Page 104 - kpi21595
P. 104
โดยจะเริ่มกล่าวถึงโครงการโรงเรียนพลเมืองก่อนเป็นอันดับแรกเนื่องจากเป็นโครงการที่อำเภอนำร่อง
เป้าหมายส่วนใหญ่ให้ความสนใจนำไปดำเนินการในพื้นที่ จากนั้นจึงกล่าวถึงโครงการอื่นๆที่อำเภอนำร่อง
เป้าหมายแต่ละแห่งดำเนินการตามลำดับ
โรงเรียนพลเมือง
สำหรับ “โรงเรียนพลเมือง” นั้น เป็นเครื่องมือสำหรับส่งเสริมและสร้างความเป็นพลเมืองในอีก
รูปแบบหนึ่งที่สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า พัฒนาขึ้นภายใต้แนวคิดเรื่องการเปิด
พื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน โดยสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองได้แนะนำโรงเรียนพลเมืองให้แก่แกนนำ
พลเมืองในระดับพื้นที่เมื่อครั้งมีปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองในระยะที่ 1 พร้อมๆกับโครงการ/กิจกรรม
เพื่อสร้างสำนึกพลเมืองอื่นๆ อาทิ โครงการขยะไร้ถังที่มุ่งสร้างสำนึกพลเมืองผ่านกิจกรรมในชีวิตประจำวันใน
การคัดแยกและทำความสะอาดสิ่งของที่ใช้แล้วแทนการปล่อยทิ้งให้เป็นขยะอัน เป็นคุณลักษณะประการหนึ่ง
ของพลเมืองในการมีสำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมส่วนรวม และโครงการสร้างสำนึกพลเมืองที่มุ่งสร้างให้คน
ในชุมชนได้ร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนอย่างเป็นระบบผ่าน 6 ขั้นตอนในการกำหนดนโยบาย
สาธารณะอย่างมีส่วนร่วม โดยเริ่มต้นจากการค้นหาปัญหาและความต้องการ การศึกษาวิเคราะห์นโยบายเพื่อ
แก้ไขปัญหาที่ผ่านมา การจัดทำข้อเสนอนโยบายอื่นๆ การนำเสนอนโยบาย การลงมือปฏิบัติและการประเมิน
โครงการ เป็นต้น โดยโครงการทั้งหมดที่สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า แนะนำให้แก่
แกนนำพลเมืองนั้นมีเป้าหมายสำคัญเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และกระตือรือร้นผ่านการส่งเสริม
การมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์และเรียนรู้จากผลกระทบจากการดำเนินโครงการร่วมกันเพื่อ
สร้างการเรียนรู้สู่การปรับปรุงพัฒนากระบวนการสร้างความเป็นพลเมืองต่อไปเป็นสำคัญ
โรงเรียนพลเมืองจึงเป็นเพียงหนึ่งในหลายๆโครงการ/กิจกรรมที่สถาบันพระปกเกล้าสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อ
ส่งเสริมและสร้างความเป็นพลเมืองแก่คนในพื้นที่ ผ่านวิธีการหลักคือการเปิดพื้นที่สาธารณะในการเรียนรู้
เพื่อให้ผู้ที่มีความสนใจสมัครเข้ามาเล่าเรียนองค์ความรู้ตามที่หลักสูตรกำหนดและตามที่ตนสนใจร่วมกับผู้อื่น
ในชุมชน ซึ่งนอกจากจะสามารถสร้างความรู้และพัฒนาทักษะพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยสู่คนในชุมชนได้
แล้ว ยังเป็นการส่งเสริมและสร้างเครือข่ายพลเมืองในระดับพื้นที่ให้เกิดขึ้นอีกด้วย พร้อมกันนั้นยังส่งเสริมให้
เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเด็นปัญหาและความต้องการระหว่างคนในชุมชนอันอาจจะนำไปสู่การกำหนด
แนวทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาชุมชนร่วมกันต่อไปได้
ข้างต้นคือหลักการสำคัญของโรงเรียนพลเมือง จากวัตถุประสงค์ของโรงเรียนพลเมืองข้างต้น สำนัก
ส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองจึงได้กำหนดให้โรงเรียนพลเมืองเป็นหลักสูตรที่ผู้สนใจต้องเข้ารับการอบรมอย่าง
ต่อเนื่อง 105 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้เรียนได้รับความรู้ที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาตนเองเป็นสู่การเป็นพลเมือง
ตระหนักรู้และกระตือรือร้นในระบอบประชาธิปไตย โดย 105 ชั่วโมงนั้นแบ่งออกเป็นการเรียนในชั้นเรียน 60
ชั่วโมง การเรียนนอกห้องเรียน 30 ชั่วโมง การศึกษาดูงาน 15 ชั่วโมง โดยเนื้อหาที่เรียนนั้นแบ่งออกเป็น 3
ส่วนคือ ประกอบด้วยวิชาแกนกลางที่ทุกโรงเรียนต้องเรียนเหมือนกันจำนวน 30 ชั่วโมงเกี่ยวกับเรื่องกฎหมาย
ใกล้ตัว ประชาธิปไตย สิทธิพลเมืองและสิทธิชุมชน อีกส่วนเป็นกลุ่มวิชาท้องถิ่นที่โรงเรียนแต่ละแห่ง
ไม่จำเป็นต้องเรียนเหมือนกัน ขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้เรียนจำนวน 30 ชั่วโมง ซึ่งวิชาในกลุ่มนี้มักเป็นเรื่อง
93