Page 57 - kpi21595
P. 57

ข้างต้นจะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับลักษณะของคำถามและคำตอบซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปในส่วนของการ

               วิเคราะห์ข้อมูล
                       พลเมืองแบบที่ 4 : พลเมืองที่ตระหนักในความสำคัญของความเป็นพลเมือง (Awareness

               citizen) มีคำถามย่อย 11 ข้อ เกี่ยวกับคุณลักษณะของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย อาทิ การรับฟังความ

               คิดเห็นของผู้อื่น การเป็นผู้มีความซื่อตรง การเป็นผู้ยึดมั่นในหลักสันติวิธี และการเป็นผู้ที่รับผิดชอบพร้อมรับ
               ผลจากการกระทำ เป็นต้น ผู้ตอบต้องประเมินว่าตนเองมีคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในระบอบ

               ประชาธิปไตยดังกล่าวในระดับใด โดยให้คะแนนตนเองระหว่าง 1-10 ซึ่งในที่นี้กำหนดให้ 10 คะแนนแทนการ
               ประเมินตนเองว่าเป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตยดังกล่าวมากที่สุด ขณะที่ 1 คะแนนแทนการประเมิน

               ตนเองว่าเป็นผู้ที่ยึดมั่นในหลักการประชาธิปไตยดังกล่าวน้อยที่สุด

                       พลเมืองแบบที่ 5 : พลเมืองที่ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองในทางสังคม  (Civic self-action) มีคำถาม
               ย่อย 14 ข้อ เกี่ยวกับการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย อาทิ เคารพในสิทธิเสรีภาพ เคารพ

               กฎหมาย พึ่งตนเอง รับฟังความเห็นของผู้อื่น ใช้เหตุผลและปฏิบัติหน้าที่อย่างมีจริยธรรม เป็นต้น ผู้ตอบต้อง
               ประเมินตนเองว่าได้มีพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในแบบสอบถามมากเพียงใด โดยให้คะแนนตนเองระหว่าง 1-10

               ซึ่งในที่นี้กำหนดให้ 10 คะแนนแทนการประเมินตนเองว่าเป็นผู้ที่ปฏิบัติตามหลักการประชาธิปไตยดังกล่าว

               มากที่สุด ขณะที่ 1 คะแนนแทนการประเมินตนเองว่าปฏิบัติตามหลักการประชาธิปไตยดังกล่าวน้อยที่สุด
                       พลเมืองแบบที่ 6 : พลเมืองที่ลงมือปฏิบัติด้วยตนเองในทางการเมือง (Political self-action) มี

               คำถามย่อย 5 ข้อ เกี่ยวกับการมีพฤติกรรมแสดงออกทางการเมืองด้วยตนเอง อาทิ การติดต่อกับผู้แทน

               ทางการเมืองระดับชาติ/ระดับท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ท้องถิ่น กรณีที่พบว่ามีข้อสังสัยหรือแจ้งปัญหาต่างๆในชุมชน
               แก่ผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบทราบ เป็นต้น ผู้ตอบต้องประเมินตนเองว่าได้มีพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ใน

               แบบสอบถามมากน้อยเพียงใด โดยเลือกตอบระหว่างตัวเลือก “เคยทำมากกว่า 1 ครั้ง” “เคยทำเพียงครั้ง
               เดียว” “ไม่เคยทำแต่อาจทำถ้าจำเป็น” “ไม่เคยทำและจะไม่ทำเด็ดขาด” ผู้วิจัยก็ได้กำหนดตัวเลือก “ไม่

               สามารถตอบได้” และ “ปฏิเสธที่จะตอบคำถาม” ไว้ในแบบสอบถามด้วยกรณีที่ผู้ตอบแบบสอบถามไม่เข้าใจ

               คำถามหรือปฏิเสธที่จะตอบคำถาม ซึ่งคำตอบดังกล่าวจะมีผลต่อการแปลงค่าคะแนนซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป
                       พลเมืองแบบที่ 7 : พลเมืองที่มีส่วนร่วมทางสังคม (Civic participation) มีคำถามย่อย 6 ข้อ

               เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในชุมชนของกลุ่มตัวอย่าง อาทิ การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในชุมชน การเข้าเป็นสมาชิก
               กลุ่ม/องค์กรในชุมชนหรือการร่วมกับผู้อื่นในชุมชนในการพัฒนาแก้ไขปัญหาของชุมชน เป็นต้น ผู้ตอบต้อง

               ประเมินตนเองว่าได้มีพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในแบบสอบถามมากเพียงใด โดยเลือกตอบระหว่างตัวเลือก “เคย

               ทำมากกว่า 1 ครั้ง” “เคยทำเพียงครั้งเดียว” “ไม่เคยทำแต่อาจทำถ้าจำเป็น” “ไม่เคยทำและจะไม่ทำ
               เด็ดขาด” ซึ่งจะได้คะแนนความเป็นพลเมืองแตกต่างกันออกไป กรณีที่ผู้ตอบไม่สามารถตอบคำถามได้หรือ

               ปฏิเสธที่จะตอบคำถาม ผู้วิจัยก็ได้กำหนดตัวเลือกดังกล่าวไว้ในแบบสอบถามแล้วเช่นเดียวกับพลเมืองแบบที่ 6

                       พลเมืองแบบที่ 8 : พลเมืองที่มีส่วนร่วมทางการเมือง (Political participation) มีคำถามย่อย
               13 ข้อ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มตัวอย่าง อาทิ การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง การร่วมรณรงค์ทาง

               การเมือง การร่วมกับผู้อื่นติดตามตรวจสอบการทำงานของนักการเมืองในทุกระดับ รวมไปถึงการร่วม


                                                                                                        46
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62