Page 58 - kpi21595
P. 58

เดินขบวนเรียกร้องทางการเมือง เป็นต้น ผู้ตอบต้องประเมินตนเองว่าได้มีพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ใน

               แบบสอบถามมากเพียงใด โดยเลือกตอบระหว่างตัวเลือก “เคยทำมากกว่า 1 ครั้ง” “เคยทำเพียงครั้งเดียว”
               “ไม่เคยทำแต่อาจทำถ้าจำเป็น” “ไม่เคยทำและจะไม่ทำเด็ดขาด” ซึ่งจะได้คะแนนความเป็นพลเมืองแตกต่าง

               กันออกไป กรณีที่ผู้ตอบไม่สามารถตอบคำถามได้หรือปฏิเสธที่จะตอบคำถาม ผู้วิจัยก็ได้กำหนดตัวเลือก

               ดังกล่าวไว้ในแบบสอบถามแล้วเช่นเดียวกับพลเมืองแบบที่ 6 และพลเมืองแบบที่ 7
                       จากข้างต้นจะเห็นได้ว่า ข้อคำถามความเป็นพลเมืองแต่ละด้านนั้นจะมีลักษณะคำตอบที่แตกต่างกัน

               ตั้งแต่ rating scale 6-10 ระดับ ร่วมกับคำตอบแบบถูก-ผิด ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้เครื่องมือดังกล่าวสอดคล้องกับ
               เนื้อหาเรื่องตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองและวัตถุประสงค์ที่มุ่งวัดความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมือง ตลอดจน มี

               ความคงเส้นคงวาในการวัดแต่ละครั้งอันจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผลการศึกษา ผู้วิจัยจึงได้ทำการตรวจสอบ

               ค่าความเที่ยง (validity) และค่าความเชื่อมั่น (reliability) ของแบบสอบถามดังกล่าว โดยในส่วนของการ
               ตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงของเครื่องมือนั้น เป็นการหาค่าความเที่ยงตรงโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์

               เกี่ยวกับการส่งเสริมและสร้างความเป็นพลเมืองที่ตระหนักรู้และกระตือรือร้นจำนวน 3 ท่าน โดยพิจารณาว่า
               คำถามที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้นนั้นแต่ละข้อสามารถวัดความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และกระตือรือร้นตาม

               วัตถุประสงค์ได้มากน้อยเพียงใด โดยเกณฑ์ในการประเมิน มีดังนี้

                       ให้คะแนน +1    ถ้าแน่ใจว่าข้อคำถามวัดได้ตรงตามนิยามเชิงปฏิบัติการและตอบสนองวัตถุประสงค์
               การวัดความเป็นพลเมือง

                       ให้คะแนน   0    ถ้าไม่แน่ใจว่าข้อคำถามวัดตรงตามนิยามเชิงปฏิบัติการและตอบสนองวัตถุประสงค์

               การวัดความเป็นพลเมือง
                       ให้คะแนน  -1    ถ้าแน่ใจว่าข้อคำถามไม่ตรงตามนิยามเชิงปฏิบัติการและตอบสนองวัตถุประสงค์การ

               วัดความเป็นพลเมือง
                       โดยผู้วิจัยได้ส่งแบบฟอร์มการวัดความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์การ

               วิจัย (IOC) พร้อมทั้งแนบนิยามเชิงปฏิบัติการหรือนิยามศัพท์เฉพาะของพลเมืองตระหนักรู้และพลเมือง

               กระตือรือร้นของงานวิจัยชิ้นนี้และกรอบตัวชี้ดวัดความเป็นพลเมืองทั้ง 8 ด้าน ให้แก่ผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณา
               ซึ่งผลรวมการประเมินค่าความเที่ยงตรงของผู้ทรงคุณวุฒิที่มีต่อแบบสอบถามวัดความเปลี่ยนแปลงความเป็น

               พลเมืองดังกล่าวอยู่ระหว่าง 0.67-1 (โปรดดูภาพผนวก ค) ซึ่งเกินกว่า 0.5 ที่เป็นเกณฑ์ขั้นต่ำของคะแนนความ
               เที่ยงตรงที่ควรจะเป็น จึงกล่าวได้ว่าเครื่องมือแบบสอบถามชุดนี้มีความเที่ยงตรงในการวัดความเป็นพลเมือง

               ตระหนักรู้และพลเมืองกระตือรือร้นตามเนื้อหาและวัตถุประสงค์การวิจัย

                       ส่วนความน่าเชื่อถือของแบบสอบถามนั้น ผู้วิจัยใช้วิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์จากสูตรของคูเดอร์และ
               ริชาร์ดสัน (Kuder Richardson) โดยดัดแปลงการให้คะแนนถูก-ผิด (1,0) ของแบบทดสอบมาใช้กับการให้

               คะแนนแบบสอบถามแทน โดยกำหนดให้คำตอบที่ผู้ตอบมีแนวโน้มให้คะแนนความเป็นพลเมืองแก่ตนเองสูงมี

               ค่าเท่ากับ 1 และกำหนดให้คำตอบที่ผู้ตอบมีแนวโน้มให้คะแนนความเป็นพลเมืองแก่ตนเองต่ำมีค่าเท่ากับ 0
               แทนการให้ 1 คะแนนกับคำถามข้อที่ตอบถูกและ 0 คำแนนกับคำถามข้อที่ตอบผิด โดยการคำนวณหาค่าความ





                                                                                                        47
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63