Page 55 - kpi21595
P. 55
อำเภอที่กำหนดไว้ 100 คน พร้อมกันนี้ผู้วิจัยจะสุ่มตัวอย่างสำรองของแต่ละอำเภอไว้ด้วยจำนวนอำเภอละ 50
คน เพื่อใช้แทนกลุ่มตัวอย่างจริงเมื่อพบว่ากลุ่มตัวอย่างเสียชีวิต ย้ายที่อยู่ หรือว่าทำงานต่างจังหวัด เป็นต้น
ดังนั้น เมื่อได้รายชื่อแล้วผู้วิจัยจะบันทึกรายชื่อและข้อมูลพื้นฐานกลุ่มตัวอย่างสำหรับลงพื้นที่เก็บแบบสอบถาม
โดยแบ่งเป็น 2 บัญชี คือ บัญชีรายชื่อของกลุ่มตัวจริงและบัญชีรายชื่อสำรอง ในกรณีที่ผู้เก็บแบบสอบถาม
จำเป็นต้องสุ่มรายชื่อจากบัญชีรายชื่อสำรองนั้น จะต้องพิจารณาตัวอย่างสำรองที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับ
กลุ่มตัวอย่างจริงอย่างน้อยใน 2 กรณี เช่น ต้องเป็นเพศเดียวกัน มีช่วงอายุไล่เรี่ยกัน เป็นต้น
กรอบการวิจัยเชิงปริมาณและตัวแปร
กรอบการวิจัยเชิงปริมาณนี้พัฒนาขึ้นจาก ตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และพลเมือง
กระตือรือร้นทั้ง 8 ด้าน ร่วมกับเงื่อนไขปัจจัยต่างๆที่อาจส่งผลต่อการสร้างสำนึกพลเมืองตามทฤษฎี
ประกอบด้วย เงื่อนไขด้านเพศ ช่วงอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ โดยกรอบการวิจัยเชิงปริมาณนี้พัฒนาขึ้น
เพื่อให้สอดคล้องกันไปกับกรอบการวิจัยของรายงานฉบับนี้ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นจากทฤษฎีระบบ (system
theory) ดังที่กล่าวถึงไปแล้วในบทที่ 2 ที่ประกอบไปด้วย 1) ปัจจัยนำเข้า (input) ซึ่งในที่นี้ก็คือองค์ความรู้ที่
สถาบันพระปกเกล้า โดยสำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง ถ่ายทอดให้แก่แกนนำพลเมืองผ่านโครงการต่างๆ
ในระยะแรก และโครงการขยายผลเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองที่ดำเนินการโดยแกนนำพลเมืองในระยะที่สอง
2) ปัจจัยด้านกระบวนการ (process) ในที่นี้คือรูปแบบกิจกรรมของสถาบันพระปกเกล้าและโครงการที่แกนนำ
พลเมืองในระดับอำเภอดำเนินการ 3) ปัจจัยด้านผลลัพธ์ (output) ในที่นี้คือผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมกับสถาบัน
พระปกเกล้าทั้งทางตรงและทางอ้อมจะมีความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และพลเมืองกระตือรือร้นเพิ่มสูงขึ้น
(โปรดดูแผนภาพที่ 8)
ด้วยเหตุนี้ กรอบการวิจัยเชิงปริมาณที่พัฒนาขึ้นจึงกำหนดให้ ตัวแปรต้น (independent variable)
คือ โครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง ที่มุ่งถ่ายทอดความรู้และพัฒนาทักษะความเป็นพลเมืองให้แก่
ประชากร ตัวแปรตาม (dependent variable) คือ คะแนนความเป็นพลเมืองตระหนักรู้ และคะแนนความ
เป็นพลเมืองกระตือรือร้น ส่วนตัวแปรอื่นๆที่อาจส่งอิทธิพลต่อคะแนนความเป็นพลเมืองตามทฤษฎี
ซึ่งประกอบด้วย ตัวแปรเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ จะกำหนดให้เป็นตัวแปรแทรกซ้อน
(extraneous variable)
ตัวแปรต้น: โครงการปฏิบัติการ ตัวแปรตาม:
เสริมสร้างพลังพลเมือง 1.คะแนนความเป็น
พลเมืองตระหนักรู้
2.คะแนนความเป็น
พลเมืองกระตือรือร้น
ตัวแทรกซ้อน: เพศ ช่วงอายุ ระดับ
การศึกษา อาชีพ
44