Page 105 - kpi21595
P. 105

ของการบ้านการเมืองในขณะนั้น หรือเป็นเรื่องการประกอบอาชีพ อีกกลุ่มเป็นกลุ่มวิชาเฉพาะ ซึ่งขึ้นอยู่กับ

               ความสนใจและความเฉพาะของพื้นที่เช่นกัน เช่น การเรียนการสอนเรื่องการใช้คอมพิวเตอร์หรือการพัฒนา
               บุคลิกภาพ เป็นต้น สำหรับเกณฑ์ผ่านการศึกษานั้นผู้เรียนต้องเข้าเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75 ของชั่วโมงเรียน

               ทั้งหมด 105 ชั่วโมง กล่าวคือต้องไม่ต่ำกว่า 71 ชั่วโมง โดยผู้เรียนต้องสามารถแสดงให้เห็นว่ามีพัฒนาการและ

               ได้เรียนรู้อะไรบ้างจากการเรียนการสอนของโรงเรียนพลเมือง โดยในที่นี้ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง
               จังหวัดร้อยเอ็ดในฐานะผู้ประสานงานหลักและผู้จัดตารางการเรียนการสอน ได้กำหนดให้ผู้เรียนจัดทำ

               นวัตกรรม 1 เรื่องเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ด้วย
                       จากข้างต้นจะเห็นได้ว่า การตั้งโรงเรียนพลเมืองนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ประการแรก จำเป็นต้องมีผู้

               ประสานงานจัดตารางการเรียนการสอนเรียนเชิญวิทยากรในแต่ละรายวิชาให้ครบถ้วนต่อเนื่อง 105 ชั่วโมง

               ซึ่งบทบาทนี้จะมีศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า ประจำจังหวัดร้อยเอ็ด เป็น
               ผู้ดำเนินการให้แก่โรงเรียนพลเมืองทุกแห่ง ประการที่สอง สืบเนื่องจากการเรียนการสอนที่ยาวนาน ผู้เรียน

               จะต้องมีความสมัครใจในการเข้าศึกษาเล่าเรียนอย่างแท้จริง ดังนั้น หากแกนนำพลเมืองเลือกที่จะนำโรงเรียน
               พลเมืองมาเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างความเป็นพลเมืองสู่ชุมชนแล้ว ก่อนก่อตั้งโรงเรียนพลเมืองทุกแห่ง

               จะต้องมีการเปิดเวทีสร้างความเข้าใจแก่คนในชุมชนรวมไปถึงผู้นำท้องที่ท้องถิ่นเสียก่อนเพื่อให้ทราบ

               ความสำคัญของโรงเรียนพลเมืองและการเรียนการสอนของโรงเรียนพลเมือง โดยมีศูนย์พัฒนาการเมืองภาค
               พลเมืองจังหวัดร้อยเอ็ดเป็นผู้ดำเนินการถ่ายทอดข้อเท็จจริงดังกล่าว หากพบว่าคนในชุมชนมีความสนใจ

               โรงเรียนพลเมืองและพร้อมที่จะสมัครใจเข้าเรียน ขั้นต่อไปผู้สนใจจะร่วมกันกำหนดตำบลและสถานที่เรียน

               ต่อไป ซึ่งอาจจะเป็นที่ว่าการอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล วัด หรือ กศน.ตำบล ก็ย่อมได้ขึ้นอยู่
               กับความสะดวกของผู้เรียนและการได้รับอนุญาตของเจ้าของพื้นที่ ส่วนหลักสูตรท้องถิ่นและหลักสูตรเฉพาะ

               นั้นผู้เรียนสามารถพูดคุยกันได้ในภายหลังเมื่อเริ่มศึกษาไปได้สักระยะ
                       จากข้างต้น จะเห็นได้ว่ามีอย่างน้อยๆ 3 ระยะ ที่โรงเรียนพลเมืองสามารถเผยแพร่ความรู้เรื่องบทบาท

               ความสำคัญของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยสู่คนในชุมชนได้

                       ระยะแรก คือในช่วงที่มีการจัดเวทีทำความเข้าใจความสำคัญของโรงเรียนพลเมืองก่อนเปิดรับสมัครผู้
               ที่สนใจเข้าเรียน ในช่วงนี้หากมีผู้สนใจเข้าศึกษาเป็นจำนวนมากโดยที่คนเหล่านั้นสามารถเข้าเรียนได้อย่าง

               สม่ำเสมอกระทั่งสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรได้ ก็มีแนวโน้มที่แกนนำพลเมืองในระดับพื้นที่จะขยายตัว
               ออกไปและมีเครือข่ายเพื่อร่วมปฏิบัติการในระดับตำบลหรือระดับอำเภอในช่วงการจัดทำนวัตกรรมได้มากขึ้น

                       ระยะที่สอง คือช่วงดำเนินการ ซึ่งในระยะนี้หากพบว่าผู้นำในพื้นที่ให้การสนับสนุนการเรียนการสอน

               และการทำกิจกรรมของโรงเรียนพลเมืองเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการสนับสนุนสถานที่ในการเรียนการ
               สอน สนับสนุนสถานที่ในการทำกิจกรรม ตลอดจน สนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของตนแก่คน

               ในชุมชนผ่านพื้นที่โรงเรียนพลเมือง เป็นต้น ก็จะช่วยให้เกิดการบูรณาการทรัพยากรในระดับพื้นที่สู่การส่งเสริม

               และสร้างความเป็นพลเมืองโดยทุกฝ่ายผ่านการผลักดันกิจกรรมของโรงเรียนพลเมืองได้ ทั้งยังช่วยเสริมความ
               แข็งแกร่งของเครือข่ายพลเมืองในพื้นที่อีกด้วย





                                                                                                        94
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110