Page 50 - kpi20863
P. 50
“ชาติไทยเราได้เคยถึงซึ่งความเจริญมานานแล้ว ดังปรากฏด้วยระเบียบแบบแผนแลต านานของเรา
แต่บางสมัยในพงษาวดารของเราได้มีข้าศึกสัตรูเข้ามาย่ ายีท าลายถาวรวัตถุต่างๆ ของเรา แลท าความทรุดโทรม
ให้เปนอันมาก ครั้นต่อมาเมื่อเราต้องด าเนิรตามสมัยใหม่ วิชาช่างของเราเราก็ชวนจะลืมเสียหมด ไปหลงเพลิน
แต่จะเอาอย่างของคนอื่นเขาถ่ายเดียว ผลที่สุดก็คือกรุงเทพฯ เดี๋ยวนี้เต็มไปด้วยสถานที่อันเปนเครื่องร าคาญตา
ต่างๆ แท้จริงวิชาช่างเปนวิชาพื้นเมือง จะคอยแต่เอาอย่างของคนอื่นถ่ายเดียวไม่ได้ เพราะงามของเขาไม่
เหมาะแก่ตาเรา แลฐานะของเขากับของเราต่างกัน ที่ถูกนั้นควรเราจะแก้ไขพื้นวิชาของเราเองให้ดีขึ้นตาม
ความรู้ แลวัตถุอันเกิดขึ้นใหม่ตามสมัย . . . เปรียบเหมือนเอาพรรณพืชของเราเองมาปลูกลงในพื้นแผ่นดินของ
เรา แล้วบ ารุงให้เติบโตงอกงาม ดีกว่าที่จะไปเอาพรรณไม้ต่างประเทศมาปลูกลงในพื้นแผ่นดินของเราอันไม่
28
เหมาะกัน”
กิจการโรงเรียนเพาะช่างพัฒนาไปโดยล าดับ ทั้งวิชาช่างเขียน ช่างปั้น และช่างก่อสร้าง ตามหลักสูตร
ที่นายเอ็ดเวิร์ด ฮีลีย์ (Edward Healey) สถาปนิกชาวอังกฤษ และครูใหญ่คนแรกของโรงเรียน ได้วางไว้ ตาม
แนวทางการเรียนการสอนแบบวิชาอาชีวศึกษา (Vocational Education) ของอังกฤษ ที่เน้นความส าคัญของ
หัตถกรรม การผลิตเชิงพาณิชย์ ในแนวทางของ Arts and Crafts Movement อย่างไรก็ดี นายฮีลีย์เป็น
ครูใหญ่ได้ไม่นานก็ลาออก กระทรวงธรรมการจึงต้องด าเนินการจัดหาครูใหญ่มาทดแทน ท้ายที่สุดในช่วงปลาย
รัชกาลที่ 6 จึงให้ทุนแก่นายนารถ โพธิประสาท ไปศึกษาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยลิเวอร์พูล
(University of Liverpool) ประเทศอังกฤษ และเมื่อส าเร็จการศึกษา เดินทางกลับมารับราชการ ณ ประเทศ
สยามในพ.ศ. 2473 ท่านได้รับการบรรจุเป็นอาจารย์โรงเรียนเพาะช่าง ตามสัญญาที่ท่านได้ท าไว้กับกระทรวง
ธรรมการ
โรงเรียนเพาะช่างในขณะนั้น มีการสอนวิชาช่างทุกชนิดเทียบเท่ากับช่างสิบหมู่ที่เรียกกันในปัจจุบัน
ซึ่งไม่มีวิชาช่างที่เกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารโดยตรง ซึ่งไม่ตรงกับวิชาที่อาจารย์นารถได้ศึกษามา ท่านจึงได้
ทดลองวางหลักสูตรวิชาสถาปัตยกรรม และตั้งแผนกสาปัตยกรรมขึ้นในโรงเรียนเพาะช่าง คัดเลือกนักเรียนที่
เรียนวาดเขียนและมีแววว่ามีความถนัดพอสมควรที่สนใจในเรื่องสถาปัตยกรรมมาทดสอบเพื่อคัดเลือก โดย
อาจารย์นารถเป็นผู้อ านวยการสอบสอนเอง ผลการทดลองเรียนพบว่า นักเรียนมีความสามารถให้ด้านศิลปะ
ของวิชาสถาปัตยกรรม แต่ยังมีพื้นความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ไม่พอเพียง จึงต้องแก้ไขโดยรับสมัครผู้ที่จบชั้น
มัธยมบริบูรณ์และมีพื้นฐานทางวาดเขียนด้วย หลังจากนั้นจึงมีมติให้เปิดการเรียนการสอนในระดับ
มหาวิทยาลัยต่อไป กระทรวงธรรมการจึงมีค าสั่งให้โอนแผนกสถาปัตยกรรมโรงเรียนเพาะช่างไปสมทบอยู่กับ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งขณะนั้นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในประเทศไทย และได้ท าการคัดเลือก
นักเรียนที่ส าเร็จการศึกษาขั้นมัธยมจากโครงการนี้ 11 คน เข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาจนได้รับ
อนุปริญญาใน พ.ศ. 2477
ขณะเดียวกัน ในวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2476 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการยกฐานะเป็น
กรมหนึ่งในกระทรวงธรรมการ และวันที่ 23 ในเดือนเดียวกัน มีการจัดระเบียบกรม มีผลให้แผนก
สถาปัตยกรรมเป็นหนึ่งในสองแผนกของคณะวิศวกรรมศาสตร์ (อีกแผนกหนึ่งคือ แผนกวิศวกรรม) การเรียน
66