Page 45 - kpi21595
P. 45

เป็นนักการเมืองท้องถิ่น ซึ่งนักการเมืองท้องถิ่นก็มักจะจกอยู่ภายใต้การอุปถัมภ์ของผู้มีอิทธิพลระดับสูงขึ้นไป

                                                         33
               เป็นทอดๆ เช่น นายทุนของพรรคการเมือง เป็นต้น
                       เมื่องานวิชาการจำนวนไม่น้อยมองวัฒนธรรมทางการเมืองในลักษณะนี้ จึงมักลงเอยด้วยข้อเสนอที่ว่า

               ด้วยการอบรมสำนึกทางการเมืองให้ผู้คนในชนบท ดังที่ พลศักดิ์ จิรไกรศิริ ได้กล่าวเอาไว้ในบทสรุปของ

               บทความเรื่อง “วัฒนธรรมทางการเมืองของไทย : ข้อสรุปจากการวิจัยเชิงประจักษ์” ว่า การศึกษาเป็นตัวแปร
               สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงในทัศนคติทางการเมืองของทั้งเยาวชนและประชาชนทั่วไป เพื่อถ่ายทอดวัฒนธรรม

               ทางการเมืองที่เราต้องการ ความว่า “ดังนั้น ผู้เขียนจึงฝากความหวังอันริบหรี่เอาไว้กับการศึกษามากที่สุด
               เพราะการศึกษาสามารถทำลายล้างสภาพเดิมและนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมได้ จึงมีความเกี่ยวพันกันอย่าง

                                                                                            34
               ใกล้ชิดกับการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง อันรวมไปถึงการปลูกฝังวัฒนธรรมทางการเมืองด้วย”
                       โครงการพัฒนาประชาธิปไตยระดับหมู่บ้าน ของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย นับเป็น
               ตัวอย่างคลาสสิคของการอบรมให้ความรู้และสร้างสำนึกทางการเมืองให้แก่ชาวบ้านในชนบท  โดยมี

               วัตถุประสงค์เพื่อ
                       1.เพื่อให้คณะกรรมการหมู่บ้านมีความรู้ ความเข้าใจในบทบาท หน้าที่ของตน เพื่อให้เกิดทักษะและ

               การดำเนินชีวิตแบบประชาธิปไตย

                       2.เพื่อให้องค์กรประชาชน และประชาชนในหมู่บ้านมีส่วนร่วมในการปกครองและการพัฒนาหมู่บ้าน
               ตามแนวทางในระบอบประชาธิปไตย รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และยอมรับมติของส่วนรวม

                       3.เพื่อเป็นการเตรียมประชาชนและการดำเนินงานของหมู่บ้าน เพื่อรองรับการพัฒนาสภาตำบลให้

               เป็นหน่วยการปกครองและการบริหารงาน ที่สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ
                       4.เพื่อให้ประชาชนได้เรียนรู้แนวทางการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย มีความศรัทธา และ

                                          35
               ส่งเสริมการปกครองในทุกระดับ
                       โดยโครงการดังกล่าวนี้มีเป้าหมายเพื่อดำเนินการฝึกอบรมในหมู่บ้านทุกแห่งทั่วประเทศ ให้แก่คณะ

               กรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการกลางอาสาพัฒนาและป้องกันตนเอง(อพป.) และผู้นำชุมชน เป็นต้น โดย

               กรมการปกครองกำหนดให้ทุกอำเภอจัดอบรมผู้นำท้องถิ่นเป็นรุ่นๆอย่างน้อยรุ่นละ 2 วัน โดยให้อำเภอจัดหา
               วิทยากรในพื้นที่เป็นผู้บรรยาย ส่วนกรมการปกครองจะจัดทำคู่มือวิทยากรพัฒนาประชาธิปไตยระดับหมู่บ้าน

                                                           36
               พร้อมทั้งวีดิทัศน์เป็นละครที่สอดคล้องกับหลักสูตร  แจกจ่ายให้อำเภอเพื่อประกอบการบรรยายในแต่ละ

               33  ณรงค์ พ่วงพิศ. วิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์กับพัฒนาการทางการเมืองไทย,” ใน เอกสารการสอนชุดวิชา ปัญหาพัฒนาการทางการ
               เมืองไทย. นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2529. หน้า 61-65.
               34  พลศักดิ์ จิรไกรศิริ. “วัฒนธรรมทางการเมืองของไทย : ข้อสรุปจากการวิจัยเชิงประจักษ์,”ใน วัฒนธรรมทางการเมืองของไทย พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว
               และพลศักดิ์ จิรไกรศิริ, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ : สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย, 2524. หน้า 44.
               35 ประสูติ เหลืองสมานกุล. “การประเมินผลการฝึกอบรมตามโครงการพัฒนาประชาธิปไตยระดับหมู่บ้าน : ศึกษากรณี อำเภอชะอำ จังหวัด
               เพชรบุรี,” เอกสารวิจัยส่วนบุคคลตามหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์
               มหาวิทยาลัย, 2536. หน้า 18.
               36  หลักสูตรมี 6 หัวข้อวิชาคือ วิชาหลักการเมืองการปกครองไทย วิชากฎหมายรัฐธรรมนูญเบื้องต้น วิชาการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย วิชา
               บทบาท อำนาจหน้าที่ และความสำคัญของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร วิชาวิถีชีวิตประชาธิปไตยในทางปฏิบัติ และวิชาบทบาท อำนาจ หน้าที่ ของ
               คณะกรรมการหมู่บ้าน

                                                                                                       34
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50