Page 66 - kpi20863
P. 66

ประภากรวงษ์จึงตั้งบริษัท Société Hoteliére du Siam ขึ้นเพื่อระดมทุนสร้างอาคารโรงแรมใหม่ให้ใหญ่โต

               และทันสมัย โดยมอบหมายให้นายเฟาสโต ปิสโตโน (Fausto Pistono) สถาปนิกชาวอิตาเลียนเป็นผู้ออกแบบ
               นายจี. อาเนสิ (G. Anesi) และนายจี. ลาวิซซารี (G. Lavizzari) เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง (ภาพที่ 4-37 และ 4-

               38)

                       โรงแรมโทรคาเดโรเป็นอาคารสูงสี่ชั้น ยาว 61.30 เมตร สูง 20 เมตร (ที่มุขหน้าสูง 22 เมตร)
               โครงสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กวางบนฐานรากแผ่ รองรับด้วยเสาเข็มไม้ โครงสร้างพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก

               ซ้อนทับด้วยอิฐอย่างบาง (thin bricks) เว้นช่องว่างตรงกลางเพื่อกันเสียงและเดินท่อ ปิดผิวพื้นด้วยไม้สัก ผนัง

               ก่อด้วยอิฐมอญหนาเพียง 14 เซนติเมตร เพราะน้ าหนักอาคารถ่ายแรงไปตามเสาและคานคอนกรีตเสริมเหล็ก
               แล้ว แม้ภายนอกอาคารจะดูหนักแน่นมั่นคง แต่จริงๆ แล้วน้ าหนักเบากว่าอาคารในสมัยนั้นมาก

                       อาคารโรงแรมโทรคาเดโรมีผังรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเรียวยาว มีโถงทางเข้าที่กึ่งกลางอาคาร สถาปนิกวาง

               แนวทางเดินไว้ด้านหลังตลอดแนวอาคาร มีบันไดหลักและลิฟท์ ขึ้นจากโถงกลางไปสู่ชั้นอื่นๆ ส่วนที่ปลาย
               อาคารสองข้างมีบันไดบริการ  ชั้นล่างมีส่วนต้อนรับและห้องผู้จัดการ ด้านตะวันตกมีบาร์และบิลเลียด ส่วน

               ด้านตะวันออกมีห้องอาหาร ห้องเตรียมอาหาร และครัว  ชั้นที่ 2 – 4 เป็นห้องพัก โดยที่ชั้น 2 เป็นห้องชุด

               พิเศษ แต่ละชุดมีห้องโถงเล็ก ห้องเก็บสัมภาระ ห้องน้ า ห้องนอน และห้องนั่งเล่น ส่วนชั้นที่ 3 และ 4 เป็น
               ห้องพักแบบสามัญ  เครื่องเรือนเครื่องตกแต่งออกแบบโดยนายปิสโตโนทั้งหมด

                       ตามที่หนังสือพิมพ์บางกอกไทมส์ได้รายงานข่าวการเปิดโรงแรมโทรคาเดโรใหม่ในเดือนกันยายน พ.ศ.

               2472 อาคารนี้เป็นอาคารสมัยใหม่ (modern and up-to-date) แต่มีรูปแบบอิตาเลียนเรอเนสซองส์ (Italian
                                   24
               Renaissance in style)  รูปทรงอาคารด้านหน้ายังคงวิธีออกแบบแบบคลาสสิค คือแบ่งอาคารออกเป็นฐาน
               ตัว และเรือนยอด โดยส่วน ฐาน คือชั้นที่ 1 เน้นด้วยช่องเปิดโค้ง (arch) ตลอดความยาวอาคาร ส่วน ตัว คือ

               ชั้นที่ 2 – 4 ซึ่งสถาปนิกออกแบบให้มีเฉลียงห้องพักยื่นออกมาเป็นจังหวะ ส่วนเรือนยอดคือขอบผนังบังผืน
               หลังคา (parapet) มีเส้นบัวยาวตลอดอาคารเน้นให้เห็นเส้นแบ่งระหว่างส่วนฐาน ตัว และเรือนยอดที่กล่าวมา

               นี้ นับว่าเป็นอาคารสมัยใหม่ที่ยังคงหลักการจัดวางองค์ประกอบรูปด้านอาคารอย่างประวัติศาสตร์นิยม ทว่า

               เลือกใช้องค์ประกอบเฉพาะบางประการ และลดทอนเครื่องตกแต่งให้น้อยลงกว่าสมัยก่อน ด้วยมุ่งเน้นความ
               ทันสมัยและความหรูหรา

                       เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ มีพิธีเปิดโรงแรมโทรคาเดโรในวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2472 โดยสมเด็จพระ

                                                                                          25
               เจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดแพรคลุมป้ายชื่อโรงแรม


                       4.2.14 ตึกวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

                       ตึกวิทยาศาสตร์ หรือตึกขาว (ภาพที่ 4-39 ถึง 4-41) เป็นอาคารเรียนหลังแรกของคณะวิทยาศาสตร์
               จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก่อสร้างขึ้นโดยพระด าริในสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงสงขลา

               นครินทร์ ที่มุ่งพัฒนาการเรียนการสอนวิชาแพทยศาสตร์ให้ทันสมัย โดยทรงประสานให้มูลนิธิร็อคกีเฟลเลอร์

               ให้ความช่วยเหลือบุคลากร งบประมาณ ตลอดจนแนวทางในการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ใน


                                                            95
   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71