าสรรเสริญ . . . ความ
               เจริญในวิชาช่างจึงเปนเครื่องวัดความเจริญแห่งชาติ”




                                                            65
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54