Page 132 - 21736_Fulltext
P. 132
111
กลับมาอยู่ร่วมกันได้เหมือนเดิม มองหน้ากันได้ แต่ถ้าไม่มีการไกล่เกลี่ยก็อาจจะมองหน้ากันไม่ติด
หลังไกล่เกลี่ยแล้วไม่คิดว่าต้องเอาคืน ไม่เกิดเรื่องขึ้นซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ไม่กลับมาทะเลาะกันอีก ไม่ทำให้
ความขัดแย้งกระจายเป็นวงกว้าง มีการคืนดีกัน เป็นเพื่อนกันต่อไปได้ เรื่องราวยุติลงได้ด้วยดี
4. การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้ไกล่เกลี่ย นักเรียนที่มาไกล่เกลี่ยนั้นกล้าคิดกล้าแสดงออก เกิด
ความภูมิใจ ได้มีการฝึกหัดการไกล่เกลี่ย และมีความรับผิดชอบมากขึ้น
5. ความยั่งยืนในการทำงาน ถ้าเห็นความสำคัญก็จะมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง มีการ
อบรมให้ทีมงานทุกปี รุ่นต่อรุ่น คนกลางต้องได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง มีรุ่นพี่เป็นตัวอย่างให้แก่รุ่น
น้อง ที่นี่ถ้ามีการทะเลาะวิวาทก็จะดำเนินการโดยการเจรจาไกล่เกลี่ย
5.1.2 ประเมินความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยในสถานศึกษา
ผู้ให้ข้อมูลจากทั้ง 4 สถานศึกษา ประเมินหน่วยงานตนเองในด้านความสำเร็จในการไกล่เกลี่ย
ในสถานศึกษาเห็นว่า การไกล่เกลี่ยสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ ถ้าให้เป็นเปอร์เซ็นต์สำเร็จมากกว่า 80%
พิจารณาได้จากจำนวนเรื่องที่ไกล่เกลี่ยสำเร็จ การเกิดเหตุทะเลาะวิวาทลดลง และการได้รับเชิญจาก
ศาลให้ไปสาธิตการไกล่เกลี่ย เป็นการฝึกให้ผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยมีความเป็นผู้นำ เสริมสร้างวินัยให้
นักเรียน มีการอบรมรมจากหน่วยงานต่างๆ ให้ความรู้กับผู้ทำหน้าที่ไกล่เกลี่ย เป็นต้นแบบให้กับ
สถานศึกษาอื่นในการศึกษาดูงาน เกิดความภาคภูมิใจแก่นักเรียนและโรงเรียน สำหรับในการไกล่
เกลี่ยกรณีที่มีผู้ปกครองมาเกี่ยวข้องด้วยก็จะพยายามพูดคุยกับผู้ปกครองก่อน เพราะผู้ปกครองจะ
ช่วยพูดกับลูกหลานด้วย ประเมินจาก บุคลากรมีความตั้งใจในการทำงาน ไม่ค่อยมีปัญหาเกิดขึ้นซ้ำ
สามารถเปิดใจคุยกันได้และอยู่ร่วมกันได้ หลังการ ไกล่เกลี่ย คู่กรณีมีสีหน้ายิ้มแย้ม สามารถจับมือ
ยิ้มให้กันได้ มีแววตาเป็นมิตร มีความสุข เกิดมิตรภาพสามารถอยู่ร่วมกันได้ กลับมาเป็นเพื่อนกัน ไม่
เกิดการทะเลาะวิวาทขึ้นอีก เจอหน้าคุยกันได้ บางรายสนิทกันมากกว่าเดิม ในสถานศึกษาบางแห่ง
ปัจจุบันมีการประเมินจากการทำแบบสอบถามเชิงคุณภาพ มีการประเมินจากการสังเกตวิธีพูดและวิธี
คิด
5.2 ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางในสถานศึกษา
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางในสถานศึกษามีหลายปัจจัย ไม่
สามารถให้ความสำคัญเพียงปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วย
5.2.1 คนกลาง
1. ควรมีความเป็นกลาง รับฟังทั้ง 2 ฝ่ายอย่างเป็นกลาง ยุติธรรม ไม่อคติ ซื่อตรง พิจารณา
ตามความเป็นจริง ไม่ควรมีธงในใจ รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง ไม่ควรเอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง