Page 171 - 21736_Fulltext
P. 171

150



                       2. ความสำเร็จของสถานศึกษาในการไกล่เกลี่ย พิจารณาจากอะไร
                              นนทกาญจน์

                              จุฑามาศ: พิจารณาจากการอยู่ร่วมกัน เมื่อคู่กรณีเกิดการทะเลาะวิวาทกันนั้นในช่วงแรก
                       อาจจะมองหน้ากันไม่ติด แต่หลังจากที่ได้มีการไกล่เกลี่ยแล้วทั้ง 2 ฝ่ายก็สามารถกลับมาอยู่ร่วมกันได้

                              นภดล: เกิดจากการปรับตัวเข้าหากัน เป็นผลมาจากการมีระบบการไกล่เกลี่ยที่สามารถทำให้

                       คู่กรณีสามารถอยู่ร่วมกันได้เหมือนเดิม
                              ธนาธิป: คู่กรณีมีความเข้าใจกัน

                              บุษรินทร์: พิจารณาจากการอยู่ร่วมกันโดยอาศัยความสามัคคี อยู่ร่วมกันฉันท์พี่น้อง เพื่อน
                       โดยภาพรวมแล้วเมื่อไกล่เกลี่ยสำเร็จ คู่กรณีสามารถอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

                              ปริยาภัทร: การอยู่ร่วมกันฉันท์ พี่น้อง/เพื่อน เข้าใจกัน

                              อัญชนา: หลังไกล่เกลี่ยมองหน้ากันได้ไม่กลับมาทะเลาะกันอีก อยู่ร่วมกันได้
                              สุพัตรา: หลังไกล่เกลี่ยแล้วจะให้คู่กรณีมีการบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกันตามความสมัครใจของ

                       ทั้ง 2 ฝ่าย โดยมีการกำหนดระยะเวลา เช่น การล้างห้องน้ำ อยู่ด้วยกันได้

                              เด็กชาย เอ: เมื่อมีการบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกันทำให้เข้าใจกันมาก
                              เด็กชาย บี: ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น มาคุยกัน/เข้าใจกันมากขึ้น มองหน้ากันได้ แต่ถ้ามีการไกล่

                       เกลี่ยก็อาจจะมองหน้ากันไม่ติด
                              เด็กหญิง ก: ใช้เหตุผลในการอยู่ร่วมกัน

                              เด็กหญิง ข: พิจารณาจากสาเหตุ –> วิเคราะห์หาวิธีการแก้ไข –> อยู่ร่วมกันอย่างปกติ

                              รองมานิต: พิจารณาในแต่ละโรงเรียนเห็นความสำคัญในการเจรจาหรือไม่ โรงเรียนอื่นใช้
                       กระบวนการเข้ามาตัดสินชี้ถูกชี้ผิด หากเห็นความสำคัญของการเจรจาก็จะนำกระบวนการการเจรจา

                       เข้ามาใช้ สุดท้ายเด็กก็จะกลับมาเป็นมิตรกันเช่นเดิม
                              ความยั่งยืนในการทำงาน ถ้าเห็นความสำคัญก็จะมีการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง มีการอบรม

                       ให้ทีมงานทุกปี รุ่นต่อรุ่น ซึ่งแต่ละปีก็จะมีงานให้ทำไม่มากนัก ประมาณ 1 ถึง 2 กรณี

                              คนกลางต้องได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง เรียนรู้มารุ่นต่อรุ่น ให้คนกลางมีทักษะ ทำมา
                       ตั้งแต่ต้น

                              บริบทของโรงเรียนที่จะช่วยส่งเสริม เช่น นั่งสมาธิทุกเช้า วันละประมาณ 5 นาที ก่อนขึ้น

                       ห้องเรียน เป็นต้น
                              สภานักเรียนช่วยนำ หรือช่วยเสริมให้มาเล่าให้นักเรียนฟัง ที่จะทำให้เกิดกระบวนการส่งเสริม

                              อาจารย์พิชัย: โรงเรียนดำเนินการมารุ่นต่อรุ่น มีรุ่นพี่เป็นตัวอย่างให้แก่รุ่นน้อง ที่นี่ถ้ามีการ

                       ทะเลาะวิวาทก็จะดำเนินการโดยการเจรจาไกล่เกลี่ย และตัวชี้วัดในการเจรจาไกล่เกลี่ย ดูจาก
                       จำนวนคดีที่เข้ามาในระบบการไกล่เกลี่ยมีเท่าไหร่ และประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน ถ้ามีเรื่อง
   166   167   168   169   170   171   172   173   174   175   176