Page 54 - kpi21595
P. 54

การศึกษาเชิงปริมาณ

                       การศึกษาเชิงปริมาณในที่นี้มุ่งวัดความเปลี่ยนแปลงสำนึกและพฤติกรรมความเป็นพลเมืองตระหนักรู้
               (concerned citizen) และพลเมืองกระตือรือร้น (active citizen) ที่เกิดขึ้นกับประชากรที่เข้าร่วมโครงการ

               ปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองในพื้นที่บูรณาการ (จังหวัดร้อยเอ็ด) ทั้งทางตรงและทางอ้อม

               โดยมีรายละเอียดดังนี้
                       ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                       ประชากรของงานวิจัยชิ้นนี้คือประชากรในจังหวัดร้อยเอ็ด เฉพาะ 10 อำเภอนำร่องในโครงการ
               ปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง (จังหวัดร้อยเอ็ด) ของสถาบันพระปกเกล้า ที่ดำเนินการโดยสำนักส่งเสริม

               การเมืองภาคพลเมือง ระหว่างปีงบประมาณ 2559-2561 ประกอบด้วย อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอธวัชบุรี

               อำเภอปทุมรัตต์ อำเภอสุวรรณภูมิ อำเภอโพนทอง อำเภอจังหาร อำเภอเสลภูมิ อำเภอหนองพอก อำเภอ
               เกษตรวิสัย และอำเภอพนมไพร โดยประชากรแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ตามแนวทางการส่งเสริมความเป็นพลเมือง

               ของสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองที่แบ่งออกเป็น 2 ระยะ กลุ่มแรกคือแกนนำพลเมืองในระดับพื้นที่ซึ่ง
               ได้รับการอบรมโดยตรงจากสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า ในปี 2559 และ 2560

               ส่วนกลุ่มที่สองคือประชากรในอำเภอนำร่องที่ไม่ได้รับการอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้า แต่คาดว่าจะ

               ได้รับผลกระทบจากปฏิบัติการส่งเสริมความเป็นพลเมืองโดยแกนนำพลเมืองที่ได้รับการพัฒนาความรู้และ
               ทักษะจากสถาบันพระปกเกล้าอีกชั้นหนึ่ง

                       สำหรับแกนนำพลเมืองซึ่งเป็นประชากรกลุ่มแรกของงานวิจัยชิ้นนี้ ผู้วิจัยได้จากการเก็บรวบรวม

               รายชื่อผู้นำชุมชนและผู้ที่สนใจเข้ารับการอบรมเรื่องสำนึกพลเมืองจากสถาบันพระปกเกล้าในโครงการอบรม
               สร้างสำนึกพลเมืองและการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้นำและเยาวชน ซึ่งมีจำนวนที่รวบรวมได้ทั้งสิ้น 234 คน

               แต่ในส่วนของประชากรตัวอย่างในระดับอำเภอนั้น ผู้วิจัยใช้การสุ่มเลือกอย่างเป็นระบบจากฐานข้อมูล
               ทะเบียนราษฎร์ของกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ประจำปี 2558   โดยคำนวณจำนวนกลุ่ม
                                                                                   39
               ตัวอย่างที่เหมาะสมจากขนาดประชากรในพื้นที่โดยเทียบสัดส่วนจากตารางสำเร็จรูปที่พัฒนาขึ้นโดยทาโร่

               ยามาเน่ (Yamane) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% กำหนดความคาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ที่ ± 10 ทำให้กลุ่ม
               ตัวอย่างของ 10 อำเภอนำร่องที่มีประชากรอยู่ระหว่าง 40,000 คนถึง 150,000 คนโดยประมาณ มีจำนวน

               กลุ่มตัวอย่างเท่ากันที่ 100 คนทั้ง 10 อำเภอ รวมเป็นจำนวนกลุ่มตัวอย่างซึ่งไม่ได้รับการอบรมโดยตรงจาก
               สถาบันพระปกเกล้าที่ต้องเก็บแบบสอบถามจำนวน ทั้งสิ้น 1,000 คน (โปรดดูภาคผนวก ข)

                       ด้านวิธีการสุ่มตัวอย่างนั้น จะสุ่มเลือกเฉพาะประชากรตัวอย่างที่มีอายุระหว่าง 18-80 ปี ซึ่งเป็นช่วง

               อายุเริ่มแรกที่มีสิทธิในการเลือกตั้งและยังมีศักยภาพทางร่างกายมากพอในการแสดงออกทางการเมืองได้
               โดยเมื่อได้รายชื่อประชากรทั้งหมดและตรวจสอบคุณสมบัติของประชากรตามที่กำหนดไว้แล้ว ผู้วิจัยจะใส่

               หมายเลขไว้ด้านหน้ารายชื่อที่ได้ทั้งหมด จากนั้นเริ่มต้นนับจากรายชื่อที่มีตัวเลขตรงกับตัวเลขที่สุ่มขึ้นด้วย

               ระบบคอมพิวเตอร์ จากนั้นนับไปด้วยระยะห่าง 10 คนเท่าๆกันกระทั่งครบตามจำนวนกลุ่มตัวอย่างของแต่ละ


               39  ข้อมูลทะเบียนราษฎร์ กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทยเมื่อธันวาคม พ.ศ. 2558 ระบุว่า ประชากรร้อยเอ็ดมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น
               1,308,312 คน

                                                                                                        43
   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58   59