Page 56 - kpi21595
P. 56
จากกรอบการวิจัยข้างต้นผู้วิจัย กำหนดสมมติฐานสำหรับการวิจัยเชิงปริมาณไว้ดังนี้
H 0 โครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง ไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมือง
ตระหนักรู้และกระตือรือร้นให้เกิดขึ้นกับกลุ่มประชากรที่เข้าร่วมโครงการได้
H 1 โครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมือง
ตระหนักรู้และกระตือรือร้นให้เกิดขึ้นกับกลุ่มประชากรที่เข้าร่วมโครงการได้
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
การศึกษาเชิงปริมาณนี้ใช้แบบสอบถาม (questionnaire) เป็นเครื่องมือหลักในการเก็บข้อมูล เพื่อให้
ผู้ตอบแบบสอบถามประเมินคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และพลเมืองกระตือรือร้นของตนเอง
(self-examination) เปรียบเทียบก่อนและหลังมีโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง แบบสอบถามนี้
พัฒนาขึ้นมาโดยตั้งอยู่บนตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองที่นักวิชาการสถาบันพระปกเกล้าได้พัฒนาขึ้นมาเป็นหลัก
จึงทำให้แบบสอบถามสำหรับวัดความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองในครั้งนี้แบ่งออกเป็น 8 ส่วนตาม
คุณลักษณะความเป็นพลเมืองทั้ง 8 ด้าน (โปรดดูภาคผนวก ค) ประกอบด้วย
พลเมืองแบบที่ 1 : พลเมืองที่สนใจต่อการเมืองและสังคม (Interested in politics and
society citizen) ซึ่งมีคำถามย่อย 4 ข้อ เกี่ยวกับความสนใจเหตุการณ์บ้านเมือง ปัญหา และความ
เปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ที่เกิดขึ้นในชุมชนและสังคม ผู้ตอบแบบสอบถามต้องประเมิน
ตนเองโดยให้คะแนนระหว่าง 1-10 เพื่อระบุว่าตนเองมีความสนใจทางการเมืองในระดับใด ในที่นี้กำหนดให้
ความสนใจในระดับน้อยที่สุดเท่ากับ 1 คะแนนและความสนใจในระดับมากที่สุดเท่ากับ 10 คะแนน
พลเมืองแบบที่ 2 : พลเมืองที่มีความรู้ (Informed citizen) มีคำถามย่อย 10 ข้อ เกี่ยวกับองค์
ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยที่พลเมืองพึงรู้ อาทิ เรื่องสิทธิ เสรีภาพ ความ
40
เท่าเทียม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมืองตามรัฐธรรมนูญ เป็นต้น ผู้ตอบ
แบบสอบถามต้องเลือกคำตอบว่า “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” ต่อข้อคำถามข้างต้น
พลเมืองแบบที่ 3 : พลเมืองที่รู้ความสามารถของตนเองทั้งทางสังคมและการเมือง (Civic and
political efficacy) มีคำถามย่อย 8 ข้อ เกี่ยวกับการตระหนักในความสามารถของผู้ตอบแบบสอบถามว่า
สามารถกระทำการใดได้หรือไม่ได้ตามหลักการประชาธิปไตย อาทิ การแสดงความคิดเห็นทางการเมือง
การติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของผู้แทน หรือการมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาของชุมชน เป็นต้น
ผู้ตอบแบบสอบถามต้องเลือกคำตอบว่า “เห็นด้วยอย่างยิ่ง” “ค่อนข้างเห็นด้วย” “ค่อนข้างไม่เห็นด้วย” “ไม่
เห็นด้วยอย่างยิ่ง” และ “ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง” เพื่อประเมินการตระหนักในศักยภาพของตนเองต่อการมีส่วน
ร่วมทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย แต่หากผู้ตอบไม่เข้าใจคำถาม ไม่สามารถตอบคำถาม หรือปฏิเสธที่
จะตอบคำถาม ผู้วิจัยก็ได้กำหนดตัวเลือกดังกล่าวไว้ในแบบสอบถามแล้ว ซึ่งการแปลค่าคะแนนต่อคำถาม
40 เนื้อหาบางส่วนของแบบสอบถามปรับปรุงมาจาก รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557.
45