Page 92 - kpi21595
P. 92
ขณะที่ตัวแปรด้านการเข้าร่วมโครงการกับสถาบันพระปกเกล้า นับเป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่ผลการศึกษา
ชี้ให้เห็นว่าตัวแปรดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับคะแนนความเป็นพลเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ
เนื่องจากมีค่า Sig. น้อยกว่า .05 อย่างไรก็ตามค่า B ของตัวแปรด้านการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมความเป็น
พลเมืองในระยะที่ 2 กลับมีค่าติดลบ -.736 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตัวแปรต้นและตัวแปรตามจะมีทิศทางที่ตรงกัน
ข้ามกัน ในที่นี้กล่าวคือแม้กลุ่มตัวอย่างอาจจะเคยเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองในระยะที่ 2
ของแกนนำพลเมือง แต่สิ่งนั้นไม่ใช่ปัจจัยที่จะส่งผลต่อคะแนนความเป็นพลเมืองที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ทั้งยังอาจลดลงอีกด้วย ซึ่งเรื่องนี้จำเป็นต้องได้รับการศึกษาในเชิงลึกต่อไปว่าเพราะเหตุใด
ส่วนตัวแปรสุดท้ายที่ผลจากการศึกษาชี้ให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์กับคะแนนความเป็นพลเมืองที่
เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากมีค่า Sig. น้อยกว่า .05 ก็คือตัวแปรด้านการศึกษาระดับอาชีวะศึกษา
ซึ่งมีค่า B เป็นบวกที่ .669 ในที่นี้แสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวแปรที่มีระดับการศึกษาอาชีวะศึกษาหากเทียบกับกลุ่ม
ตัวแปรที่มีระดับการศึกษาประถมศึกษาแล้วจะมีคะแนนความเป็นพลเมืองที่สูงกว่า อย่างไรก็ตาม เมื่อ
พิจารณาตัวแปรด้านระดับการศึกษาในภาพรวมกลับไม่พบว่าระดับการศึกษาอื่นๆส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลง
คะแนนความเป็นพลเมืองอย่างมีนัยสำคัญแต่อย่างใด จึงสรุปได้ว่าระดับการศึกษาโดยรวมแล้วไม่ได้ส่งผลต่อ
การเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองอย่างมีนัยสำคัญ
ในส่วนของคะแนนความเป็นพลเมืองกระตือรือร้นที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อทำการศึกษาสหสัมพันธ์ด้วย
ตัวแปรชุดใหญ่ พบว่าผลการศึกษาที่ได้ ระบุไปในทิศทางเดียวกันว่ากลุ่มตัวอย่างที่อยู่ภายใต้ปฏิบัติการ
เสริมสร้างพลังพลเมืองในระยะแรกซึ่งได้รับการอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้าจะมีคะแนนความเป็น
พลเมืองกระตือรือร้นที่สูงกกว่ากลุ่มตัวอย่างที่คาดว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองจากปฏิบัติการ
ขยายผลการสร้างความเป็นพลเมืองโดยแกนนำพลเมืองในระยะที่สอง อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า
ตัวแปรอื่นไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เพศสภาพ ช่วงอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ การรู้จักหรือไม่รู้จักสถาบัน
พระปกเกล้า และการเข้าร่วมกิจกรรมของแกนนำพลเมืองนั้น ไม่มีความสัมพันธ์กับคะแนนความเป็นพลเมือง
กระตือรือร้นที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างชุดตัวแปรข้างต้นกับ
คะแนนความเป็นพลเมืองกระตือรือร้นปรากฏดังตารางที่ 7
ตารางที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองกระตือรือร้นกับโครงการ
ปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2
Standardized
Unstandardized Coefficients Coefficients
Model B Std. Error Beta T Sig.
(Constant) 5.904 .467 12.633 .000
กลุ่มที่อบรมโดยตรงจาก 2.779 .359 .445 7.739 .000
สถาบันฯ (ระยะที่1)
เพศชาย -.019 .101 -.005 -.185 .853
อายุ .015 .026 .115 .566 .571
81