Page 67 - kpi20863
P. 67

พ.ศ. 2466 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงด าเนินการสร้างอาคารเรียนวิทยาศาสตร์ขึ้น โดยพระสาโรชรัตนนิม

               มานก์ (สาโรช สุขยางค์) หัวหน้ากองสถาปัตยกรรม กรมศิลปากร เป็นสถาปนิกและผู้ควบคุมการก่อสร้าง เริ่ม
                                                                                            26
               ก่อสร้างในพ.ศ. 2469 แล้วเสร็จในต้นปีพ.ศ. 2472  มีงบประมาณการก่อสร้าง 100,000 บาท  ตึก
               วิทยาศาสตร์ หรือตึกขาว เป็นอาคารสูงสองชั้น โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก มีชั้นใต้ดิน ผังอาคารเป็นรูปตัวที

               (T)  มีโถงทางเข้า โถงบันได และห้องบรรยายใหญ่ที่กลางอาคาร ที่ปลายอาคารด้านตะวันออกและตะวันตก
               เป็นห้องปฏิบัติการใหญ่ ทั้งชั้นบนและชั้นล่าง รวม 4 ห้อง ใช้เป็นห้องปฏิบัติการชีววิทยา ฟิสิกส์ เคมีอินทรีย์

               และเคมีอนินทรีย์ ส่วนที่เหลือเป็นห้องท างานและห้องพักอาจารย์ มีระเบียงทางเดินยาวตลอดอาคารด้านทิศ

               ใต้  อาคารหลังนี้มีประโยชน์ใช้สอยอย่างสมัยใหม่ ทว่ามีรูปแบบภายนอกที่เป็นแบบไทยประยุกต์ มีลักษณะ
               เด่นที่การท าหลังคาจั่วผสมปั้นหยาขนาดใหญ่ พร้อมกันสาดรอบทั้งชั้นบนและชั้นล่าง มุงกระเบื้องเกล็ดเต่า

               แบบไทยสีดินเผาเรียบๆ หลังคานี้เป็นโครงสร้างไม้ วางซ้อนไปบนโครงหลังคาแบนคอนกรีตเสริมเหล็ก  ตัว

               อาคารมีการตกแต่งไม่มาก ช่องเปิดประตูหน้าต่างเป็นช่องสี่เหลี่ยมเรียบๆ วางจังหวะให้ส่วนห้องปฏิบัติการดู
               แตกต่างจากส่วนอื่นๆ เล็กน้อย  หน้าต่างแต่ละช่องแบ่งเป็นสองตอน ตอนล่างเป็นบานกระทุ้งเข้าข้างใน

               ตอนบนแบ่งเป็นสามบานย่อย เปิดระบายอากาศได้สองบาน เหนือขึ้นไปมีหน้าต่างช่องแสงขนาดเล็ก ท าเป็น

               ซุ้มยอดแหลมแบบไทย


                       4.2.15 โรงเรียนราชินีบน

                       โรงเรียนราชินีบน เดิมชื่อโรงเรียนศรีจิตรสง่า ตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ. 2454 โดยแต่เดิมมีที่ท าการอยู่ที่ตึกแถว
               ถนนอัษฎางค์ ต่อมาในพ.ศ. 2465 จึงย้ายมาที่ตึกเช่าของพระยามหิบาล ถนนสามเสน ใกล้โรงไฟฟ้าหลวงสาม

               เสน ในรัชกาลที่ 7 สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงสนพระทัยพัฒนา

               การศึกษาของสตรี จึงทรงซื้อที่ดินที่ตั้งโรงเรียนนี้ พร้อมขอพระราชทานที่ดินของสมเด็จพระพันวัสสามาตุจฉา
               เจ้ารวมเป็นที่ดิน 14 ไร่ 43 ตารางวา และโปรดให้กองช่างสุขาภิบาล อ านวยการสร้างสถานศึกษาส าหรับสตรี

               ขึ้น โดยมีพระด าริว่า นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 7 – 8  ของโรงเรียนราชินีที่ถนนมหาราช ปากคลองตลาด เป็น

               นักเรียนชั้นสูงซึ่งจวนจะส าเร็จการศึกษาแล้ว สมควรจะให้คุ้นเคยกับสถานที่ซึ่งถูกต้องตามแบบสุขาภิบาลเสีย
               บ้าง  เมื่อออกไปอยู่บ้าน  จะได้จัดแต่งบ้าน รักษาอนามัยเป็นอย่างดี จึงโปรดให้ย้ายมาเรียนที่โรงเรียนนี้

               สมทบกับนักเรียนที่มีอยู่เดิม ตัดชั้นเล็กๆ ออก เพื่อมิให้นักเรียนเกินจ านวนสถานที่  จัดสอนส าหรับนักเรียนชั้น

               มัธยมศึกษาปีที่ 3 ขึ้นไป และได้พระราชทานนามโรงเรียนใหม่นี้ว่า โรงเรียนราชินีบน  เพื่อเฉลิมพระเกียรติ
               สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ

                       ด้วยพระด าริดังกล่าว โรงเรียนราชินีบนจึงมีอาคารเรียนที่ทันสมัย เน้นความเรียบง่าย ถูกสุขอนามัย

               โดยมีนายชาลส์ เบเกอแลง (Charles A. Béguelin) เป็นสถาปนิก (ภาพที่ 4-42) ลักษณะเป็นกลุ่มอาคาร สูง
               2 – 3 ชั้น โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ตัวอาคารใช้วัสดุสมัยใหม่ทั้งหมด ไม่มีการตกแต่งประดับประดา โดย

               เน้นความสะอาด ความสะดวกในการบ ารุงรักษา และการออกแบบโดยค านึงถึงทิศทางแดดและลม ให้อาคารมี

               สภาวะน่าสบาย มีนายซ๊กิมฮะเป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง แล้วเสร็จในพ.ศ. 2472 โดยเปิดท าการสอนได้ในวันที่ 17


                                                            96
   62   63   64   65   66   67   68   69   70   71   72