Page 59 - kpi21595
P. 59

น่าเชื่อถือของแบบสอบถามผู้วิจัยเลือกใช้สูตร KR-20 เนื่องจากแต่ละคำถามมีความยากง่ายในการตอบ

               แตกต่างกัน


                              R KR-20 = K   [ 1-∑pq]

                                        K-1      S
                                             s


               โดยกำหนดให้   R แทน ความน่าเชื่อถือของแบบทดสอบ
                              K แทน จำนวนแบบสอบถามที่ทำการทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง


                              p แทน คำถามที่ผู้ตอบมีแนวโน้มให้คะแนนความเป็นพลเมืองแก่ตนเองสูง

                              q แทน คำถามที่ผู้ตอบมีแนวโน้มให้คะแนนความเป็นพลเมืองแก่ตนเองต่ำ
                              S  แทน ความแปรปรวนของคะแนนรวมของแบบสอบถาม
                               s

                       ด้วยเหตุนี้ ก่อนคำนวณหาค่าความน่าเชื่อถือของแบบสอบถามผู้วิจัยจะต้องกำหนดคะแนนให้แก่

               คำตอบที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างที่ทดลองตอบแบบสอบถามทั้งสิ้นจำนวน 30 ชุด (pilot test) เสียก่อน ซึ่งได้มา

               จากกลุ่มตัวอย่างในอำเภอเมืองร้อยเอ็ดและอำเภอปทุมรัตต์จังหวัดร้อยเอ็ด โดยการแทนค่าคะแนน 1,0 นั้น
               จะพิจารณาจากรูปแบบของคำถามและลักษณะคำตอบเพื่อวัดความเป็นพลเมืองในแต่ละด้านเป็นหลัก

               เนื่องจากแบบสอบถามชุดนี้พัฒนาขึ้นมาตามตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองที่แตกต่างกัน 8 ด้าน ดังนั้นจะต้อง

               พิจารณาคำตอบในแต่ละข้อว่ามีแนวโน้มของการเข้าใกล้ความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และกระตือรือร้นเพียงใด
               ในที่นี้ผู้วิจัยกำหนดค่า 1,0 แตกต่างกันไปในลักษณะของคำถามและคำตอบของความเป็นพลเมืองแต่ละด้าน

               ดังนี้
                       ความเป็นพลเมืองด้านที่ 1 ซึ่งมีคำตอบเป็นสเกล 1-10 นั้น ผู้วิจัยแบ่งคำตอบออกเป็น 2 กลุ่มคือ

               คำตอบที่เข้าใกล้ความเป็นพลเมืองน้อยอยู่ระหว่างสเกล 1-4 แทนค่าด้วย 0 และกลุ่มคำตอบที่เข้าใกล้ความ

               เป็นพลเมืองมากอยู่ระหว่าง 5-10 แทนค่าด้วย 1
                       ความเป็นพลเมืองด้านที่ 2 ซึ่งมีลักษณะคำตอบ “ถูก” “ผิด” นั้น สามารถประเมินค่า 1,0 ได้ทันที

                       ความเป็นพลเมืองด้านที่ 3 ซึ่งมีลักษณะคำตอบเป็นการประเมินศักยภาพของตนเองด้วย 7 ชุดคำตอบ
               ประกอบด้วย 1) เห็นด้วยอย่างยิ่ง 2) ค่อนข้างเห็นด้วย 3) ค่อนข้างไม่เห็นด้วย 4) ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง 7) ไม่

               เข้าใจคำถาม 8) ไม่สามารถตอบได้ และ 9) ปฏิเสธที่จะตอบคำถาม นั้น ผู้วิจัยแบ่งคำตอบเป็น 2 กลุ่ม กลุ่ม

               แรกประกอบด้วย คำตอบที่ 1 และ 2 กลุ่มที่สองประกอบด้วย คำตอบที่ 3 ถึง 9 โดยการให้คะแนน 1,0 จะ
               พิจารณาจากคำถาม หากเป็นคำถามเชิงบวก คำตอบในกลุ่มแรกจะได้ 1 คะแนน ส่วนคำตอบทั้งหมดในกลุ่มที่

               สองจะได้ 0 คะแนน แต่หากเป็นคำถามเชิงลบการให้คะแนนจะกลับกัน

                       สำหรับความเป็นพลเมืองด้านที่ 4 และด้านที่ 5 นั้นมีคำตอบเป็นสเกล 1-10 เช่นเดียวกันกับความ
               เป็นพลเมืองด้านที่ 1 การกำหนดค่าคะแนนใหม่จึงกระทำเช่นเดียวกับความเป็นพลเมืองด้านที่ 1





                                                                                                        48
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64