Page 131 - 21736_Fulltext
P. 131
110
(Interview guidelines) จะเน้นที่การประเมินความสำเร็จของการไกล่เกลี่ยในสถานศึกษา ปัจจัยแห่ง
ความสำเร็จของการไกล่เกลี่ยในสถานศึกษา รวมถึงข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนางานด้านการไกล่เกลี่ยโดย
คนกลาง ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) โดยเชื่อมโยง
เข้ากับแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องว่ามีความสอดคล้องหรือแตกต่างกัน โดยมีระยะเวลาในการ
ศึกษาวิจัย จำนวน 2 ปี ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2556 - วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2558
ผลการวิจัยแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ สำรวจความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางใน
สถานศึกษาและปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางในสถานศึกษา
5.1 สำรวจความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางในสถานศึกษา
5.1.1 ความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางในสถานศึกษาพิจารณาได้จากหลายแง่มุม
ดังนี้
ความขัดแย้งบางเรื่องสามารถไกล่เกลี่ยได้ในสถานศึกษา บางเรื่องไม่ควรนำมาไกล่เกลี่ยใน
สถานศึกษา ประสบการณ์ในต่างประเทศก็มีความแตกต่างกันในรายละเอียด แต่เรื่องที่สอดคล้องกัน
เช่น ไม่ควรไกล่เกลี่ยในเรื่องยาเสพติด เรื่องที่เป็นความขัดแย้งรุนแรงถึงขนาดมีการเสียชีวิต
ความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางในสถานศึกษาพิจารณาได้จากหลายแง่มุม ดังนี้
1. กรณีความขัดแย้งน้อยลง สถิติการทะเลาะวิวาทในโรงเรียนน้อยลง จำนวนเรื่องที่เข้ามาใน
ระบบการไกล่เกลี่ยมีจำนวนน้อยลง ถ้ามีเรื่องที่ต้องไกล่เกลี่ยมาก ต้องพิจารณาว่าเกิดอะไรขึ้น
อาจจะสันนิษฐานว่าเด็กว่างเกินไปหรือไม่ ต้องให้เด็กได้ทำกิจกรรมเพื่อไม่ให้มีเวลาว่าง เช่น แข่งฟุต
ซอล ประกวดร้องเพลง ในช่วงเปิดเทอมมานั้นสถานศึกษาบางแห่งจะมีการอบรมคุณธรรมเชิงบวก
ก่อน เพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องวินัยและผลของการฝ่าฝืน ส่งผลให้การทะเลาะวิวาทลดลง
2. กระบวนการได้พูดคุยกันมากขึ้น มีการนำปัญหามาคุยกัน พิจารณาสาเหตุ หาวิธีการแก้ไข
มีกระบวนการยอมรับเหตุผล หรือข้อเสนอได้โดยไม่ใช้การบังคับ ผู้ไกล่เกลี่ยสามารถพูดให้คู่กรณีได้ใช้
ความคิดมากขึ้น
3. ผลลัพธ์ ความพึงพอใจของคู่กรณีทั้ง 2 ฝ่าย เข้าใจกัน ไม่ผิดใจกัน ทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับ
ข้อตกลงได้ ยอมรับผลของการไกล่เกลี่ยได้เกิดความสามัคคี มีความเป็นมิตรกัน เกิดความสมานฉันท์
กัน ยกตัวอย่างเช่น หลังการไกล่เกลี่ยแล้วจะให้คู่กรณีมีการบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกันตามความสมัคร
ใจของทั้ง 2 ฝ่าย โดยมีการกำหนดระยะเวลา เช่น การล้างห้องน้ำ อีกทั้งมีการทำสนธิสัญญาหลังจาก
การไกล่เกลี่ย เช่น หากมีการทะเลาะวิวาทขึ้นอีก จะหักคะแนน หลังจากไกล่เกลี่ยแล้ว สามารถ
ดำรงชีวิตร่วมกันได้อย่างปกติ เจอหน้ากันได้เหมือนปกติ สามารถพูดคุยกันได้ กลับมาอยู่ร่วมกันได้
อย่างปกติ อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เมื่อคู่กรณีเกิดการทะเลาะวิวาทกันนั้นในช่วงแรกอาจจะมอง
หน้ากันไม่ติด อยู่ในช่วงการปรับตัวเข้าหากัน แต่หลังจากที่ได้มีการไกล่เกลี่ยแล้วทั้ง 2 ฝ่ายก็สามารถ