Page 77 - kpi21595
P. 77
ของตน และการตระหนักในความสำคัญของหลักการประชาธิปไตยที่เพิ่มมากขึ้นหรือไม่ ตลอดจนมีความกล้า
ในการแสดงความคิดเห็น มีใจอาสาช่วยเหลือกิจกรรมในชุมชน มีการเข้าร่วมกลุ่ม/องค์กรในชุมชนที่เกี่ยวข้อง
กับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาในชุมชนหรือมีการผลักดันให้เกิดกลุ่ม/องค์กร/กิจกรรมเพื่อพัฒนาและแก้ไข
ปัญหาในชุมชนหรือไม่ เป็นต้น
ในส่วนของแนวทางการพัฒนาคำถามเพื่อใช้ในการสัมภาษณ์หรือจัดสนทนากลุ่มนั้น มีอาทิ “ใน
อำเภอ/ตำบล/ชุมชนของท่านมีโครงการ/นโยบายเพื่อส่งเสริม สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ ความรับผิดชอบ และ
ศักยภาพ ของคนในชุมชนในระดับอำเภอ ระหว่างปี 2559-2561 มากน้อยแค่ไหน อะไรบ้าง” หรือ “ใน
หมู่บ้านของท่านมีโครงการที่เป็นไปเพื่อส่งเสริมสิทธิความเท่าเทียมโดยหน่วยงานภาครัฐบ้างหรือไม่อะไรบ้าง”
“ท่านคิดว่าพลเมืองคือใคร สำคัญอย่างไร” “ภายหลังการอบรม/เข้าร่วมโครงการ ท่านมีความรู้ ตระหนักใน
ศักยภาพของตน และตระหนักในความสำคัญของหลักการประชาธิปไตยเพิ่มมากขึ้นหรือไม่” “ท่านเข้าร่วม
ประชาคมหมู่บ้านทุกครั้งหรือไม่ เพราะอะไร และในการประชุมประชาคมหมู่บ้านท่านมีการแสดงความคิดเห็น
หรือไม่” “ท่านได้ร่วมกับผู้อื่นเพื่อพัฒนาแก้ไขปัญหาชุมชนหรือไม่” และ “ท่านเป็นอาสาสมัครในกิจกรรม/
กลุ่มองค์กรต่างๆในชุมชนบ้างหรือไม่อะไรบ้าง” เป็นต้น
สำหรับเอกสารหลักฐานที่สามารถนำมาใช้ประกอบการวัดความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองของ
ประชากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีอาทิ แผนพัฒนาอำเภอ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับอำเภอระหว่างปี
2559-2561 เอกสารข้อบัญญัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระหว่างปี 2559-2561 ธรรมนูญหมู่บ้าน และ
ธรรมนูญตำบล เป็นต้น
2) คำถามหลักที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ในเรื่องเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อ
การสร้างความเป็นพลเมืองในระดับพื้นที่ ผู้วิจัยกำหนดขึ้นมาจากเงื่อนไขปัจจัยที่ได้รับการระบุไว้ในการศึกษา
เชิงปริมาณและจากกรอบการวิจัยที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมาจากทฤษฎีระบบซึ่งระบุถึงเงื่อนไขปัจจัยที่พึงให้
ความสำคัญเอาไว้ 3 เรื่องคือปัจจัยนำเข้า (input) กระบวนการ (process) และสภาพแวดล้อม
(environment) ซึ่งในที่นี้คือสภาพแวดล้อมทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง จึงทำให้กรอบคำถามหลัก
ที่มุ่งตอบวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 มีดังนี้ “ปัจจัยด้านเพศสภาพ/ช่วงอายุ/ระดับการศึกษา/อาชีพ/วัฒนธรรมการขัด
เกลาทางสังคม/เศรษฐกิจ/การเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตระหนักรู้และการแสดงออกซึ่งความเป็นพลเมือง
หรือไม่” โดยในส่วนของปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมนั้นผู้วิจัยได้จำแนกออกมาเป็น เงื่อนไขด้านการสื่อสารใน
ชุมชน การมีพื้นที่ให้พูดคุยแลกเปลี่ยนกันในชุมชน การมีกลุ่มองค์กรที่เป็นไปเพื่อส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและการมี
ส่วนร่วมของคนในชุมชน เงื่อนไขด้านกิจกรรมส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระดับชุมชน เงื่อนไขด้าน
ประสบการณ์ที่ประชากรในพื้นที่เป้าหมายสัมผัสเมื่อเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมือง รวมไปถึงเงื่อนไขด้านความรู้
และปัจจัยภายในบุคคลในเรื่องความสนใจและความกล้าแสดงออกเฉพาะบุคคลเป็นต้น
สำหรับคำถามรองที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากกรอบคำถามหลักข้างต้น มีอาทิ “ท่านคิดว่าการเข้าร่วม
กิจกรรมทางการเมืองเป็นหน้าที่ของผู้ชาย” “ท่านคิดว่าการทำกิจกรรมในชุมชนเป็นหน้าที่ของพ่อแม่” “คนที่มี
การศึกษาสูงมักจะมีความคิดดีกว่าคนที่มีการศึกษาต่ำเสมอ” “กลุ่ม อสม. มักเป็นแกนนำสำคัญในการเข้าร่วม
กิจกรรมต่างๆในชุมชน” “ชาวบ้านมาร่วมกิจกรรมไม่ได้เพราะเป็นหน้าทำนา” “การมีส่วนร่วมทางการเมือง
66