Page 64 - kpi20863
P. 64
4.2.9 โรงราชรถ พิพิธภัณฑสถาน
โรงราชรถ เป็นอาคารที่เก็บรักษาราชรถในบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคลมาแต่เดิม ต่อมาใน
รัชกาลที่ 7 เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชวังบวรสถานมงคลเป็นพิพิธภัณฑสถานส าหรับพระนครในพ.ศ.
2471 โรงราชรถของเดิมซึ่งเป็นโครงสร้างไม้มุงสังกะสีช ารุดทรุดโทรมมาก ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2471 สม
เด็จฯ กรมพระด ารงราชานุภาพ นายกราชบัณฑิตยสภาจึงทูลขอให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนริศรานุวัดติวงศ์
อุปนายกแผนกศิลปากรฯ ก ากับการให้นายช่างแผนกศิลปากรคิดแบบโรงราชรถขึ้นใหม่ด้วยเครื่องคอนกรีตให้
เป็นของถาวร ประมาณการค่าก่อสร้าง 51,500 บาท (ภาพที่ 4-29 ถึง 4-32) โดยให้มีรูปทรงคล้ายโรงราชรถ
เดิมซึ่งเป็นโครงสร้างไม้ ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับต าแหน่งที่ตั้งเดิม โดยเลื่อนอาคารไปให้เสมอหน้ากับพระที่นั่งอิศรา
วินิจฉัย โรงราชรถใหม่นี้เป็นอาคารชั้นเดียว มีผังรูปคล้ายตัวไอ (I) ในภาษาอังกฤษ คือประกอบด้วยห้องโถง
สูงที่ไว้พระมหาพิไชยราชรถสองห้อง แต่ละห้องกว้าง 9 เมตร ยาว 20.10 เมตร สูงถึงขื่อประมาณ 12 เมตร
เพื่อให้จอดพระมหาพิไชยราชรถได้ ห้องโถงคู่นี้มีห้องโถงเชื่อม ขนาดกว้าง 17 เมตร ยาว 18 เมตร โครงสร้าง
พื้น เสา และจันทันเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ค านวณให้เล็กและเรียวที่สุดทว่ามั่นคงแข็งแรงและทนไฟ โครง
หลังคาเป็นโครงถัก (truss) คอนกรีตเสริมเหล็ก โดยในเบื้องต้นสถาปนิกออกแบบให้ท้องโครงถักนั้นโค้ง ต่อมา
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2472 จึงปรับแก้แบบเป็นจั่วแหลม เพื่อให้ประหยัดโครงสร้าง และให้รับกับหลังคาจั่ว
ที่โครงถักนั้นรองรับอยู่ เมื่อการออกแบบโรงราชรถใหม่แล้วเสร็จ ศิลปากรสถานจึงเริ่มการก่อสร้าง โดยมีนาย
เอ็น. สเปรอตตี (N. Sperotti) ช่างชาวอิตาเลียนเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง งบประมาณ 34,800 บาท การก่อสร้าง
20
ใช้เวลา 7 เพียงเดือนจึงแล้วเสร็จ ในช่วงปลายพ.ศ. 2472
4.2.10 หอระฆังและหอนาฬิกา วชิราวุธวิทยาลัย
หอระฆังและหอนาฬิกา วชิราวุธวิทยาลัย (ภาพที่ 4-33 และ 4-34) สร้างขึ้นตามด าริของพระยาปรีชา
นุศาสน์ (เสริญ ปันยารชุน) ผู้บังคับการโรงเรียนเมื่อพ.ศ. 2469 ซึ่งได้พบนาฬิกาเรือนใหญ่ ผลิตในยุโรป ซึ่งเคย
เป็นนาฬิกาติดบนหอประชุมของราชวิทยาลัยมาก่อน จึงติดต่อผู้ผลิตให้แก้เป็นนาฬิกา 4 หน้าปัด เพื่อติดตั้งบน
21
หอนาฬิกาที่จะสร้างขึ้นบนเนินแห่งหนึ่งในบริเวณโรงเรียนต่อไป พระยาปรีชานุสาสน์จึงได้ขอให้พระสาโรช
รัตนนิมานก์ (สาโรช สุขยางค์) และหลวงวิศาลศิลปกรรม (เชื้อ ปัทมะจินดา) ร่วมกันออกแบบหอนาฬิกาพร้อม
ระฆังรูปสี่เหลี่ยมมีลวดลายแบบสุโขทัย จะสร้างขึ้นที่บนเนินหลังสนามฟุตบอลใกล้กึ่งกลางโรงเรียน เมื่อได้รับ
พระบรมราชานุญาตให้สร้างหอระฆังและหอนาฬิกาในพ.ศ.2472 แล้ว ทางโรงเรียนจึงว่าจ้างให้ยี่ห้อกวงฮ้อง
เส็ง เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง ด้วยงบประมาณ 4,900 บาท และให้ห้างเอส.เอ.บี. ปรับแก้หน้าปัดนาฬิกาเป็นสี่
ด้านพร้อมติดตั้ง ในงบประมาณ 1,750 บาท ก่อสร้างแล้วเสร็จ และมีพิธีเปิดหอระฆังและหอนาฬิกา ในคราว
ที่รัชกาลที่ 7 เสด็จพระราชด าเนินมาในงานประจ าปีของโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2473
หอระฆังและหอนาฬิกา วชิราวุธวิทยาลัยมีลักษณะเด่นที่เป็นสถาปัตยกรรมไทยเครื่องคอนกรีต ตัว
อาคารแบ่งเป็นสองส่วน คือส่วนฐานชั้นล่าง และส่วนหอชั้นบน ซึ่งออกแบบให้สูงกว่าส่วนฐาน หอชั้นบน
93