Page 96 - kpi21595
P. 96
มีการเปลี่ยนแปลงคะแนนความเป็นพลเมือง “มาก” ที่สุด “ปานกลาง” และ “น้อย”ที่สุด เป็นอำเภอ
เป้าหมายสำหรับศึกษาเชิงคุณภาพต่อไป
สำหรับสาเหตุที่ผู้วิจัยต้องจัดกลุ่มอำเภอนำร่องตามการเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองที่เกิดขึ้นแม้ว่า
ในภาพรวมคะแนนความเป็นพลเมืองทั้ง 8 ด้าน และคะแนนความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และกระตือรือร้นของ
กลุ่มตัวอย่างในระดับอำเภอจะลดลงทุกด้านนั้นเป็นเพราะผู้วิจัยเชื่อว่าการจำแนกกลุ่มอำเภอเพื่อให้เห็นระดับ
ความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองที่เกิดขึ้นเมื่อเปรียบเทียบระหว่างอำเภอนำร่องอาจช่วยให้การศึกษาเชิง
ลึกในระดับพื้นที่พบเงื่อนไขปัจจัยบางประการที่แตกต่างกันออกไป ระหว่างอำเภอนำร่องที่มีการเปลี่ยนแปลง
ความเป็นพลเมืองมากที่สุด อำเภอที่ไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง และอำเภอที่มีการเปลี่ยนแปลงความเป็น
พลเมืองน้อยที่สุด
โดยในการคัดเลือกอำเภอเป้าหมายนั้น ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างความเปลี่ยนแปลง
ความเป็นพลเมืองในระดับอำเภอกับตัวแปรชุดใหญ่ ซึ่งประกอบด้วย ตัวแปรด้านเพศ อายุ อาชีพ การรู้จัก
สถาบันพระปกเกล้า การเข้าร่วมกิจกรรมกับสถาบันพระปกเกล้าของแกนนำพลเมืองในระยะที่ 2 และอำเภอ
นำร่องในโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองทั้ง 10 อำเภอในจังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งผลการวิเคราะห์ที่ได้
ชี้ให้เห็นว่าภายใต้ตัวแปรควบคุมด้านเพศ ช่วงอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพนั้น กลุ่มตัวอย่างที่มีเพศเดียวกัน
ช่วงอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพเดียวกัน แต่อยู่ต่างอำเภอกัน มีความเปลี่ยนแปลงของคะแนนความเป็น
พลเมืองแตกต่างกันออกไป สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม โดยพิจารณาจากค่า t กล่าวคือหากค่า t สูงกว่า
1.96 แสดงให้เห็นว่าอำเภอนั้นมีคะแนนความเป็นพลเมืองเปลี่ยนแปลงไปมากเมื่อเทียบกับอำเภอเสลภูมิที่ถูก
ใช้เป็นฐานในการอ้างอิง เนื่องจากมีค่าสัมประสิทธิ (coefficient) อยู่ลำดับกลางระหว่างอำเภอนำร่องอื่นๆ แต่
หากอำเภอนั้นมีค่า t อยู่ระหว่าง 1.96 ถึง -1.96 แสดงให้เห็นว่าอำเภอนั้นมีคะแนนความเป็นพลเมือง
เปลี่ยนแปลงไปในระดับปานกลาง แต่หากอำเภอใดมีคะแนนความเป็นพลเมืองเปลี่ยนแปลงไปน้อยกว่า -1.96
แสดงให้เห็นว่าอำเภอนั้นมีการเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองน้อยภายหลังมีปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมือง
เมื่อพิจารณาจากค่า t ตามที่ระบุไว้จึงสามารถจัดกลุ่มอำเภอที่มีการเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองตระหนักรู้
และพลเมืองกระตือรือร้นได้ 3 กลุ่มดังตารางที่ 8 ซึ่งผู้วิจัยเรียงลำดับไว้ตามค่า T ที่ได้จากมากไปน้อย จากนั้น
จึงหาอำเภอที่มีการเปลี่ยนแปลงคะแนนความเป็นพลเมืองมากที่สุดและน้อยที่สุดโดยนำค่า T ของแต่ละอำเภอ
ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการมาลบกันเพื่อค่าคะแนนที่เปลี่ยนแปลงไปของแต่ละอำเภอ เมื่อกระทำตามทุก
ขั้นตอนเรียบร้อยแล้ว ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองในระดับอำเภอ
เปรียบเทียบก่อนและหลังมีปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองสามารถแสดงได้ตารางที่ 8
85