Page 95 - kpi21595
P. 95

เงื่อนไขปัจจัยที่ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการสร้างความเป็นพลเมืองในระดับพื้นที่

                       จากผลการวิเคราะห์แบบสอบถามข้างต้นที่ชี้ให้เห็นว่ากลุ่มเป้าหมายที่อยู่ภายใต้ปฏิบัติการเสริมสร้าง
               พลังพลเมืองในระยะแรกนั้นมีคะแนนความเป็นพลเมืองสูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่อยู่ภายใต้ปฏิบัติการเสริมสร้าง

               พลังพลเมืองในระยะที่สอง ซึ่งความแตกต่างกันของปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองทั้ง 2 ระยะนั้นอยู่ที่เรื่อง

               ของการจัดอบรมให้ความรู้และพัฒนาทักษะความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยโดยตรงจากสถาบัน
               พระปกเกล้า ที่จะมีเพียงกลุ่มตัวอย่างที่เข้าร่วมปฏิบัติการในระยะแรกเท่านั้นที่ได้รับการอบรมดังกล่าว ส่วน

               กลุ่มตัวอย่างที่อยู่ภายใต้ปฏิบัติการเสริมสร้างพลังพลเมืองในระยะที่สองจะเป็นกลุ่มตัวอย่างที่คาดหวังว่าจะ
               ได้รับการสร้างความเป็นพลเมืองต่อไปโดยแกนนำพลเมืองที่ได้รับการอบรมโดยตรงจากสถาบันพระปกเกล้าใน

               ระยะแรก ด้วยเหตุนี้ จากผลการศึกษาจึงอนุมานได้ว่า “การอบรมสำนึกพลเมือง” โดยตรงจากสถาบัน

               พระปกเกล้าเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองแก่คนในพื้นที่
                       ขณะที่ผลการศึกษาสหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านอื่นกับการสร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมือง

               ไม่ว่าจะเป็นเงื่อนไขด้านเพศ ช่วงอายุ ระดับการศึกษาและอาชีพ ก็พบว่าปัจจัยข้างต้นไม่มีความสัมพันธ์กับการ
               สร้างความเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แม้จะพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีระดับ

               การศึกษาอาชีวะศึกษานั้นอาจจะมีคะแนนความเป็นพลเมืองตระหนักรู้สูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีการศึกษาระดับ

               ประถมศึกษา กระนั้น เมื่อพิจารณาในภาพรวมของปัจจัยด้านการศึกษากลับไม่พบว่ากลุ่มตัวอย่างในระดับ
               การศึกษาอื่นมีการเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองไปอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงกล่าวได้ ปัจจัยด้านเพศชาย

               เพศหญิง มีระดับการศึกษาใดประถมศึกษาหรือสูงกว่าประถมศึกษา ประกอบอาชีพหรือว่างงาน หรือมีช่วง

               อายุเท่าใด ไม่ถือเป็นเงื่อนไขปัจจัยที่จะขัดขวางต่อการเรียนรู้และพัฒนาสำนึกความเป็นพลเมือง
                       จากผลการศึกษาข้างต้น นำมาสู่คำถามที่สำคัญคือ เพราะเหตุใดโครงการปฏิบัติการเสริมสร้างพลัง

               พลเมืองในระยะที่ 2 จึงไม่สามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงความเป็นพลเมืองตระหนักรู้และกระตือรือร้นให้แก่
               กลุ่มตัวอย่างได้ มีเงื่อนไขปัจจัยใดที่ขัดขวางกระบวนการสร้างความเป็นพลเมืองดังกล่าว จากกรอบการวิจัยที่

               ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นสำหรับการศึกษาครั้งนี้ระบุเงื่อนไขปัจจัยไว้อย่างน้อยสามประการคือ เงื่อนไขด้านปัจจัย

               นำเข้า (input) กระบวนการ (process) และสภาพแวดล้อม (environment) ซึ่งยังสามารถแบ่งออกได้เป็น
               สภาพแวดล้อมทางด้านสังคมเศรษฐกิจและการเมือง รวมไปถึงเงื่อนไขด้านสภาพจิตใจซึ่งได้รับผลกระทบจาก

               สภาพแวดล้อมเหล่านั้นและอาจมีอิทธิพลต่อแรงจูงใจทางการเมือง (political motivation) ของกลุ่มตัวอย่าง
               ในการเข้าไปมีส่วนร่วมหรือไม่มีส่วนร่วมทางการเมือง เป็นต้น ดังนั้น เพื่อให้ทราบว่าเงื่อนไขปัจจัยเหล่านั้น

               ส่งเสริมหรือขัดขวางต่อการสร้างความเป็นพลเมือง จึงจำเป็นต้องทำการศึกษาเชิงคุณภาพในระดับพื้นที่

                       อย่างไรก็ตาม ก่อนทำการศึกษาเชิงคุณภาพในระดับพื้นที่นั้น ผู้วิจัยได้ทำการคัดเลือกอำเภอเป้าหมาย
               สำหรับการศึกษาเชิงลึกจาก 10 อำเภอนำร่อง โดยพิจารณาจากคะแนนความเป็นพลเมืองที่เปลี่ยนแปลงไป

               ของกลุ่มตัวอย่างระหว่างอำเภอนำร่องทั้งหมดเปรียบเทียบกันระหว่างก่อนมีการขยายผลการสร้างความเป็น

               พลเมือง (ปี 2559) และหลังจากที่แกนนำพลเมืองได้มีปฏิบัติการเสริมสร้างความเป็นพลเมืองบางอย่างใน
               ระดับพื้นที่เรียบร้อยแล้ว (ปี 2561)  เพื่อจำแนกกลุ่มอำเภอนำร่องออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มอำเภอที่มีการ

               เปลี่ยนแปลงคะแนนความเป็นพลเมืองในระดับ “มาก” “ปานกลาง” และ “น้อย” จากนั้นจึงคัดเลือกอำเภอที่


                                                                                                        84
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100