Page 75 - kpi21595
P. 75
เกี่ยวกับปฏิบัติการเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองของหน่วยงานราชการอื่นๆที่ผู้วิจัยได้มาจากการสำรวจ
แผนพัฒนาอำเภอและข้อบัญญัติด้วยว่าในสายตาของพวกเขาแล้ว โครงการเหล่านั้นสร้างให้เกิดความ
เปลี่ยนแปลงกับตัวเขาเองและชุมชนอย่างไรบ้าง อันจะสะท้อนให้เห็นอิทธิพลเชิงโครงสร้างการเมืองเศรษฐกิจ
และสังคมในฐานะสภาพแวดล้อมที่อาจมีผลต่อความคิดและพฤติกรรมของคนในชุมชนได้ชัดเจนมากขึ้น
สำหรับวิธีการคัดเลือกประชากรตัวอย่างสำหรับสัมภาษณ์นั้น ผู้วิจัยจะคัดเลือกจากรายชื่อที่มีอยู่ใน
บัญชีรายชื่อของกลุ่มตัวอย่างชุดเดียวกันกับที่เก็บแบบสอบถาม โดยเลือกเฉพาะบัญชีรายชื่อกลุ่มตัวอย่างของ
อำเภอนำร่องที่กำหนดให้เป็นอำเภอเป้าหมายสำหรับศึกษาเชิงลึกจากค่าสถิติมาเพื่อคัดเลือกเฉพาะรายชื่อที่อยู่
ในตำบลที่คัดเลือกแล้วว่าแกนนำพลเมืองได้มีปฏิบัติการบางอย่างเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในระดับ
พื้นที่เท่านั้น เมื่อได้รายชื่อกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมาแล้วผู้วิจัยจะใช้การสุ่มอย่างง่าย โดยคัดเลือกมา 5 รายชื่อต่อ
อำเภอเพื่อทำการสัมภาษณ์เชิงลึกต่อไป อย่างไรก็ตาม หากพบว่าไม่มีรายชื่อกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มเลือกจากบัญชี
รายชื่อเมื่อลงพื้นที่สัมภาษณ์ อาจเนื่องมาจากการไปทำงานต่างพื้นที่ การย้ายที่อยู่ หรือการเสียชีวิต เป็นต้น
ผู้วิจัยจะใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีเพศและระดับอายุใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างดังกล่าวเพื่อสัมภาษณ์ต่อไป
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เนื่องจากการศึกษาเชิงคุณภาพของรายงานวิจัยฉบับนี้มุ่งดำเนินการกับ 3 กลุ่มตัวอย่าง ซึ่งแต่ละกลุ่มก็
มีความแตกต่างกันในเรื่องของความสามารถในการให้ข้อมูล ระยะเวลาที่สะดวกในการให้ข้อมูล และลักษณะ
ข้อมูลที่ผู้วิจัยต้องการจากกลุ่มตัวอย่างนั้นๆ ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงเลือกใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบผสมผสาน
ระหว่าง การสัมภาษณ์ (interview) การจัดสนทนากลุ่มตัวอย่าง (focus group) และการสำรวจเอกสารที่
เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงความเหมาะสมกับลักษณะเฉพาะของแต่ละกลุ่มตัวอย่างเป็นหลัก และด้วยวิธีการเก็บ
ข้อมูลที่หลากหลายข้างต้นจึงส่งผลต่อเครื่องมือที่ผู้วิจัยจะเลือกใช้ในการเก็บข้อมูลให้แตกต่างกันออกไปตาม
รูปแบบวิธีการเก็บข้อมูล กล่าวคือ กรณีของการสัมภาษณ์นั้นผู้วิจัยจะใช้ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง
(semi-structured interview) เป็นเครื่องมือหลักในการเก็บข้อมูล ส่วนการจัดสนทนากลุ่มนั้นผู้วิจัยจะเลือกใช้
แนวทางในการจัดสนทนากลุ่มเป็นเครื่องมือหลักในการเก็บข้อมูล ดังที่กล่าวไปแล้วว่าการศึกษาเชิงคุณภาพจะ
ดำเนินการกับอำเภอนำร่องอย่างน้อย 3 อำเภอที่ได้คะแนนความเป็นพลเมืองเปลี่ยนแปลงไปมาก ปานกลาง
และน้อย ดังนั้น ข้อมูลที่เก็บจากกลุ่มตัวอย่างนอกจากจะต้องตอบวัตถุประสงค์การวิจัยทั้งสองข้อแล้วยังต้อง
สามารถเปรียบเทียบกันได้เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลในส่วนสุดท้าย
ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาเครื่องมือข้างต้นสามารถตอบวัตถุประสงค์ในการวิจัยได้อย่างแท้จริงและมี
กรอบคิดเพื่อใช้ในการพัฒนาแบบสัมภาษณ์และแนวทางการจัดสนทนากลุ่มให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อ
ตอบวัตถุประสงค์หลักตลอดจนเพื่อให้ข้อมูลที่ศึกษาสามารถนำมาวิเคราะห์ร่วมกันและเทียบกันได้ในภายหลัง
ผู้วิจัยจึงได้พัฒนากรอบคำถามหลักและคำถามรองขึ้นชุดหนึ่งเพื่อใช้เป็นฐานคิดในการพัฒนาเครื่องมือสำหรับ
เก็บข้อมูลดังกล่าวต่อไป โดยกรอบคำถามดังกล่าวจะได้รับการตรวจสอบโดยกรรมการกำกับโครงการวิจัย
ผู้ทรงคุณวุฒิก่อนการใช้งานจริง
64