Page 46 - kpi21595
P. 46

หัวข้อวิชาต่อไป ในส่วนของการประเมินผลโครงการพัฒนาประชาธิปไตยระดับหมู่บ้าน ส่วนใหญ่พบว่าแม้

               โครงการอบรมประชาธิปไตยจะทำให้ชาวบ้านมีความรู้เรื่องรัฐธรรมนูญ บทบาทอำนาจหน้าที่ของ
               คณะกรรมการหมู่บ้านมากขึ้น ฯลฯ แต่ไม่ประสบความสำเร็จในการสร้างวัฒนธรรมการทางเมืองแบบ

               ประชาธิปไตยให้แก่ชาวบ้านมากนัก เพราะมีระยะเวลาอบรมเพียงสั้นๆ ทั้งยังไม่มีการส่งเสริมให้เกิดการฝึกฝน

                                            37
               และปฏิบัติประชาธิปไตยในวิถีชีวิต
                       อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่า ภายใต้การมองปัญหาการสร้างและจรรโลงประชาธิปไตยดังกล่าวนี้ได้นำมาสู่

               โครงการพัฒนาประชาธิปไตยซึ่งมีลักษณะที่คล้ายๆ กันเกิดขึ้นมากมาย เช่น โครงการแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง
               ในช่วงรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์  โครงการคุณธรรมนำไทย เป็นต้น จึงเป็นที่น่าสนใจวว่าที่ผ่านมา

               หน่วยงานราชการต่างๆได้พยายามที่จะเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการเมืองการปกครองในระบอบ

               ประชาธิปไตยให้แก่ชาวบ้านในต่างจังหวัดอยู่เช่นกัน ซึ่งเรื่องนี้อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้กระบวนการขัดเกลา
               ทางการเมืองและสำนึกวัฒนธรรมทางการเมืองของคนในพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปได้อยู่ไม่น้อย ในแง่นี้ การศึกษา

               ความเปลี่ยนแปลงเรื่องสำนึกความเป็นพลเมืองที่ส่งเสริมโดย สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองสถาบัน
               พระปกเกล้าจะต้องพึงระวังในการประเมินเช่นกัน

                       ยกตัวอย่างเช่น แม้นักวิชาการรัฐศาสตร์ซึ่งศึกษาวัฒนธรรมทางการเมืองไทยในยุคบุกเบิกตั้งแต่ราว

               ทศวรรษที่ 2510 จะได้ข้อสรุปในทิศทางเดียวกันว่า วัฒนธรรมทางการเมืองไทยอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ แต่
               หากมองในเชิงพัฒนาการจะพบว่า ตลอด 2-3 ทศวรรษที่ผ่าน มีกลุ่มก้อนผู้คนมากมายที่ได้รับผลกระทบจาก

               การพัฒนา โครงการขนาดใหญ่ของรัฐ ซึ่งมีประสบการณ์ต่อปัญหาการใช้อำนาจรัฐ  และรวมตัวกันเคลื่อนไหว

               ต่อสู้กับภาคธุรกิจการเมือง อยู่จำนวนมากซึ่งอาจส่งผลต่อสำนึกความเป็นพลเมืองที่มีความกระตือรือร้นอยู่ไม่
               มากก็น้อย

                       ข้างต้นเป็นวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับเงื่อนไขปัจจัยที่อาจจะส่งผลกระทบกับการสร้างความเป็น
               พลเมือง ในส่วนถัดไปเพื่อให้เห็นภาพของกระบวนการสร้างความเป็นพลเมืองที่ชัดเจนยิ่งขึ้น ในส่วนของ

               ขั้นตอนและกระบวนการก่อนที่จะนำมาสู่ผลลัพธ์ของปฏิบัติการสร้างความเป็นพลเมือง ผู้เขียนจึงเลือกที่จะใช้

               แนวคิดทฤษฎีระบบการเมือง (political system approach) มาอธิบายร่วมกันด้วย เนื่องจากแนวคิดนี้มี
               หลายส่วนที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีเรื่องแรงจูงใจทางการเมืองและวัฒนธรรมทางการเมืองที่กล่าวไปข้างต้น

               กล่าวคือ ทั้งสองทฤษฎีสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับทฤษฎีระบบการเมืองได้ ทั้งในส่วนของปัจจัยนำเข้า
               กระบวนการ สภาพแวดล้อม และผลลัพธ์จากปฏิบัติการ ดังนั้น ในส่วนถัดไปผู้เขียนจึงจะขอนำทฤษฎีระบบ

               การเมืองมากล่าวไว้โดยสังเขป


               แนวคิดเรื่อง Political System approach

                       แนวคิดเรื่องทฤษฎีระบบเป็นอีกแนวคิดหนึ่งที่ผู้วิจัยมองว่ามีความเกี่ยวข้องและสามารถนำมาอธิบาย

                                                                                                        38
               กระบวนการและผลลัพธ์จากปฏิบัติการส่งเสริมความเป็นพลเมืองดังกล่าวได้ ซึ่งทฤษฎีนี้ David Easton

               37  ประสูติ เหลืองสมานกุล, 2536 (เพิ่งอ้าง) หน้าเดียวกัน.
               38  พฤทธิสาณ ชุมชน, ม.ร.ว.  ระบบการเมือง: ความรู้เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. พิมพ์ครั้งที่ 8.

                                                                                                       35
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51