Page 76 - kpi21595
P. 76

การพัฒนากรอบคำถามสำหรับการศึกษาเชิงคุณภาพครั้งนี้ เริ่มต้นจากการพิจารณาวัตถุประสงค์ของ

               การวิจัยทั้ง 2 ประการเป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วย 1) การศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับพลเมืองที่เข้าร่วม
               โครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองในพื้นที่บูรณาการ และ 2) เพื่อศึกษาเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งเสริมหรือ

               ขัดขวางต่อการสร้างความเป็นพลเมืองในระดับพื้นที่ โดยผู้วิจัยจะกำหนด “คำถามหลัก” จากประเด็นสำคัญที่

               วัตถุประสงค์การวิจัยแต่ละข้อต้องการทราบ จากนั้นจะกำหนด “คำถามรอง” ที่สามารถตอบการเปลี่ยนแปลง
               ตามกรอบของคำถามหลักได้ เมื่อได้คำถามรองแล้วผู้วิจัยจะแปลงคำถามรองให้เป็นภาษาพูดเพื่อใช้เป็นแนว

               “คำถามในการสัมภาษณ์” ตลอดจนเพื่อพัฒนาเป็นแนวทางในการจัดสนทนากลุ่มต่อไป โดยผู้วิจัยจะเพิ่มเติม
               ประเด็นเรื่องหลักฐานเชิงประจักษ์ที่บางคำถามสามารถเชื่อมโยงไปถึงหลักฐานดังกล่าวได้เอาไว้ด้วยเพื่อเป็น

               แนวทางสำหรับการสำรวจเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้อง จากวิธีการพัฒนากรอบคำถามสำหรับการศึกษา

               เชิงคุณภาพข้างต้นจะทำให้วิธีการเก็บข้อมูลทั้ง 3 รูปแบบมีแนวทางการพัฒนาเครื่องมือสำหรับเก็บข้อมูล
               ในพื้นที่อย่างชัดเจนและสามารถนำมาวิเคราะห์ร่วมกันต่อไปได้

                       ในส่วนของคำถามหลักและคำถามรองที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากวัตถุประสงค์ในการวิจัยทั้ง 2 ข้อ มีดังนี้
                       1) คำถามหลักที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เรื่องความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมือง

               ในส่วนนี้ประเด็นหลักคือ “ความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมือง” ซึ่งจากกรอบการวิจัยแบ่งความเปลี่ยนแปลง

               ความเป็นพลเมืองออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ “พลเมืองตระหนักรู้” ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของ
               ความรู้ ความสนใจ ความเข้าใจต่อหลักประชาธิปไตย และมีความมั่นใจในตนเอง และ “พลเมืองกระตือรือร้น”

               ซึ่งต้องมีความเปลี่ยนแปลงเรื่องการมีพฤติกรรมหรือมีการแสดงออกซึ่งความเป็นพลเมืองทางสังคมและทางการ

               เมือง ดังนั้น คำถามหลักที่กำหนดขึ้นตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 จึงเน้นไปที่ความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมือง
               ทั้ง 2 ประเภทที่เกิดขึ้นกับประชากรระดับต่างๆตั้งแต่แกนนำพลเมือง ประชากรในอำเภอนำร่อง ตำบลที่มี

               ปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองโดยแกนนำพลเมือง และการเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองในระดับอำเภอ
               โดยมีคำถามอยู่ว่า “อำเภอนำร่อง/ตำบลในอำเภอนำร่อง/แกนนำของอำเภอนำร่อง/ประชากรในอำเภอนำร่อง

               (ซึ่งคัดเลือกมาจากค่าสถิติจำนวนอย่างน้อย 3 แห่ง) มีการเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองอะไรบ้าง” ตามนิยาม

               ความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และพลเมืองกระตือรือร้นข้างต้น
                       จากคำถามหลักข้างต้น นำมาสู่คำถามรองในเรื่องของความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองที่เกิดขึ้นกับ

               อำเภอนำร่อง/ตำบลในอำเภอนำร่อง/แกนนำของอำเภอนำร่อง/ประชากรในอำเภอนำร่องแตกต่างกันออกไป
               แต่ยังคงสอดคล้องกับคำถามหลัก ดังนี้ ในส่วนของอำเภอนำร่องและตำบลในอำเภอนำร่อง คำถามรองที่

               ชี้ให้เห็นความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองตามกรอบคำถามหลัก มีอาทิ เรื่องความสนใจในการผลักดัน

               สนับสนุนโครงการ/นโยบายเพื่อส่งเสริม สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ ความรับผิดชอบ และศักยภาพ ของคนในชุมชน
               ในระดับอำเภอ ระหว่างปี 2559-2561 ในระดับอำเภอ/ตำบล มีการบรรจุโครงการในลักษณะดังกล่าวใน

               แผนพัฒนาอำเภอหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือไม่ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นมีความสนใจหรือมีการผลักดัน

               ข้อเสนอเชิงนโยบายเกี่ยวกับโครงการในลักษณะดังกล่าวต่ออำเภอหรือจังหวัดบ้างหรือไม่ เป็นต้น ขณะที่ด้าน
               แกนนำพลเมืองและประชากรในอำเภอนำร่องนั้น คำถามรองตามกรอบของคำถามหลักที่สำคัญคือ การที่มี

               ความรู้เกี่ยวกับหลักการประชาธิปไตยและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง การตระหนักในศักยภาพ


                                                                                                        65
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81