Page 94 - kpi21595
P. 94

เปลี่ยนแปลงคะแนนความเป็นพลเมืองอย่างมีนัยสำคัญ แต่ตัวแปรที่ส่งผลต่อการสร้างความเปลี่ยนแปลงความ

               เป็นพลเมืองให้เพิ่มขึ้นอย่างสำคัญก็คือ โครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองในส่วนของการดำเนินการ
               “ระยะแรก” ที่กลุ่มตัวอย่างจะได้รับการอบรมความรู้เรื่องความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยและ

               พัฒนาทักษะในการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างเหมาะสมจากสถาบันพระปกเกล้าโดยตรง กับตัวแปรด้านการ

               รู้จักสถาบันพระปกเกล้าที่สามารถสร้างให้เกิดความแตกต่างระหว่างคะแนนความเป็นพลเมืองของกลุ่ม
               ตัวอย่างที่ไม่ได้รับการอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้าได้อย่างมีนัยสำคัญ แม้ผลการศึกษาจะชี้ให้เห็นว่า

               กลุ่มตัวอย่างที่ระบุว่ารู้จักสถาบันพระปกเกล้า สุดท้ายจะมีคะแนนที่สูงกว่ากลุ่มที่ระบุว่าไม่รู้จักสถาบัน
               พระปกเกล้าอย่างมีนัยสำคัญเพียง .12 (ค่า Beta) เท่านั้น ซึ่งไม่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงคะแนนความเป็น

               พลเมืองของกลุ่มตัวอย่างทั้วไปที่เพิ่มขึ้นในภาพรวม เพราะสุดท้ายคะแนนเฉลี่ยความเป็นพลเมืองของกลุ่ม

               ตัวอย่างหวังผลจากปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองในระยะที่ 2 ของแกนนำพลเมืองก็ยังลดลงทุกด้าน
               อย่างไรก็ตาม สิ่งนี้ได้ยืนยันให้เห็นว่าโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองนั้นสามารถสร้างความ

               เปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองให้แก่กลุ่มตัวอย่างที่อยู่ภายใต้ปฏิบัติการดังกล่าวได้ ภายใต้เงื่อนไขสำคัญคือ
               ปฏิบัติการดังกล่าวจะต้องดำเนินการถ่ายทอดความรู้และพัฒนาทักษะโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้า

               เนื่องจากผลการศึกษาเชิงปริมาณนั้นชี้ให้เห็นแล้วว่าโครงการในระยะที่ 2 ซึ่งเป็นการขยายผลการดำเนินการ

               โดยแกนนำพลเมืองในระดับพื้นที่ยังไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองให้แก่คนในพื้นที่ได้
               อย่างมีนัยสำคัญ

                       จากข้างต้น แสดงให้เห็นว่า “ความเป็นพลเมือง” สามารถเสริมสร้างและพัฒนาขึ้นได้โดยการเสริม

               ความรู้และพัฒนาทักษะเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยควบคู่กับการส่งเสริมปฏิบัติ อย่างไร
               ก็ตาม การสร้างสำนึกพลเมืองให้แก่คนในสังคมก็ยังเป็นสิ่งที่ท้าทายอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้ว่าแม้ภายใต้

               ปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองในระยะที่ 1 ในการสร้างแกนนำพลเมืองจะประสบความสำเร็จ แต่ปฏิบัติการ
               ในการเสริมสร้างพลังพลเมืองในระยะที่ 2 ที่แกนนำพลเมืองเผยแพร่ความรู้เรื่องพลเมืองและความสำคัญของ

               พลเมืองในระบอบประชาธิปไตยสู่คนในชุมชนนั้นกลับไม่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองได้

               จึงมีความน่าสนใจว่ามีเงื่อนไขปัจจัยใดที่ขัดขวางต่อปฏิบัติการดังกล่าว มีเงื่อนไขปัจจัยใดบ้างหรือไม่ที่จะ
               ส่งเสริมต่อการสร้างสำนึกพลเมืองได้นอกเหนือจากการส่งเสริมการศึกษาเรื่องความเป็นพลเมืองโดยตรงจาก

               สถาบันพระปกเกล้า เพื่อให้การสร้างสำนึกพลเมืองสามารถขยายไปได้อย่างรวดเร็ว กว้างไกลและมี
               ประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงมุ่งแสวงหาเงื่อนไขปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการสร้างสำนึกพลเมืองไว้

               ภายในงานวิจัยชิ้นนี้ด้วย เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาโครงการเพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองต่อไป โดยผล

               การศึกษาเงื่อนไขปัจจัยดังกล่าวจะนำมากล่าวถึงในส่วนถัดไป










                                                                                                        83
   89   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99